หน้าเว็บ

วันจันทร์ที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

การเลี้ยงหมูป่า(3)

อาหารและการให้อาหารเลี้ยงหมูป่า



อาหารนับว่าเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดอย่างหนึ่งในหลายๆ อย่างทั้งนี้ก็เนื่องจากว่าหมูป่าจะเจริญเติบโตให้ผลผลิตเต็มความสามารถ ก็ขึ้นอยู่กับคุณภาพอาหารที่กินเข้าไป

อาหารหลัก คือ ผักและเศษอาหารที่มีอยู่ทั่วไป เช่น ผักบุ้ง ผักตบ หญ้าขน หรืออื่น ๆ ที่พอจะหาได้ แต่ในอาหารที่ให้กินนี้ควรผสมธาตุอาหารอื่นบ้าง เช่น รำ หรือหัวอาหารนิดหน่อยทั้งจะต้องให้ในปริมาณเหมาะสมไม่ใช่กินกันตลอดเวลา หมูป่าจะได้มีเนื้อหนา ไม่มีมัน ถ้าให้หัวอาหารหรืออาหารถุงก็ได้ หมูป่าจะโตไว ตัวใหญ่ แต่ปัญหาจะตามมา คือทำให้มีไขมันมาก หนังไม่กรอบ และไม่หนา ถ้าหมูป่ามีปัญหาแบบนี้ การจำหน่ายจะมีปัญหาทันที

อาหารที่ใช้เลี้ยงหมูป่า แบ่งเป็น 5 ระยะ โดยให้วันละสองมื้อ (เช้า-เย็น)

1.อาหารสำเร็จหมูดูดนม ให้จนกระทั่งถึงลูกหมูหย่านม
2.อาหารหมูรุ่น (ช่วงนี้จะกินอาหารประมาณวันละ 0.5 กิโลกรัม) ให้กับลูกหมูหลังหย่านม นาน 2.5 เดือน
3.อาหารหมูขุน (ช่วงนี้จะกินอาหารประมาณวันละ 0.5 กิโลกรัม)ให้จนหมูมีอายุ 1 ปี แล้วส่งชำแหละจะได้น้ำหนักประมาณ 60 กิโลกรัม
4.อาหารพ่อแม่พันธุ์และระยะหลังตั้งท้อง แม่หมูที่ผสมติดแล้วจะให้กินอาหารวันละ 1 กิโลกรัมเป็นเวลา 2.5 เดือน แล้วจึงให้อาหารเพิ่มขึ้นเป็น 15 กิโลกรัม ต่อวันจนถึงอีก 2 อาทิตย์จะคลอด ให้กินอาหารเพียง 1 กิโลกรม ต่อวัน
5.อาหารแม่หมูเลี้ยงลูก เมื่อคลอดแล้วให้กินอาหาร 3 กิโลกรัมต่อวัน ว่ากันว่าการให้อาหารหมูป่าจะประหยัดมาก เพราะหมูป่ากินอาหารน้อยกว่าหมูบ้านถึง 5 เท่า อาหารเลี้ยงหมูบ้าน 1 ตัว จึงเลี้ยงหมูป่าได้ 5 ตัว ปกติจะให้อาหารหมูป่าวันละ 2 มื้อ มื้อละครึ่งกิโลกรัม
ส่วนเรื่องน้ำก็ให้เพียงวันละ 1 แกลลอนเท่านั้น การให้อาหารหมูทั่วไป อาจให้อาหารลูกหมูในช่วงแรก ถัดไปจึงเปลี่ยนเป็นอาหารหมูใหญ่

การผสมอาหารต้องไม่ให้หัวอาหารมากเกินไป เพราะมักจะทำให้หมูป่าท้องร่วง ทำให้เปลืองโดยใช่เหตุ แต่ถ้ามีพวก พืช ผัก เช่น เผือก มัน ต้นอ้อย ทีเหลือกินเหลือใช้ จะใช้เป็นอาหารเสริมได้อย่างดี

อาหารสามารถให้ได้โดยเวลาเช้าหั่นหยวกกล้วยแล้วนำไปผสมกับรำข้าว ในอัตราหยวกกล้วย 3 ส่วน รำ 1 ส่วน ให้กินวันละ 2 เวลาเช้า-เย็น ปริมาณการให้จะสังเกตุจากการกินของหมูป่า ว่าตักให้กินขนาดไหนจึงจะพอดี ในช่วงกลางวันอาจเสริมด้วยผักตบชวาหัวมันหรือกล้วย เรื่องการให้อาหารจึงทำได้ง่ายและต้นทุนต่ำ สำหรับน้ำที่ให้กินจะใช้วิธีการตั้งถังเก็บน้ำไว้แล้วปล่อยน้ำไปตามสายยาง ซึ่งที่สายยางจะต่อที่ให้น้ำสำหรับหมูไว้ ซึ่งเป็นแบบที่ใช้ในฟาร์มทั่วไป

หมูป่าชอบกินหญ้าอ่อนเป็นอาหารเหมือนกันโดยเฉพาะหญ้าขน จึงควรที่จะได้จัดหาไปให้หมูป่าได้กิน หรือควรที่จะได้ปลูกไว้ให้กินเป็นอาหารเสริม
ยกเว้นเพียง 2 อย่างที่ไม่ควรนำมาเป็นอาหาร ก็คือ ใบกระถินกับมันสำปะหลังดิบ และไม่ควรให้หมูกินเป็นอาหารอย่างเด็ดขาด เนื่องจากมีสารพิษที่เป็นอันตรายต่อหมูป่า

การจัดการและการป้องกันโรค

การเลี้ยงหมูป่ามีความคล้ายคลึงกับการเลี้ยงหมูบ้านมาก จะมีข้อปฏิบัติที่แตกต่างกันบ้างก็ตรงที่ว่า แสงแดด หมูป่าต้องการแสงแดดมากกว่าหมูบ้าน จึงควรเปิดโอกาสให้มีแสงแดดส่องถึงคอกหมู ความสงบ นับว่าเป็นสิ่งสำคัญมาก เพราะหมูป่าตกใจง่าย ประสาทสัมผัสรับรู้เร็วที่สุด โดยเฉพาะเรื่องเสียง หากมีเสียงดังแล้วจะวิ่งกันไม่หยุดโดยเฉพาะเล็บของหมูป่าจะตะกุยกับพื้น มาก ๆ เข้ามันแรงขนาดขุดพื้นปูนจนมีกลิ่นเหม็นไหม้เลยทีเดียวฉะนั้นพื้นหินจึงจำ เป็นจะต้องขัดมันใครที่คิดว่าการเลี้ยงหมูป่าจะต้องการให้หมูป่าออกกำลังกาย มากหรือวิ่งมาก ๆ เพื่อไม่ให้มีไขมันนั้นจึงไม่เป็นเรื่องจริง

ความสะอาด ในด้านความสะอาดก็เช่นกันหมูป่าแทนที่จะชอบเลอะเทอะเหมือนว่าอยู่ดง แต่ความจริงชอบความสะอาด ควรจะมีการฉีดน้ำล้างคอกทุกวันและราดน้ำยาฆ่าเชื้อทุกอาทิตย์จะช่วยป้องกัน โรคได้ดีมาก หากโรงเรือนหรือคอกเลี้ยงทำให้สะอาดดีแล้วจะไม่มีปัญหาอะไรเกี่ยวกับโรค เพราะปกติหมูป่ามีความต้านทานโรคสูงอยู่แล้ว ไม่มีโรคประจำตัวอะไรมากนัก

การป้องกันโรค หมูป่าไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องโรคนักเพราะเป็นสัตว์ที่แข็งแรงอยู่แล้ว อาจมีบ้างก็ในลูกหมูก่อนหย่านม เช่นท้องร่วง โรคปอดบวม แต่มีอาการเพียงเล็กน้อยเมื่อให้ยาที่ถูกต้องก็ไม่มีปัญหาอะไร (โรคของหมูป่ามันจะไม่ค่อยแสดงอาการเป็นโรคให้เห็น ถ้าหากว่าโรคยังคุกคามไม่มาก เมื่อหมูไม่แสดงอาการตั้งแต่แรกที่โรคเข้าแทรกก็ทำให้เราไม่รู้ว่าหมูเป็น โรค จะรู้ก็ต่อเมื่อโรคแทรกซ้อนมากขึ้นจนแก้ปัญหาไม่ได้แล้ว จึงแสดงอาการให้เห็น บางตัววันนี้ยังสังเกตเห็นท่าทางยังปกติอยู่แต่เมื่อถึงวันรุ่งขึ้นหมูตัว นั้นก็นอนตายคาคอกก็มี)

โรคอื่นๆ นอกเหนือจากที่กล่าวมาแล้วนี้ก็มีโรคขี้เรื้อน ซึ่งมักจะเกิดในหน้าหนาว แต่โรคนี้เราก็สามารถแก้ปัญหาได้ด้วยการฉีดยา โดยในการฉีดยานั้น ให้ฉีดไปบนสันหลังของหมูป่า ทั้งนี้คนฉีดจะอยู่นอกคอก เมื่อหมูป่าเข้าใกล้ก็เอาเข็มจิ้มลงไปบนหลังแล้วฉีดปล่อยยาเข้า

ถ้าเป็นหมูใหญ่จะมีเรื่องการถ่ายพยาธิทุก 6 เดือน พร้อมทั้งต้องฉีดวัคซีนป้องกันโรคที่สำคัญในหมู เช่น โรคอหิวาต์ โดยติดต่อกับเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์อำเภอ ซึ่งจะเข้ามาช่วยดูแลและให้คำแนะนำในเรื่องของการฉีดวัคซีนป้องกันโรค

อย่างไรก็ตามระหว่างการเลี้ยงหมูป่าในปัจจุบันแทบจะไม่มีปัญหาอะไรทั้งสิ้น เกี่ยวกับโรคภัย จึงเป็นการช่วยสร้างความมั่นใจในการลงทุนเลี้ยงหมูป่าได้เป็นอย่างดี

