หน้าเว็บ

วันอาทิตย์ที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2554

การเพาะเลี้ยงปลาหลด,การเลี้ยงปลาหลด


การเพาะเลี้ยงปลาหลด
ปลา หลด เป็นปลาน้ำจืดพื้นบ้านของไทยที่อาศัยอยู่ในห้วย หนอง คลอง บึง ตาม แหล่งน้ำธรรมชาติ และอยู่ตามพื้นน้ำ ฝังตัวอยู่ในทรายตอนกลางวัน หากินอาหาร ในเวลากลางคืน ชอบกินตัวอ่อนของแมลง หนอน ไส้เดือน สัตว์เล็กๆ และเศษเนื้อ เน่าเปื่อยเป็นอาหาร ปลาชนิดนี้เดิมที่ชุกชุมมากช่วงฤดูฝน ยกยอครั้งใดมัก จะติดขึ้นมาด้วยเสมอ ปัจจุบันนี้หารับประทานกันได้ยากยิ่งขึ้น เนื่องมาจาก แหล่งน้ำมีสารพิษและการเน่าเสีย สภาพแวดล้อมไม่สมดุลทำให้การวางไข่ลด ลง จำนวนปลาจึงน้อยลงและมีให้เห็นแต่เพียงตัวเล็กๆ ถ้าปลาหลดตัวใหญ่นั้น เป็นปลาที่มาจากประเทศกัมพูชา ไม่แปลกราคาปลาหลดที่มีขายอยู่ตามท้องตลาด ค่อนข้างสูง อยู่ที่ประมาณกิโลกรัมละ 120-200 บาท

ลักษณะของปลาหลด
ลักษณะ ที่โดดเด่นของปลาหลดคือ เป็นปลาที่อดทนสูง อาศัยอยู่ในโคลนตมได้ นาน รูปร่างคล้ายปลาไหล ปลายปากยื่นยาวสามารถยืดหดได้ ลำตัวยาวเรียว ประมาณ 15-30 เซนติเมตร ตัวปลากลมมน หัวเล็ก จะงอยปากเรียวแหลม ปากและตา เล็ก ครีบหลังและครีบก้นยาว ครีบหางเล็ก ไม่มีครีบท้อง หลังสีน้ำตาลท้องมี สีอ่อนปนเหลือง มีจุดสีดำที่ครีบหลัง 3-5 จุด เกล็ดเล็กมาก จนมองดูเหมือน ไม่มี อยู่ในวงศ์เดียวกับปลากระทิง แต่ขนาดเล็กกว่า

เพาะเลี้ยงปลาหลดใน การเลี้ยงปลาหลดเพื่อการค้าอยู่ในวงจำกัด เนื่องจากการหาพ่อแม่พันธุ์ ปลาหลดยังต้องหาตามแหล่งน้ำจากธรรมชาติ ทำให้ปลามีความบอบซ้ำและปริมาณก็ ไม่มากพอ แหล่งที่มีการรวบรวมพันธุ์ที่สำคัญคือ ตลาดโรงเกลือ อำเภอ อรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว
คณะวิชาประมง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์ ได้ เห็นความสำคัญ จึงได้ศึกษาวิจัยและทดลองการเพาะเลี้ยงปลาหลดอย่างเอาจริง เอาจัง เพื่อส่งเสริมให้เกษตรกรสามารถเลี้ยงปลาชนิดนี้ในเชิงธุรกิจ ซึ่งจะ สามารถสร้างรายได้ให้แก่ผู้เลี้ยงได้เป็นอย่างดี
ผ.ศ.หทัย รัตน์ เสาวกุล หัวหน้าคณะวิชาประมง หนึ่งในคณะผู้ วิจัย กล่าวว่า คณะผู้วิจัยการเพาะเลี้ยงปลาหลดได้ศึกษาวิธีการเพาะเลี้ยง หรือขยายพันธุ์ปลาหลด เพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีเกษตรกรให้มีรายได้จากการ เลี้ยงปลาเพิ่มขึ้น