การเลี้ยงหมูป่า(2)

การเริ่มต้นเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์



พ่อพันธุ์


แม่พันธุ์

การเลี้ยงหมูป่าขั้นแรกจะต้องซื้อลูกมาเลี้ยงเพื่อเตรียมเป็นพ่อแม่พันธุ์ เสียก่อนเพราะหากจะเลี้ยงเพื่อส่งตลาดราคาลูกหมูป่าค่อนข้างแพงอาจไม่คุ้ม ทุน ดังนั้นถ้าใครจะเลี้ยงขยายพันธุ์แล้วควรใช้อัตราส่วนพ่อพันธุ์ 1 ตัว ต่อแม่พันธุ์ 7 - 10 ตัว ส่วนราคาของหมูป่าจากฟาร์มขณะนี้ทราบว่าขายคู่ละ 3500-5000 บาท เป็นหมูป่าอายุตั้งแต่หย่านม คือ 60 - 90 วัน ซึ่งพ่อแม่พันธุ์ หนึ่ง ๆ สามมารถใช้งานได้จนถึงอายุนานนับสิบปี

ลักษณะที่ดีของหมูป่าที่จะใช้เป็นพ่อแม่พันธุ์ จะมีดังนี้ คือ

รูปร่างสูงโปร่ง
สันหลังตรงและยาว
ส่วนไหล่หนา (ผานไหล่) หนาและกว้าง
สะโพกกว้าง
สำหรับพันธุ์หมูป่าที่จะใช้ทำพันธุ์ก็มีด้วยกัน 2 พันธุ์ คือ พันธุ์หน้าสั้น และพันธุ์หน้ายาวทั้งสองพันธุ์นี้มีข้อแตกต่างกันก็ตรงที่หมูป่าพันธุ์หน้า สั้นนั้นจะมีขนสีดำทั้งตัว มีลำตัวอ้วนกลมตัวเตี้ย และมีหน้าผากกว้างหูใหญ่กว่า

พันธุ์หน้ายาวเท่าที่สังเกตดูหมูป่าพันธุ์นี้มีการเจริญเติบโตที่ค่อนข้างดี แต่ทว่าเมื่อเปรียบเทียบในเรื่องความแข็งแรงแล้วจะสู้พันธุ์หน้ายาวไม่ได้ สำหรับหมูป่าพันธุ์หน้ายาวนั้นจะมีขนไม่ค่อยเข้มเท่าใดนัก (คือมีสีดอกเลา) มีลำตัวค่อนข้างแคบ รูปร่างสูงโปร่ง และมีหน้าผากแคบ หูเล็กกว่าพันธุ์หน้าสั้น ทางด้านการเจริญเติบโตให้เนื้อหนังสู้พันธุ์หน้าสั้นไม่ได้ แต่ทว่าหมูป่าพันธุ์นี้มีความแข็งแรง หรือมีน้ำอดน้ำทนดีกว่ามาก

ส่วนการผสมคัดเลือกพันธุ์นั้นก็มี 2 แบบด้วยกัน คือ

การเอาพันธุ์แท้ผสมกับพันธุ์แท้ด้วยกัน ซึ่งก็ทำโดยผสมคัดเลือกพันธุ์ระหว่างพันธุ์หน้ายาวกับพันธุ์หน้ายาว และพันธุ์หน้าสั้นกับพันธุ์หน้าสั้น
การผสมคัดเลือกพันธุ์ระหว่างพันธุ์หน้าสั้นกับพันธุ์หน้ายาว หรือที่เรียกกันว่าลูกผสมระหว่าง 2 สายพันธุ์ ทั้งนี้ก็เพื่อที่จะได้เป็นการรวบรวมเอาความดีของทั้งสองสายพันธุ์เข้าด้วย กัน เช่น พันธุ์หน้าสั้นมีการเจริญเติบโตที่ดี แต่พันธุ์หน้ายาวจะมีความแข็งแรงกว่า เมื่อนำมาผสมกันแล้วก็จะได้ลูกผสมที่มีความดีของทั้งสองพันธุ์เข้าด้วยกัน คือ มีทั้งการเจริญเติบโตที่ดีและความแข็งแรง
การเป็นสัดของหมูป่า โดยปกติหมูป่าตัวเมียจะเป็นสัดเร็วมากบางตัวมีอายุเพียง 8 เดือน ก็เริ่มเป็นสัดแล้วจึงส่งผลทำให้การผสมพันธุ์ทำได้ค่อนข้างยากโดยเฉพาะหมู ป่าที่ตัวเมียยังมีขนาดเล็ก แต่ตัวผู้มีขนาดใหญ่ทุลักทุเลถึงกับต้องสร้างเปลให้หมูป่าตัวเมียเพื่อช่วย ลดน้ำหนักตัวผู้ที่ขึ้นผสมพันธุ์ ซึ่งการผสมพันธุ์ครั้งแรกจะได้ลูกไม่ดกนัก แต่ก็ถือว่าเป็นการฝึกไปในตัว พอมีอายุมากขึ้นหน่อยลูกหมูป่ามีลูกดกขึ้นมาเอง ปกติหมูสาวแรกจะให้ลูก 4-6 ตัว พอมีอายุมากขึ้นอาจให้ได้ถึง 10-12 ตัว และมีบางตัวที่ให้ลูกมากกว่านี้แต่มักจะเลี้ยงไม่รอด เพราะหมูป่ามีนมเลี้ยงลูกแค่ 10 เต้าเท่านั้นเอง

อย่างไรก็ตามหมูป่าสาวที่เริ่มเป็นสัดควรจะฝึกให้ผสมพันธุ์เสียตั้งแต่ต้น เพราะไม่เช่นนั้นแล้วเมื่อโตขึ้นมีอายุมากจะไม่ยอมให้ตัวผู้ขึ้นผสมพันธุ์ ถึงแม้จะเป็นสัดก็ตามที อันนี้จึงเป็นข้อคิดที่ขอฝากไว้ว่า อย่าปล่อยไว้จนขึ้นคานเป็นอันขาด

การเป็นสัดของแม่หมู่พันธุ์นั้นก็สามารถสังเกตได้เช่นเดียวกัน แต่ถ้าหากผู้เลี้ยงไม่คุ้นเคยกับการเลี้ยงหมูป่าก็อาจจะสังเกตไม่ออกว่าแม่ หมูพันธุ์นั้นเป็นสัดแล้ว เพราะการสังเกตทราบก็ยากเอาการอยู่พอสมควร เนื่องจากมันไม่แสดงอาการเป็นสัดให้เห็นออกมาเด่นชัด มีเพียงอวัยวะเพศบวมแดงเล็กน้อยและมักจะมีอาการเงียบซึม ไม่เหมือนกับหมูบ้านที่ร้องกระวนกระวาย จึงควรหมั่นสังเกตให้ดีอยู่เสมอ เมื่อเห็นว่าแม่หมูพันธุ์แสดงลักษณะอาการดังกล่าวออกมาให้เห็นก็ให้จับผสม พันธุ์เสีย

การผสมพันธุ์หมูป่าและการคลอดลูกของหมูป่า



โดยทั่วไปแล้วอายุที่เหมาะสมสำหรับพ่อแม่พันธุ์ที่เริ่มผสมพันธุ์ครั้งแรกจะ ประมาณ 1 ปี สำหรับการผสมพันธุ์หมูป่านั้นหากใช้พันธุ์เดียวกัน เช่น พันธุ์หน้าสั้นผสมกับพันธุ์หน้าสั้น หรือพันธุ์หน้ายาวผสมกับพันธุ์หน้ายาวนั้นจะให้ลูกไม่ดก ไม่แข็งแรง โตช้าให้น้ำหนักน้อย

ในการผสมพันธุ์ก็จะใช้อัตราส่วนของพ่อพันธุ์ต่อแม่พันธุ์ประมาณ 1 : 7 การผสมพันธุ์ก็จะทำกันในวันที่ 3 ของการเป็นสัด (ของตัวเมีย) โดยจะต้อนตัวเมียเข้าไปหาตัวผู้และให้ผสมกับตัวผู้ตัวแรกในช่วงเช้าจากนั้น ก็จะต้อนตัวเมียตัวเดิมให้ไปผสมกับตัวผู้ตัวที่ 2 ในช่วงเย็น

ข้อควรระวังในเรื่องการใช้ตัวผู้เป็นพ่อพันธุ์ ไม่ควรใช้ผสมทุกวัน ทางที่ดีควรใช้ผสมวันเว้นวัน และในวันที่ผสมนั้นให้ผสมเพียงครั้งเดียวเท่านั้น แม่พันธุ์ที่ถูกผสมพันธุ์และผสมติดแล้วจะตั้งท้องนานประมาณ 114-117 วัน (หรือประมาณ 3 เดือน 3 อาทิตย์ 3 วัน) เมื่อได้คำนวณวันที่จะคลอดได้แล้ว ก่อนที่จะคลอดให้เตรียมคอกคลอดเอาไว้ โดยการโรยดินบาง ๆ บนพื้นคอกตลอด เพื่อให้ลูกหมูรู้จักเหมือนกับว่าได้เกิดตามธรรมชาติ และจะล้างดินออกหลังจากคลอดแล้วประมาณ 1-2 อาทิตย์

การคลอดลูกของหมูป่า



ในการคลอดลูกนั้นแม่หมูป่าจะคลอดเอง โดยไม่มีใครไปช่วยทำคลอดแต่อย่างใด เพราะว่าแม่หมูป่าจะดุร้ายมากเข้าไปใกล้ตัวไม่ได้ ต่อคำถามว่าจะสังเกตรู้ได้อย่างไรว่าแม่หมูกำลังอยุ่ในช่วงที่ใกล้คลอด ซึ่งก็ขอได้รับคำตอบว่าแม่หมูป่าก็มีอาการกระวนกระวายเหมือนกับหมูบ้านเรา นี่แหละ แต่ความรุนแรงก็มีมากกว่าบางครั้งจะมีการกัดคอกกัดกรง คนเข้าใกล้ไม่ได้เลยจึงต้องปล่อยให้มันคลอดเอง เมื่อแม่หมูคลอดลูกออกมาท่ามกลางกองดินลูกที่คลอดออกมาก็สามารถลุกยืนได้ แต่ถ้าหากว่าคลอดในคอกพื้นปูนแล้วลูกหมูจะยืนไม่ค่อยได้เพราะว่าคอกมีความ ลื่นทั้งนี้เนื่องจากว่าคอกหมูป่านี้เป็นพื้นปูนที่ขัดมันนั่นเอง

ลูกหมูที่คลอดมาแต่ละครอกมีปริมาณเฉลี่ยแล้วประมาณ 6 ตัว ในแม่หมูสาวจะให้ลูกน้อยกว่าหมูที่มีอายุมาก อย่างไรก็ตามอัตราการรอดของลูกหมูก็มีไม่เกิน 10 ตัว แม้ว่าแม่หมูตัวนั้นจะคลอดลูกได้มากกว่า 10 ตัวก็ตาม ทั้งนี้เพราะว่าเต้านมของหมูป่ามีเพียง 10 เต้าเท่านั้นมีไม่มากเกินนี้ ถ้าหากว่าแม่หมูป่าตัวใดมีเต้านมมากกว่า 10 เต้า แสดงว่าหมูนั้นเป็นหมูลูกผสม

ในขณะเดียวกันการกินนมของลูกหมูจะกินเต้าใครเต้ามัน ฉะนั้นลูกหมูที่มีขนาดเล็กเกิดมาแล้วแย่งเต้านมกับเขาไม่ได้ก็ไม่สามารถกิน นมได้ก็ทำให้ผอมตายไป จึงทำให้ลูกหมูแต่ละครอกรอดตายได้ไม่เกิน 10 ตัว แม้ว่าจะนำออกมาเลี้ยงด้วยนมผงก็ตาม แต่ก็เลี้ยงไม่รอดอาจเป็นเพราะว่านมผงไม่มีภูมิต้านทานโรคก็อาจจะเป็นได้ ดังนั้นควรจับให้ลูกหมูได้กินนมน้ำเหลืองซึ่งมีตอนแรกคลอดก่อนทุกตัวเพราะใน นมน้ำเหลืองนี้มีภูมิคุ้มกันโรคอยู่มาก

การนำลูกหมูในครอกที่มีเกิน 10 ตัว ไปฝากแม่พันธุ์ตัวอื่น นั้นไม่สามารถทำได้เพราะจะถูกแม่หมูกัดตายเนื่องจากมันรู้ว่าไม่ใช่ลูกของ มันโดยสัญชาติญาณนั่นเอง จึงจำไว้ว่าอย่านำลูกหมูป่าจากแม่หนึ่งไปให้อีกแม่เลี้ยง เพราะมันจะขบตายหมดจะเลี้ยงเฉพาะลูกของตัวเอง



ลูกหมูป่าแรกเกิดจะมีลายเป็นแถบเล็ก ๆ สีเหลืองสลับขาวพาดตามความยาวของลำตัวคล้ายลายแตงไทย ลายนี้จะเลือนหายไปเมื่ออายุได้ 4-5 เดือน เมื่อลูกเกิดได้ 3 วันฉีดธาตุเหล็กให้ลูกหมู และให้ระวังการเข้าไปฉีดไว้บ้างเพราะแม่หมูป่าหวงลูกมาก

การเลี้ยงหมูเล็กและแม่พันธุ์หลังคลอด



ลูกหมูหลังคลอดเกิดมาแล้วจะปล่อยให้กินนมแม่ไปเรื่อย ๆ จากลูกหมูมีอายุ 45 - 50 วันก็จะหย่านม การหย่านมนั้นก็ทำโดยปล่อยลูกหมูให้อยู่ในคอกตามปกติแต่จะไล่ต้อนแม่หมูออก จากคอกไปเลี้ยงยังคอกที่ว่าง แต่ในช่วงก่อนที่จะอย่านมนั้นลูกหมู นอกจากจะได้รับนมจากแม่ของมันแล้วลูกหมูก็จะได้กินอาหารหมูอ่อนตามไปด้วย ทั้งนี้และทั้งนั้นลูกหมูจะเริ่มหัดเลียรางตามแม่ของมันเมื่อมีอายุได้ ประมาณ 15 วัน

ฉะนั้นในช่วงนี้จึงต้องใส่อาหารหมูอ่อนให้อาหารนั้นก็เป็นอาหารอัดเม็ดของ หมูบ้านที่เลี้ยงกันโดยทั่วไปนั่นเอง ปริมาณการให้อาหารจะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ตามกำลังความสามารถของลูกหมูที่จะกินได้ แม้ว่าจะหย่านมลูกหมูแล้วก็ตาม ลูกหมูก็จะได้รับอาหารอัดเม็ดนี้ต่อไปอีกประมาณ 10 วัน หรือลูกหมูมีอายุประมาณ 60 วันนั่นเอง จึงเปลี่ยนเป็นอาหารลูกขุนซึ่งเป็นอาหารผสมเอง

สำหรับแม่พันธุ์ที่ทิ้งลูกไปแล้วนั้นก็จะเลี้ยงอาหารหมูพันธุ์ตามปกติ ซึ่งจะให้อาหารที่มีโปรตีนประมาณ 13% เท่านั้น ปริมาณการให้ในแต่ละตัวในบรรดาพ่อแม่พันธุ์ทั้งหมดนั้นก็ใช้ตัวละประมาณไม่ เกิน 1 กิโลกรัม ต่อวัน การให้อาหารจะให้กินสองเวลาด้วยกันกล่าวคือเวลาเช้า ประมาร 7.00 น. ให้อาหารประมาณ 0.4-0.5 กิโลกรัมและอาจจะให้อีกเวลา 15.00 น.ในปริมาณเท่า ๆ กัน ส่วนน้ำนั้นก็มีให้ตลอดอาจใช้การให้น้ำแบบอัตโนมัติเหมือนกับหมูบ้านที่ เลี้ยงกันโดยทั่วไปก็ได้



การให้หัดให้กินน้ำจากที่ให้น้ำอัตโนมัติในช่วงแรกนั้น เพียงแต่กดให้น้ำไหลและเมื่อหมูป่าเกิดความหิวมันก็จะเข้ามากัดก๊อกน้ำกิน เอง หลังจากหย่านม 1 อาทิตย์ แม่หมูจะเป็นสัดให้ผสมต่อได้ (ตัวเมียเป็นสัด 21 วันครั้ง) ทำให้ได้ลูก 2 ครอกต่อปี
การเลี้ยงดูหมูขุน

ในการเลี้ยงดูหมูขุนนั้นจะให้อาหารสองเวลา เช้า 7.00 น. และบ่ายเวลา 15.00 น. เหมือนกันโดยให้ในปริมาณ 0.4-0.5 กิโลกรัมต่อเวลาต่อตัว เมื่อลูกหมูมีอายุ 4 เดือนก็จะทำการถ่ายพยาธิและอีก 4 เดือน ถัดไปก็ถ่ายพยาธิอีกครั้ง หมูขุนที่เลี้ยงในฟาร์มนี้ ควรจัดให้อยู่คอกละประมาณ 4 ตัว (คอกขนาด 2-2.50 x 3เมตร)

ฉะนั้นอาหารที่ให้ก็เฉลี่ยให้รวมทั้ง 4 ตัว อาหารที่ให้นั้นจะมีโปรตีนต่ำเพียง 9% เท่านั้น ระยะขุน 2 เดือนแรกนั้นจะเร่งการเจริญเติบโตถึงการให้อาหารโปรตีน 13 % สำหรับอาหารที่ให้นั้นก็มีส่วนประกอบของรำละเอียด ปลายข้าว รำหยาบ และหัวอาหาร รำยาบนั้นให้เพื่อเป็นยาระบายและใส่ลงไปโดยไม่ได้คิดโปรตีนรวมด้วย

การให้อาหารจะเพิ่มปริมาณขึ้นเมื่อหมูโตขึ้นด้วยจนกระทั้งสามารถจับจำหน่าย ได้ (การให้อาหารเฉลี่ยตั้งแต่เล็กไปจนจำหน่ายได้นั้นจะใช้ประมาณ 1 กิโลกรัมต่อตัวต่อวัน)

การเลี้ยงดูหมูขุนเพื่อส่งตลาดเวลาที่เลี้ยงจะแตกต่างกัน คือ ถ้าเป็นพันธุ์หน้าสั้นจะใช้เวลาประมาณ 8 เดือน ส่วนพันธุ์หน้ายาวจะใช้เวลาประมาณ 1 ปี ทั้งนี้เพราะหมูป่าจะเป็นที่ต้องการของตลาดก็ตรงหนังของมัน พันธุ์หน้าสั้นหนังจะหนาเร็วเลยถูกเชือดเร็ว พันธุ์หน้ายาวหนังหนาช้าก็ยืดเวลาเชือดออกไปอีก 4 เดือน ทีนี้จะมีคนถามอีกว่าถ้าเอาพันธุ์หน้าสั้นผสมกับพันธุ์หน้ายาว(ตัวผู้หน้า ยาวตัวเมียหน้าสั้น) ก็จะได้ลูกผสมที่มีขนาดใหญ่กว่าพันธุ์หน้าสั้น หนังหนาเร็วกว่าพันธุ์หน้ายาว และใช้เวลาเลี้ยงประมาณ 8 เดือนจึงส่งเชือด เกี่ยวกับต้นทุนค่าอาหาร เมื่อคิดคำนวณต้นทุนอาหารแล้วตกราว 800 กว่าบาทเท่านั้น

ตลอดระยะเวลาเลี้ยงขุน 1 ปีเต็ม ซึ่งจะให้ได้หมูป่าที่มีน้ำหนักประมาณ 60-70 กิโลกรัม แต่เมื่อผ่าซากออกมาแล้วจะได้ส่วนของเนื้อประมาณ 40 กิโลกรัมเท่านั้น คิดคำนวณอัตราการแลกเนื้อแล้วจะได้ประมาณ 2 เท่า เมื่อขายได้ราคาประมาณตัวละสองพันบาทเศษ หากว่าเราสามารถเพาะพันธุ์หมูป่าได้เอง เมื่อคิดหักลบต้นทุนการเลี้ยงด้านต่าง ๆ แล้วจะมีกำไรอยู่ไม่น้อย

การเลี้ยงหมูป่า

การเลี้ยงหมูป่า

ลักษณะของหมูป่า



หมูป่า นั้นว่ากันว่ามีพื้นเพหรือถิ่นกำเนิดอยู่ในทวีปเอเชียนี่เองในทวีปอื่นอาจมี บ้างก็น้อย และโดยเฉพาะในเอเชียนั้นถือได้ว่าเป็นแหล่งหมูป่าแหล่งใหญ่ที่สุด หมูป่าในประเทศไทยมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Sus scrofa ที่พบก็มีอยู่ 2 พันธุ์ คือ พันธุ์หน้ายาว และพันธุ์หน้าสั้น แต่ก็จะรู้จักลักษณะของแต่ละพันธุ์ เราควรมาทำความรู้จักลักษณะโดยทั่วไปกันเสียก่อน

ลักษณะโดยทั่วไปของหมูป่า คือ มีขนหยาบแข็งสีน้ำตาลเข็มหรือดำ รูปร่างไม่อ้วนเทอะทะเหมือนหมูบ้าน กล่าวคือ มีรูปร่างผอมและสูงมาก ในตัวที่โตๆ อาจสูงถึงเอวคนหรือสูงกว่านี้ก็มี หัวยาวและแหลมกว่าสุกรบ้าน ขาเล็กและเรียวยาว กีบเท้าเล็กแต่แข็งแรงมาก หูเล็ก ตาโตสีดำ คอยาวและสั้น ตาลีบบาง ท้ายหักมาก มีขนแปรงสีดำเข็มและสีดอกเลายาวประมาณ 6 นิ้ว ขึ้นตั้งแต่ท้ายทอยตลอดไปตามแนวสันหลังจนถึงสะโพก ขนส่วนนี้จะตั้งขึ้นได้ โดยเฉพาะในเวลาที่หมูตกใจกลัว หรือเตรียมพร้อมที่จะสู้ ส่วนหางไม่มีขน มีความยาวจนถึงข้อขาหลัง หนังหมูป่าจะหนามากโดยเฉพาะอย่างยิ่งหนังที่บริเวณไหล่ อาจจะหนาประมาณ 5 ซม. หรือมากกว่าก็มี จมูกอ่อนแต่แข็งแรงมาก เนื่องจากหมูป่าจะใช้ปลายจมูกขุดคุ้ยดิน หรือจอมปลวกเพื่อหาอาหาร หมูป่าจะมีเขี้ยว 4 เขี้ยว ยาวและแหลมมาก ในตัวผู้ เขี้ยวนี้จะใช้เป็นอาวุธประจำตัวที่สำคัญมากในการป้องกันตัว เขี้ยวทั้ง 4 จะโค้งงอขึ้นด้านบน ความยาวของเขี้ยววัดจากโคนถึงปลายยาวประมาณ 4 - 5 นิ้ว และตัวเมียจะมีเต้านมแถวละ 5 เต้า

ลูกหมูป่าเมื่อยังเล็ก สีขนที่ลำตัวลูกหมูป่าจะมีลายเป็นแถบเล็กๆ สีเหลืองสลับขาวพาดตามความยาวของลำตัวคล้ายกับลายแตงไทย อันจะเป็นการช่วยพรางตัวจากศัตรูได้อย่างดีเยี่ยม เมื่ออายุได้ 5 - 6 เดือน ลายดังกล่าวจึงค่อยๆ เลือนหายไป จนมีสีผิวและขนเหมือนกับพ่อแม่ของมัน

ได้มีผู้ที่ทดลองผสมข้ามพันธุ์ระหว่างหมูป่าหน้ายาวเพศผู้กับหมูป่าพันธุ์ หน้าสั้นเพศเมีย ลูกที่ผสมได้ 6 ตัว พบว่าสีลายแตงไทย 3 ตัว และสีดำมีทางลายสีน้ำตาลออกน้อยมากพอมองเห็นจางๆ 3 ตัว) ฝูงหมูป่าในช่วงฤดูผสมพันธุ์จะพบว่ามีหมูป่าที่มีรูปร่างสูงใหญ่กว่าหมูป่า ตัวอื่นๆ ในฝูงอยู่ 2 - 3 ตัว และมีอยู่ตัวหนึ่งที่มีกิริยาท่าทางองอาจ วางมาดยืนเด่นอยู่กลางฝูงนั่นก็คือ พญาจ่าฝูง



หมูป่าเป็นสัตว์ที่กินอาหารได้หลายอย่าง ฉะนั้นจึงมีระบบฟันที่พัฒนาไปมากเหมือนสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมโดยทั่วไปกล่าว คือ มีระบบฟันเป็นแบบ : ¾ ½ ¼ ¾ x2 =44 ฟันหน้าด้านล่างจะยาว แคบและยื่นตรงออกไปข้างหน้า จะทำหน้าที่คล้ายพลั่ว โดยเฉพาะในเวลาที่หาอาหาร โดยการขุดคุ้ยตามพื้นดินหรือตามดินโป่งเป็นต้น ส่วนเขี้ยวของหมูป่าไม่มีราก จะพัฒนาไปมากโดยเฉพาะในตัวผู้ ขนาดของฟันกัดต่อมาเขี้ยวจะค่อยๆ เพิ่มขนาดจากเล็กมาใหญ่ ส่วนฟันกรามพบว่าซี่สุดท้ายจะมีขนาดใหญ่มากคือ มีขนาดเท่ากับฟันกรามซี่ที่ 1 และ 2 รวมกัน ส่วนของกะโหลกศีรษะมีความยาว และลาดเอียง (Slope) มาก โดยที่ส่วนที่เป็นปากและฟันมีความยาวมากคือประมาณ 75 - 80 % ของกะโหลกศีรษะ

สภาพความเป็นอยู่ในธรรมชาติของหมูป่า โดยธรรมชาติแล้ว หมูป่าชอบอาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูง ขนาดฝูงก็มีตั้งแต่ 5-6 ตัวจนถึงฝูงใหญ่ขนาด 50 ตัวก็มี แต่ละฝูงประกอบด้วยหลายวัย ทั้งเพศผู้และเพศเมีย ในตัวผู้ขนาดใหญ่จะรวมฝูงเฉพาะช่วงฤดูกาลผสมพันธุ์ แต่ช่วงปกติจะแยกตัวออกจากฝูงและอาศัยอยู่เพียงโดดเดี่ยว ที่เรียกกันว่า หมูโทน ทั้งนี้อาจเป็นเพราะหมูโทนมีรางกายกำยำใหญ่โต มีเขี้ยวที่ยาวและแหลมคมสามารถที่จะรักษาตัวเองได้ หรืออาจเป็นเพราะว่ามันดุร้ายจนหมูป่าที่มีขนาดเล็กกว่าไม่อยากอยู่ด้วยจึง พากันแยกฝูงหนีไปเสีย

หมูป่ามีประสาทรับกลิ่นที่ไวมาก แต่มีประสาทตาไม่ค่อยดี รวมทั้งประสาทหูไม่ดีด้วย (นอกจากบางครั้งที่มันเกิดสงสัยเมื่อได้กลิ่นประสาททั้งตาและหูจะว่องไวผิด ปกติ) จมูกจึงเป็นเสมือนเครื่องรับประกันความปลอดภัยโดยธรรมชาติ หมูป่าเวลาออกหากินจะมีเสียงเอะอะและดังมาก ซึ่งเป็นเสียงไล่กัดกัน กัดกินอาหาร แย่งกันกินอาหาร เกลือกกลิ้งเล่นกันและเสียงนี้สามารถได้ยินในระยะไกลๆ อย่างไรก็ตามถ้าหากมันเกิดความสงสัยหรือระแวงเหตุร้ายขึ้นมา หมูป่าจะกลายเป็นสัตว์ที่เงียบที่สุดได้เหมือนกัน คือทุกตัวจะยืนนิ่งและเงียบกริบ ราวกับว่าเป็นสิ่งไม่มีชีวิต ครั้นแน่ใจว่าจะมีภัยอันตรายเกิดขึ้นกับมันจะพากันออกวิ่งหนีพอเข้าป่าได้ เรียบร้อยแล้วพวกมันจะยืนนิ่งเงียบกริบอีกครั้ง เพื่อพิสูจน์ให้แน่ใจอีกครั้งว่าปลอดภัยแล้วหรือยัง

ว่ากันว่ากันว่าหมูป่าวิ่งได้เร็วพอ ๆ กับเก้งหรือม้า ไม่กลัวน้ำ ว่ายน้ำเก่ง และชอบเล่นโคลนตมมาก ศัตรูที่สำคัญก็คือ เสือ หมาป่าและหมาไน หมูป่าจัดได้ว่าเป็นสัตว์ที่มีความปราดเปรียวว่องไวมาก มีสันดานลุกลี้ลุกลน ชอบย่ำเท้าหรือตะกุยดินเล่น พรานจึงสังเกตจากรอยเท้าที่มันย่ำตะกุยเพื่อตามล่ามัน ปกติหมูป่าจะเป็นสัตว์ที่ไม่ค่อยดุร้ายเมื่อเห็นคนจะวิ่งหนี แต่ถ้าจนตรอกหรือได้รับบาดเจ็บ อาจกับดุร้ายและทำร้ายคนหรือศัตรูของมันได้เหมือนกัน



หมูป่าเป็นสัตว์ประเภทกินอาหารได้ทั้งพืชและสัตว์ (Ommivorous) ซึ่งอาหารของหมูป่าก็มีตั้งแต่พวก ผักต่าง ๆ เผือก มัน เห็ด หน่อไม้ ข้าวโพด สับปะรด ถั่วลิสงและหญ้าอ่อนๆ ส่วนสัตว์จำพวกปลวก งู และหนู เวลถูกรบกวนมาก ๆ ก็จะออกหากินในตอนกลางคืนเช่นกัน



หมูป่าเมื่อเป็นสัดและผสมพันธุ์เรียบร้อย ขนาดตั้งท้องอาจอยู่รวมกับฝูงปกติจนกระทั้งใกล้คลอดจึงจะแยกออกจากฝูง เพื่อเตรียมทำรังสำหรับคลอดลูก ส่วนมากจะทำรังด้วยพวกหญ้าและเศษไม้เศษพืช เท่าที่หาได้มากองสุมกันจนมีความสูงประมาณ 1 เมตรกว่าๆ โดยกองบนเนินดิน แม่หมูจะคลานเข้าไปและขุดยกเป็นโพรงแล้วคลอดในโพรงนี้ เลี้ยงลูกประมาณ 4 เดือนจนลูกโต และแข็งแรง จึงเข้ารวมฝูงใหญ่ และหากินกันตามปกติในลักษณะเช่นเดิมหาเจอก็กินเหมือนกัน หมูป่าจะมีนิสัยการกินอาหารแบบตะกละและแย่งกันกิน การหากินก็จะออกหากินในตอนเช้าตรู่เป็นส่วนใหญ่ หาก

พันธุ์หมูป่าที่ใช้เลี้ยง



ในเมืองไทยมีหมูป่าอยู่ 2 พันธุ์ คือ พันธุ์หน้ายาวและพันธุ์หน้าสั้น บางคนได้ยินดังนี้มักประมาณเอาเองว่าคงดูไม่ยากว่าตัวไหนเป็นพันธุ์หน้ายาว ตัวไหนเป็นพันธุ์หน้าสั้น แต่เรื่องจริงๆ แล้วจะประมาณเอาจากความสั้นยาวของหน้าไม่ได้ เพราะบางตัวที่เป็นพันธุ์หน้าสั้นอาจมีหน้ายาวกว่าพันธุ์หน้ายาวก็ได้หากมี อายุที่แตกต่างกันมาก ดังนั้นจึงต้องอาศัยส่วนประกอบอื่นๆ เข้าช่วยกล่าวคือ

พันธุ์หน้ายาว ลักษณะพ่อพันธุ์ แม่พันธุ์ หน้ายาวกะโหลกเล็กลำตัวยาวหุ่นเพียวสูง อายุ 2 ปี ขึ้นไปมีความสูงขนาดเอวผม (80 - 90 เซนติเมตร) ขาเล็กและยาวเป็นกลีบเท้าเล็กแต่แข็งแรงมากคล้าย ๆ เก้งจะออกในลักษณะหน้าสูงท้ายต่ำ หูเล็ก แนบชิดลำตัว มีขนสีขาวขึ้นด้านใต้แก้มทั้งสองข้าง และมีขนเป็นแผงขึ้นจากท้ายทอยไปถึงสันหลังขนจะยาวประมาณ 6 นิ้ว เวลาตกใจขนจะชูสูงขึ้นลักษณะขนโดยทั่วไปจะขึ้นเป็นกลุ่ม ๆ ละ 3 รูๆ ละ 1 เส้น ตัวผู้จะมีเขี้ยว ตัวเมียไม่มีเขี้ยว และตัวผู้จะมีผาน หรือผื่นไขมัน ซึ่งหนามาก ปืนยิงไม่เข้า ตรงไหล่ขาหน้า ทั้ง 2 ข้าง และมีตุ่มนม 5 คู่ พันธุ์หน้ายาวจะหากินในป่าตื้น
พันธุ์หน้าสั้น ลักษณะใกล้เคียงกับพันธุ์หน้ายาว แต่หัวกะโหลกจะใหญ่กว่า ดูแล้วเหมือนพันธุ์หน้ายาว แต่พันธุ์หน้าสั้นมีลักษณะลำตัวจะกลม เตี้ย หูเล็ก ขาสั้น และหนังจะหนากว่าพันธุ์หน้ายาวนมไม่เกิน 10 เต้า จะหากินป่าลึก จะมีจ่าฝูงฝูงหนึ่งประมาณ 30 ตัว ตัวเมียใกล้คลอดจะแยกจากฝูงไปเลี้ยงลูกประมาณ 4 เดือน และจะเข้าฝูงใหม่
อย่างไรก็ตามปัจจุบันได้มีผู้ผสมเป็นหมูป่า 2 สาย และ 3 สายกันมากขึ้นรายละเอียดจะนำเสนอในโอกาสหน้า

การจัดสร้างโรงเรือนเลี้ยงหมูป่า



อันดับแรกของการเลี้ยงหมูป่าก็คือ จะต้องมีการสร้างโรงเรือนเลี้ยงหรือคอก ซึ่งโรงเรือนเลี้ยงหมูป่าจะสร้างคล้ายโรงเรือนการเลี้ยงหมู เป็ด ไก่ธรรมดา เพียงแต่ว่าโรงเรือนสัตว์พวกเป็ด ไก่ เหล่านั้นมักจะสร้างให้โรงเรือนโปร่งอากาศถ่ายเทสะดวก และรักษาความสะอาดง่าย แต่โรงเรือนหมูป่าจะสร้างให้ทึบกว่าโรงเรือนของสัตว์พวกนี้ เพราะหมูป่าเป็นสัตว์ที่ตื่นตกใจง่าย ถ้าปล่อยให้ตื่นมักจะวิ่งไม่ค่อยหยุด อีกอย่างหนึ่งถ้าตกใจจะมีผลต่อระบบขับถ่ายคือ ทำให้ท้องร่วง

ดังนั้นนอกเหนือจากโรงเรือนซึ่งต้องทำให้ทึบแล้ว รอบๆ โรงเรือนสูงจากพื้นประมาณ 1 เมตรเศษยังต้องสร้างแผงปิดกั้นรอบๆ โรงเรือนเพื่อไม่ให้หมูป่าเห็นสิ่งรบกวนภายนอกมากนัก แผงกั้นอาจทำด้วยแผงไม้ไผ่หรือทำด้วยกระสอบป่านผ่าซีกและขึงด้วยกรอบไม้ก็ ได้

สำหรับพื้นโรงเรือนถ้าเลี้ยงบนพื้นดินธรรมดาแล้วจะทำให้เนื้อตัวสกปรก และง่ายต่อการเป็นโรค แต่ถ้าเลี้ยงบนพื้นซีเมนต์หยาบแบบหมูบ้านทั่วไปก็ได้ผลไม่ดีทำให้เท้าเกิด บาดแผลได้

สรุปแล้ววิธีที่ดีที่สุดสำหรับพื้นโรงเรือนก็คือ ควรทำเป็นพื้นคอนกรีตแบบขัดมัน เพราะนอกจากจะง่ายต่อการทำความสะอาดแล้วยังเป็นการป้องกันการกระโดดออกจาก คอกเลี้ยงได้ ซึ่งบางตัวกระโดดได้สูงมาก สามารถกระโดดได้สูงกว่า 2 เมตรทีเดียว



ส่วนคอกเลี้ยงหมูป่านั้น ภายในโรงเรือนแต่ละหลังจะแบ่งคอกย่อยออกเป็น 2 ด้าน โดยจะมีทางเดินอยู่ตรงกลาง คอกเลี้ยงควรสร้างด้วยตาข่ายเหล็ก (ลวด) แบบที่ใช้ทำรั้วทั่วๆ ไป ที่มีขนาดตา 6 นิ้ว ขนาดของคอกเลี้ยงแต่ละคอกกว้างประมาณ 2 - 2 .50 เมตร ยาวประมาณ 3 เมตร ในแต่ละคอกเลี้ยงหมูป่าได้ 1 ตัว หรืออาจหลายตัวก็ได้ตามขนาดของหมูที่เลี้ยง คอกแต่ละคอกมีความสูงประมาณ 1.50 เมตร ซึ่งสามารถป้องกันการกระโดดหนีของหมูป่าได้ หรือสูงถึง 1.80 เมตรก็ได้ และมีประตูปิด - เปิดด้านหน้า (ช่องทางเดิน) แต่สำหรับคอกแม่หมูป่าที่มีลูกนั้น จะต้องทำคอกพิเศษโดยเปิดช่อง (จะมีแผ่นเหล็กบางๆ ที่ปิดเปิดได้) ไว้สำหรับให้ลูกหมูออกมาจากคอกใหญ่ได้ เพื่อให้ลูกหมูป่าลอดออกมากินอาหารเสริม แต่จะต้องใช้ไม้ตีกั้นเป็นกรงต่างหากไว้ภายนอกด้วย

ทั้งนี้เพื่อกันไม่ให้ลูกหมูป่าออกมาเดินเพ่นพ่าน และสะดวกในการจับลูกหมูฉีดยา หรือดูแลเวลาเป็นอะไรขึ้นมา เพราะแม่หวงลูกมากหากกระทำในคอกเลี้ยงแม่พันธุ์แล้วอาจได้รับอันตรายได้

การเลี้ยงหมูป่า

การเลี้ยงหมูป่า

ลักษณะของหมูป่า



หมูป่า นั้นว่ากันว่ามีพื้นเพหรือถิ่นกำเนิดอยู่ในทวีปเอเชียนี่เองในทวีปอื่นอาจมี บ้างก็น้อย และโดยเฉพาะในเอเชียนั้นถือได้ว่าเป็นแหล่งหมูป่าแหล่งใหญ่ที่สุด หมูป่าในประเทศไทยมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Sus scrofa ที่พบก็มีอยู่ 2 พันธุ์ คือ พันธุ์หน้ายาว และพันธุ์หน้าสั้น แต่ก็จะรู้จักลักษณะของแต่ละพันธุ์ เราควรมาทำความรู้จักลักษณะโดยทั่วไปกันเสียก่อน

ลักษณะโดยทั่วไปของหมูป่า คือ มีขนหยาบแข็งสีน้ำตาลเข็มหรือดำ รูปร่างไม่อ้วนเทอะทะเหมือนหมูบ้าน กล่าวคือ มีรูปร่างผอมและสูงมาก ในตัวที่โตๆ อาจสูงถึงเอวคนหรือสูงกว่านี้ก็มี หัวยาวและแหลมกว่าสุกรบ้าน ขาเล็กและเรียวยาว กีบเท้าเล็กแต่แข็งแรงมาก หูเล็ก ตาโตสีดำ คอยาวและสั้น ตาลีบบาง ท้ายหักมาก มีขนแปรงสีดำเข็มและสีดอกเลายาวประมาณ 6 นิ้ว ขึ้นตั้งแต่ท้ายทอยตลอดไปตามแนวสันหลังจนถึงสะโพก ขนส่วนนี้จะตั้งขึ้นได้ โดยเฉพาะในเวลาที่หมูตกใจกลัว หรือเตรียมพร้อมที่จะสู้ ส่วนหางไม่มีขน มีความยาวจนถึงข้อขาหลัง หนังหมูป่าจะหนามากโดยเฉพาะอย่างยิ่งหนังที่บริเวณไหล่ อาจจะหนาประมาณ 5 ซม. หรือมากกว่าก็มี จมูกอ่อนแต่แข็งแรงมาก เนื่องจากหมูป่าจะใช้ปลายจมูกขุดคุ้ยดิน หรือจอมปลวกเพื่อหาอาหาร หมูป่าจะมีเขี้ยว 4 เขี้ยว ยาวและแหลมมาก ในตัวผู้ เขี้ยวนี้จะใช้เป็นอาวุธประจำตัวที่สำคัญมากในการป้องกันตัว เขี้ยวทั้ง 4 จะโค้งงอขึ้นด้านบน ความยาวของเขี้ยววัดจากโคนถึงปลายยาวประมาณ 4 - 5 นิ้ว และตัวเมียจะมีเต้านมแถวละ 5 เต้า

ลูกหมูป่าเมื่อยังเล็ก สีขนที่ลำตัวลูกหมูป่าจะมีลายเป็นแถบเล็กๆ สีเหลืองสลับขาวพาดตามความยาวของลำตัวคล้ายกับลายแตงไทย อันจะเป็นการช่วยพรางตัวจากศัตรูได้อย่างดีเยี่ยม เมื่ออายุได้ 5 - 6 เดือน ลายดังกล่าวจึงค่อยๆ เลือนหายไป จนมีสีผิวและขนเหมือนกับพ่อแม่ของมัน

ได้มีผู้ที่ทดลองผสมข้ามพันธุ์ระหว่างหมูป่าหน้ายาวเพศผู้กับหมูป่าพันธุ์ หน้าสั้นเพศเมีย ลูกที่ผสมได้ 6 ตัว พบว่าสีลายแตงไทย 3 ตัว และสีดำมีทางลายสีน้ำตาลออกน้อยมากพอมองเห็นจางๆ 3 ตัว) ฝูงหมูป่าในช่วงฤดูผสมพันธุ์จะพบว่ามีหมูป่าที่มีรูปร่างสูงใหญ่กว่าหมูป่า ตัวอื่นๆ ในฝูงอยู่ 2 - 3 ตัว และมีอยู่ตัวหนึ่งที่มีกิริยาท่าทางองอาจ วางมาดยืนเด่นอยู่กลางฝูงนั่นก็คือ พญาจ่าฝูง



หมูป่าเป็นสัตว์ที่กินอาหารได้หลายอย่าง ฉะนั้นจึงมีระบบฟันที่พัฒนาไปมากเหมือนสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมโดยทั่วไปกล่าว คือ มีระบบฟันเป็นแบบ : ¾ ½ ¼ ¾ x2 =44 ฟันหน้าด้านล่างจะยาว แคบและยื่นตรงออกไปข้างหน้า จะทำหน้าที่คล้ายพลั่ว โดยเฉพาะในเวลาที่หาอาหาร โดยการขุดคุ้ยตามพื้นดินหรือตามดินโป่งเป็นต้น ส่วนเขี้ยวของหมูป่าไม่มีราก จะพัฒนาไปมากโดยเฉพาะในตัวผู้ ขนาดของฟันกัดต่อมาเขี้ยวจะค่อยๆ เพิ่มขนาดจากเล็กมาใหญ่ ส่วนฟันกรามพบว่าซี่สุดท้ายจะมีขนาดใหญ่มากคือ มีขนาดเท่ากับฟันกรามซี่ที่ 1 และ 2 รวมกัน ส่วนของกะโหลกศีรษะมีความยาว และลาดเอียง (Slope) มาก โดยที่ส่วนที่เป็นปากและฟันมีความยาวมากคือประมาณ 75 - 80 % ของกะโหลกศีรษะ

สภาพความเป็นอยู่ในธรรมชาติของหมูป่า โดยธรรมชาติแล้ว หมูป่าชอบอาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูง ขนาดฝูงก็มีตั้งแต่ 5-6 ตัวจนถึงฝูงใหญ่ขนาด 50 ตัวก็มี แต่ละฝูงประกอบด้วยหลายวัย ทั้งเพศผู้และเพศเมีย ในตัวผู้ขนาดใหญ่จะรวมฝูงเฉพาะช่วงฤดูกาลผสมพันธุ์ แต่ช่วงปกติจะแยกตัวออกจากฝูงและอาศัยอยู่เพียงโดดเดี่ยว ที่เรียกกันว่า หมูโทน ทั้งนี้อาจเป็นเพราะหมูโทนมีรางกายกำยำใหญ่โต มีเขี้ยวที่ยาวและแหลมคมสามารถที่จะรักษาตัวเองได้ หรืออาจเป็นเพราะว่ามันดุร้ายจนหมูป่าที่มีขนาดเล็กกว่าไม่อยากอยู่ด้วยจึง พากันแยกฝูงหนีไปเสีย

หมูป่ามีประสาทรับกลิ่นที่ไวมาก แต่มีประสาทตาไม่ค่อยดี รวมทั้งประสาทหูไม่ดีด้วย (นอกจากบางครั้งที่มันเกิดสงสัยเมื่อได้กลิ่นประสาททั้งตาและหูจะว่องไวผิด ปกติ) จมูกจึงเป็นเสมือนเครื่องรับประกันความปลอดภัยโดยธรรมชาติ หมูป่าเวลาออกหากินจะมีเสียงเอะอะและดังมาก ซึ่งเป็นเสียงไล่กัดกัน กัดกินอาหาร แย่งกันกินอาหาร เกลือกกลิ้งเล่นกันและเสียงนี้สามารถได้ยินในระยะไกลๆ อย่างไรก็ตามถ้าหากมันเกิดความสงสัยหรือระแวงเหตุร้ายขึ้นมา หมูป่าจะกลายเป็นสัตว์ที่เงียบที่สุดได้เหมือนกัน คือทุกตัวจะยืนนิ่งและเงียบกริบ ราวกับว่าเป็นสิ่งไม่มีชีวิต ครั้นแน่ใจว่าจะมีภัยอันตรายเกิดขึ้นกับมันจะพากันออกวิ่งหนีพอเข้าป่าได้ เรียบร้อยแล้วพวกมันจะยืนนิ่งเงียบกริบอีกครั้ง เพื่อพิสูจน์ให้แน่ใจอีกครั้งว่าปลอดภัยแล้วหรือยัง

ว่ากันว่ากันว่าหมูป่าวิ่งได้เร็วพอ ๆ กับเก้งหรือม้า ไม่กลัวน้ำ ว่ายน้ำเก่ง และชอบเล่นโคลนตมมาก ศัตรูที่สำคัญก็คือ เสือ หมาป่าและหมาไน หมูป่าจัดได้ว่าเป็นสัตว์ที่มีความปราดเปรียวว่องไวมาก มีสันดานลุกลี้ลุกลน ชอบย่ำเท้าหรือตะกุยดินเล่น พรานจึงสังเกตจากรอยเท้าที่มันย่ำตะกุยเพื่อตามล่ามัน ปกติหมูป่าจะเป็นสัตว์ที่ไม่ค่อยดุร้ายเมื่อเห็นคนจะวิ่งหนี แต่ถ้าจนตรอกหรือได้รับบาดเจ็บ อาจกับดุร้ายและทำร้ายคนหรือศัตรูของมันได้เหมือนกัน



หมูป่าเป็นสัตว์ประเภทกินอาหารได้ทั้งพืชและสัตว์ (Ommivorous) ซึ่งอาหารของหมูป่าก็มีตั้งแต่พวก ผักต่าง ๆ เผือก มัน เห็ด หน่อไม้ ข้าวโพด สับปะรด ถั่วลิสงและหญ้าอ่อนๆ ส่วนสัตว์จำพวกปลวก งู และหนู เวลถูกรบกวนมาก ๆ ก็จะออกหากินในตอนกลางคืนเช่นกัน



หมูป่าเมื่อเป็นสัดและผสมพันธุ์เรียบร้อย ขนาดตั้งท้องอาจอยู่รวมกับฝูงปกติจนกระทั้งใกล้คลอดจึงจะแยกออกจากฝูง เพื่อเตรียมทำรังสำหรับคลอดลูก ส่วนมากจะทำรังด้วยพวกหญ้าและเศษไม้เศษพืช เท่าที่หาได้มากองสุมกันจนมีความสูงประมาณ 1 เมตรกว่าๆ โดยกองบนเนินดิน แม่หมูจะคลานเข้าไปและขุดยกเป็นโพรงแล้วคลอดในโพรงนี้ เลี้ยงลูกประมาณ 4 เดือนจนลูกโต และแข็งแรง จึงเข้ารวมฝูงใหญ่ และหากินกันตามปกติในลักษณะเช่นเดิมหาเจอก็กินเหมือนกัน หมูป่าจะมีนิสัยการกินอาหารแบบตะกละและแย่งกันกิน การหากินก็จะออกหากินในตอนเช้าตรู่เป็นส่วนใหญ่ หาก

พันธุ์หมูป่าที่ใช้เลี้ยง



ในเมืองไทยมีหมูป่าอยู่ 2 พันธุ์ คือ พันธุ์หน้ายาวและพันธุ์หน้าสั้น บางคนได้ยินดังนี้มักประมาณเอาเองว่าคงดูไม่ยากว่าตัวไหนเป็นพันธุ์หน้ายาว ตัวไหนเป็นพันธุ์หน้าสั้น แต่เรื่องจริงๆ แล้วจะประมาณเอาจากความสั้นยาวของหน้าไม่ได้ เพราะบางตัวที่เป็นพันธุ์หน้าสั้นอาจมีหน้ายาวกว่าพันธุ์หน้ายาวก็ได้หากมี อายุที่แตกต่างกันมาก ดังนั้นจึงต้องอาศัยส่วนประกอบอื่นๆ เข้าช่วยกล่าวคือ

พันธุ์หน้ายาว ลักษณะพ่อพันธุ์ แม่พันธุ์ หน้ายาวกะโหลกเล็กลำตัวยาวหุ่นเพียวสูง อายุ 2 ปี ขึ้นไปมีความสูงขนาดเอวผม (80 - 90 เซนติเมตร) ขาเล็กและยาวเป็นกลีบเท้าเล็กแต่แข็งแรงมากคล้าย ๆ เก้งจะออกในลักษณะหน้าสูงท้ายต่ำ หูเล็ก แนบชิดลำตัว มีขนสีขาวขึ้นด้านใต้แก้มทั้งสองข้าง และมีขนเป็นแผงขึ้นจากท้ายทอยไปถึงสันหลังขนจะยาวประมาณ 6 นิ้ว เวลาตกใจขนจะชูสูงขึ้นลักษณะขนโดยทั่วไปจะขึ้นเป็นกลุ่ม ๆ ละ 3 รูๆ ละ 1 เส้น ตัวผู้จะมีเขี้ยว ตัวเมียไม่มีเขี้ยว และตัวผู้จะมีผาน หรือผื่นไขมัน ซึ่งหนามาก ปืนยิงไม่เข้า ตรงไหล่ขาหน้า ทั้ง 2 ข้าง และมีตุ่มนม 5 คู่ พันธุ์หน้ายาวจะหากินในป่าตื้น
พันธุ์หน้าสั้น ลักษณะใกล้เคียงกับพันธุ์หน้ายาว แต่หัวกะโหลกจะใหญ่กว่า ดูแล้วเหมือนพันธุ์หน้ายาว แต่พันธุ์หน้าสั้นมีลักษณะลำตัวจะกลม เตี้ย หูเล็ก ขาสั้น และหนังจะหนากว่าพันธุ์หน้ายาวนมไม่เกิน 10 เต้า จะหากินป่าลึก จะมีจ่าฝูงฝูงหนึ่งประมาณ 30 ตัว ตัวเมียใกล้คลอดจะแยกจากฝูงไปเลี้ยงลูกประมาณ 4 เดือน และจะเข้าฝูงใหม่
อย่างไรก็ตามปัจจุบันได้มีผู้ผสมเป็นหมูป่า 2 สาย และ 3 สายกันมากขึ้นรายละเอียดจะนำเสนอในโอกาสหน้า

การจัดสร้างโรงเรือนเลี้ยงหมูป่า



อันดับแรกของการเลี้ยงหมูป่าก็คือ จะต้องมีการสร้างโรงเรือนเลี้ยงหรือคอก ซึ่งโรงเรือนเลี้ยงหมูป่าจะสร้างคล้ายโรงเรือนการเลี้ยงหมู เป็ด ไก่ธรรมดา เพียงแต่ว่าโรงเรือนสัตว์พวกเป็ด ไก่ เหล่านั้นมักจะสร้างให้โรงเรือนโปร่งอากาศถ่ายเทสะดวก และรักษาความสะอาดง่าย แต่โรงเรือนหมูป่าจะสร้างให้ทึบกว่าโรงเรือนของสัตว์พวกนี้ เพราะหมูป่าเป็นสัตว์ที่ตื่นตกใจง่าย ถ้าปล่อยให้ตื่นมักจะวิ่งไม่ค่อยหยุด อีกอย่างหนึ่งถ้าตกใจจะมีผลต่อระบบขับถ่ายคือ ทำให้ท้องร่วง

ดังนั้นนอกเหนือจากโรงเรือนซึ่งต้องทำให้ทึบแล้ว รอบๆ โรงเรือนสูงจากพื้นประมาณ 1 เมตรเศษยังต้องสร้างแผงปิดกั้นรอบๆ โรงเรือนเพื่อไม่ให้หมูป่าเห็นสิ่งรบกวนภายนอกมากนัก แผงกั้นอาจทำด้วยแผงไม้ไผ่หรือทำด้วยกระสอบป่านผ่าซีกและขึงด้วยกรอบไม้ก็ ได้

สำหรับพื้นโรงเรือนถ้าเลี้ยงบนพื้นดินธรรมดาแล้วจะทำให้เนื้อตัวสกปรก และง่ายต่อการเป็นโรค แต่ถ้าเลี้ยงบนพื้นซีเมนต์หยาบแบบหมูบ้านทั่วไปก็ได้ผลไม่ดีทำให้เท้าเกิด บาดแผลได้

สรุปแล้ววิธีที่ดีที่สุดสำหรับพื้นโรงเรือนก็คือ ควรทำเป็นพื้นคอนกรีตแบบขัดมัน เพราะนอกจากจะง่ายต่อการทำความสะอาดแล้วยังเป็นการป้องกันการกระโดดออกจาก คอกเลี้ยงได้ ซึ่งบางตัวกระโดดได้สูงมาก สามารถกระโดดได้สูงกว่า 2 เมตรทีเดียว



ส่วนคอกเลี้ยงหมูป่านั้น ภายในโรงเรือนแต่ละหลังจะแบ่งคอกย่อยออกเป็น 2 ด้าน โดยจะมีทางเดินอยู่ตรงกลาง คอกเลี้ยงควรสร้างด้วยตาข่ายเหล็ก (ลวด) แบบที่ใช้ทำรั้วทั่วๆ ไป ที่มีขนาดตา 6 นิ้ว ขนาดของคอกเลี้ยงแต่ละคอกกว้างประมาณ 2 - 2 .50 เมตร ยาวประมาณ 3 เมตร ในแต่ละคอกเลี้ยงหมูป่าได้ 1 ตัว หรืออาจหลายตัวก็ได้ตามขนาดของหมูที่เลี้ยง คอกแต่ละคอกมีความสูงประมาณ 1.50 เมตร ซึ่งสามารถป้องกันการกระโดดหนีของหมูป่าได้ หรือสูงถึง 1.80 เมตรก็ได้ และมีประตูปิด - เปิดด้านหน้า (ช่องทางเดิน) แต่สำหรับคอกแม่หมูป่าที่มีลูกนั้น จะต้องทำคอกพิเศษโดยเปิดช่อง (จะมีแผ่นเหล็กบางๆ ที่ปิดเปิดได้) ไว้สำหรับให้ลูกหมูออกมาจากคอกใหญ่ได้ เพื่อให้ลูกหมูป่าลอดออกมากินอาหารเสริม แต่จะต้องใช้ไม้ตีกั้นเป็นกรงต่างหากไว้ภายนอกด้วย

ทั้งนี้เพื่อกันไม่ให้ลูกหมูป่าออกมาเดินเพ่นพ่าน และสะดวกในการจับลูกหมูฉีดยา หรือดูแลเวลาเป็นอะไรขึ้นมา เพราะแม่หวงลูกมากหากกระทำในคอกเลี้ยงแม่พันธุ์แล้วอาจได้รับอันตรายได้

การปลูกผักไร้ดิน


การปลูกพืชในระบบไฮโดรโพนิคส์เข้ามาสู่ประเทศ ไทยเมื่อประมาณ 10 ปีมาแล้ว โดยชาวไต้หวัน นำเข้ามาแนะนำให้ผู้ประกอบการคนไทยทำเป็นการค้าที่เรียกว่า "ผักลอยฟ้า"

ไฮโดร โพนิคส์ เข้ามามีบทบาทเพื่อแก้ปัญหาของการปลูกพืชในดิน ซึ่งมีการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชและวัชพืช รวมทั้งเชื้อโรคพืชที่อาศัยอยู่ในดิน ทำให้เกิดสารพิษตกค้างในผลผลิตเป็นอันตรายต่อผู้บริโภคและตัวเกษตรกรผู้ปลูก นอกจากนี้การปลูกพืชในดินยังต้องใช้น้ำมาก   ถ้าปราศจากแหล่งน้ำก็ก่อให้เกิดปัญหาในการเพาะปลูกอีกการปลูกพืชในดินต้อง มีการเตรียมดิน ปรับสภาพดิน และต้องใช้ปุ๋ยเคมีสูตรต่าง ๆ ตามอายุพืช "ไฮโดรโพนิคส์" จึงเป็นระบบการปลูกพืชที่เข้ามาแก้ปัญหาดังกล่าว แต่ทั้งนี้ไฮโดรโพนิคส์ก็เหมาะสมสำหรับพืชบางชนิดเท่านั้น ไฮโดรโพนิคส์ เป็นการปลูกพืชไร้ดิน ในรูปแบบของการปลูกพืชให้รากพืชแช่อยู่ในน้ำ หรือสารละลายธาตุอาหารพืช ซึ่งคุณสุภาพร รัตนะรัต บอกว่า การปลูกพืชในสารละลายธาตุอาหารพืชมีหลายวิธี แต่ละวิธีมีข้อดีข้อเสียแตกต่างกัน วิธีที่ง่ายและสะดวก เป็นที่นิยมกันมี 2 วิธี คือ

วิธีการปลูกพืชไร้ดิน

- การปลูกพืชในสารละลายแบบไม่ไหลเวียน เป็นการปลูกแบบให้รากแช่อยู่ในสารละลายธาตุอาหารที่มีเครื่องพ่นอากาศ เป่าอากาศลงในสารละลายนั้น การปลูกในระบบนี้เป็นวิธีที่ทำได้ง่ายมาก เหมาะสำหรับปลูกในครัวเรือน เป็นงานอดิเรก หรือเป็นงานทดลองภาชนะที่ปลูกอาจจะเป็นภาชนะเดี่ยวหรือเป็นกระบะรวม การปลูกในภาชนะเดี่ยวมีข้อดี คือ ไม่ต้องเสี่ยงกับความเสียหายทั้งหมด ในกรณีที่มีโรคติดมากับรากพืชที่ปลูก ความเสียหายจะเกิดเฉพาะต้นที่เป็นโรคเท่านั้นและการเคลื่อนย้ายภาชนะปลูก สามารถทำได้ง่าย แต่มีข้อเสียคือ อาจต้องสิ้นเปลืองแรงงานมากกว่า
- การปลูกในสารละลายแบบไหลเวียน (Nutrient Flow Tecnnique หรือ NFT) เป็นวิธีให้รากแช่อยู่ในสารละลายที่ไหลเวียนภายในภาชนะปลูกรวม โดยใช้ปั๊มทำการผลักดันให้สารละลายเกิดการไหลเวียน มี 2 แบบ คือ แบบสารละลายไหลผ่านรากพืชเป็นแผ่นฟิล์มบาง ๆ ตามความลาดชันของรางปลูก (Nutrient Flow Tecnnique) และระบบสารละลายไหลผ่านรากพืชอย่างต่อเนื่อง (Natrient Flow Tecnnique) การปลูกในระบบนี้ สารละลายธาตุอาหารที่ไหลผ่านรากพืชจะไหลลงสู่ถังภาชนะบรรจุ แล้วถูกสูบด้วยปั้มน้ำขึ้นมาให้พืชได้ใช้ใหม่ โดยวิธีนี้จะสามารถใช้ประโยชน์จากสารละลายธาตุอาหารได้อย่างมีประสิทธิภาพ การนำสารละลายธาตุอาหารกลับมาใช้ใหม่ จึงเป็นวิธีที่ประหยัด และไม่เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม จากสารละลายเหลือใช้ แต่ข้อเสียของระบบนี้คือ ถ้าเกิดโรคที่ติดมากับรากพืช จะทำให้แพร่กระจายได้มากและรวดเร็ว จากการที่รากแช้อยู่ในสารละลายเดียวกัน ซึ่งยากที่จะกำจัด หรือรักษาให้หายได้ การแพร่ระบาดของโรคอย่างรุนแรงทำความเสียหายแก่พืชที่ปลูกไว้ทั้งหมด

การปลูกพืชในระบบไฮโดรโพนิคส์

โดย เฉพาะพืชผักจะต้องปลูกในโรงเรือนมุ้งตาข่าย ภาชนะปลูกส่วนใหญ่จะเป็นกระบะ สำหรับใส่น้ำสารละลายธาตุอาหารพืช มีแผ่นโฟมปิดบนกระบะแผ่นโฟมจะเจาะเป็นช่อง ๆ สำหรับวางต้นกล้าให้รากลงไปแช่ในสารละลาย ปัจจุบันมีการพัฒนาภาชนะปลูกให้ทันสมัยขึ้น ประหยัดเนื้อที่และประหยัดน้ำมากขึ้น โดยการทำเป็นรางน้ำแทนกระบะนอกจากนี้ยังต้องมีเครื่องปั๊มอากาศ สำหรับปั๊มอากาศเข้าไปในภาชนะปลูกพืชให้ออกซิเจนแก่รากพืช เพื่อพืชใช้ในการดูดซึมอาหาร

สำหรับธาตุอาหารที่พืชต้องการในการ เจริญเติบโต มี 16 ชนิด ได้แก่ คาร์บอน ออกซิเจน ไฮโดรเจน ไนโตรเจน แคลเซียม แมกนีเซียมฟอสฟอรัส โปตัสเซียม กำมะถัน เหล็ก ทองแดง แมงกานีส โมลิบดินัม สังกะสี คลอรีน และโบรอน นอกจากนี้อาจจะมีธาตุอาหารอื่นๆ บ้าง เช่น อะลูเนียม แกลเลียม ซิลิกอน ไอโดดีน ซีลีเนียม และโซเดียม แต่จากการวิเคราะห์พบว่า ธาตุอาหารที่พืชต้องการมากคือ คาร์บอน
และ ออกซิเจน ทั้ง 2 ชนิดรวมกันประมาณ 90% ของธาตุอาหารพืชทั้งหมด ที่เหลือเป็นไฮโดรเจน ไนโตรเจน และอื่น ๆ คุณสุภาพร รัตนะรัต กล่าวถึงข้อดี และข้อจำกัดของการปลูกพืชในระบบไฮโดรโพนิคส์ โดยเฉพาะพืชผักไว้ดังนี้

ข้อดี คือ
* ให้ผลผลิตที่สะอาด ถูกอนามัย ปลอดภัยจากสารพิษ เนื่องจากปลูกในโรงเรือนที่มีมุ้งตาข่ายปิดมิดชิดจึงไม่จำเป็นต้องใช้สาร เคมีในการป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืช
* พืชเจริญเติบโตและเก็บเกี่ยวผลผลิตได้เร็วกว่าการปลูกในดิน เนื่องจากพืชได้รับธาตุอาหารต่างๆ ครบถ้วนในสัดส่วนที่พอเหมาะและตลอดเวลาที่พืชต้องการ ทำให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพและรสชาติดี
* พืชที่ปลูกอยู่รอดมากขึ้น และให้ผลผลิตสูง เพราะสามารถควบคุมปัจจัยต่างๆ ที่ให้แก่พืชได้ดีกว่าปลูกในดิน ลดความเสี่ยงจากสภาพดินฟ้าอากาศไม่แน่นอน เช่น น้ำท่วม ฝนแล้ง
* ใช้พื้นที่น้อย เพราะปลูกพืชได้หนาแน่นกว่าปลูกในดิน และปลูกต่อได้ทันทีหลังจากเก็บเกี่ยวพืชชุดแรกแล้ว จึงสามารถปลูกได้หลายครั้งต่อปี
* ประหยัดค่าใช้จ่ายในการกำจัดวัชพืช
* ทดแทนการปลูกพืชในดินที่มีปัญหา เช่น ดินเค็ม ดินกรด ดินด่าง ดินที่ไม่เหมาะสมสำหรับปลูกพืช เช่น ดินลูกรัง ดินที่มีน้ำท่วมขังบ่อยครั้ง
* เหมาะสำหรับปลูกในสถานที่ที่มีพื้นผิวดินสำหรับปลูกพืชน้อย เช่น ระเบียงบ้าน หรือ คอนโดมีเนียม
* ปลูกได้ตลอดปี ไม่ต้องรอฤดูกาล สามารถเลือกปลูกพืชในช่วงที่มีราคาแพง ทำให้ผลผลิตได้ราคาดีขึ้น
* ใช้แรงงานในการดูแลน้อย

ข้อจำกัด คือ
ลง ทุนสูงในระยะแรก และต้องมีปัจจัยในการปลูกพืชในระบบนี้ คือ ไฟฟ้า น้ำ และธาตุอาหารที่พืชต้องการในรูปของสารเคมีอย่างไรก็ตาม การปลูกพืชในระบบไฮโดรโพนิคส์ ในปัจจุบันเป็นที่นิยมกันมากสำหรับปลูกผักอนามัย และวิธีการปลูก วัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้ก็มีการพัฒนาให้สะดวกและทันสมัยมากขึ้น ตลาดของผักอนามัยในปัจจุบัน เริ่มมีผู้หันมานิยมบริโภคมากขึ้น การวางจำหน่ายผักที่ปลูกในระบบไฮโดรโพนิคส์ ปัจจุบันจะบรรจุถุงทั้งต้น โดยไม่ตัดรากและบางรายภาชนะปลูกที่ใช้พยุงต้นซึ่งเป็นกระถางพลาสติกโปร่ง ขนาดเล็กๆ ยังมีติดที่โคนต้นเป็นการยืนยันว่าเป็นผักที่ปลูกในระบบไฮโดรโพนิคส์จริง ๆ ปราศจากสารเคมีป้องกันกำจัดแมลงแน่นอน

* ไม่มีโรคและแมลงศัตรูพืช
* ไม่ต้องใช้สารเคมีในการป้องกันกำจัดโรคและแมลงศัตรูพืช* ประหยัดน้ำและสารละลายธาตุอาหารพืช
* พืชโตเร็ว เก็บเกี่ยวได้เร็ว และให้ผลผลิตสูง
* สามารถควบคุมสภาพแวดล้อมในการเพาะปลูกได้ ทั้งนี้มีตัวเลขยืนยัน ดังนี้
   
สามารถลดการใช้น้ำได้ 98%
สามารถลดปริมาณปุ๋ยเคมี ได้ 95%
สามารถลดปริมาณสารเคมีในการป้องกันกำจัดศัตรูพืชได้ 99%
สามารถเพิ่มผลผลิตในแต่ละรอบการเพาะปลูกได้ 45%
ได้ผลผลิตที่สะอาด