การเพาะพันธุ์ปลาหลด
เราจะคัดปลาจากแหล่งน้ำธรรมชาติที่มีความสมบูรณ์ คือเพศเมีย ลำตัวอ้วน ป้อม จากนั้นก็ฉีดฮอร์โมนเพศเมีย ทำการฉีด 2 ครั้ง ซึ่งครั้งที่ 2 พัก ห่างจากครั้งที่ 1 ประมาณ 6 ชั่วโมง เพศผู้ ทำการฉีดเพียงครั้งเดียว โดย ฉีดพร้อมเพศเมีย เข็มที่ 2 แล้วก็นำพ่อแม่พันธุ์ที่ฉีดฮอร์โมนเรียบ ร้อย ปล่อยลงในถังเดียวกันเพื่อให้ผสมกันเองตามธรรมชาติ
ปลาหลดเพศเย 1 ตัว จะให้ไข่ได้ถึง 3,000 - 5,000 ฟอง ซึ่งจมติดวัตถุใน น้ำและฟักตัวในอุณหภูมิ 25-28 องศาเซลเซียส ใช้ระยะเวลา ประมาณ 48-60 ชั่วโมง หลังจากไข่ถูกฟักออกมาเป็นตัวแล้ว อาหารที่ให้ในระยะ การอนุบาลควรเป็นไรแดง เพราะมีการเจริญเติบโตและมีอัตราการรอดดีที่ สุด แล้วค่อยให้หนอนแดงหรือไส้เดือนเป็นอาหาร
ผ.ศ.หทัยรัตน์ กล่าวว่า ปลาหลดสามารถเลี้ยงได้ทั้งบ่อดินและบ่อ ซีเมนต์ ลักษณะของบ่อซีเมนต์ควรมีขนาด 4x4 เมตร หรือ 2x4 เมตร ความสูง ประมาณ 70 เซนติเมตร หรือเพียง 50 เซนติเมตร เพาะปลาหลดจะไม่กระโดด แต่ ถ้าสูงก็สามารถป้องกันงูและศัตรูอื่นๆ ได้ดี
ผิว บ่อฉาบเรียบ อาจทำให้ลาดเอียงประมาณครึ่งบ่อเพื่อใส่ทรายปนดินเหนียว ไว้ที่ก้นบ่อ ข้อดีของบ่อซีเมนต์คือสามารถควบคุมไม่ให้ปลาหนีได้ ซึ่งบ่อ ดินจะทำให้ปลาหลดหลบซ่อนตัวอยู่ในโคลน การจับขายค่อนข้างลำบาก ลูกปลา อายุ 2 สัปดาห์ ขึ้นไป หรือความยาว ประมาณ 3-4 นิ้ว จำนวน 2,000 - 2,500 ตัว สามารถปล่อยลงบ่อเพาะเลี้ยง ได้ แต่ถ้าจะให้ดีต้องอายุ 1 เดือน
\\\\\\\"ใน การเลี้ยงปลานั้น เราต้องมีการจัดการน้ำที่ดี ตรวจสอบคุณภาพ ของอย่างสม่ำเสมอ เนื่องจากเป็นปลากินเนื้อ น้ำจะเสียได้ง่าย ใช้วิธีเพิ่ม น้ำเข้าไปแล้วไหลออกอีกทางหนึ่ง ปลาจะมีความรู้สึกว่าน้ำไหลเวียน พื้นบ่อ ควรจะหากระบอกไม้ไผ่หรือท่อน้ำเก่าๆ ให้ปลาหลดชอบหลบอาศัยอยู่ในโพรงหรือ กระบอก ใส่ผักบุ้งไว้ส่วนหนึ่งไม่ต้องมากนัก ระดับความสูงของน้ำให้ท่วม บริเวณพื้นดินประมาณ 40 เซนติเมตร\\\\\\\" ปลาหลดจะโตเร็ว ใช้เวลา เพียง 6-7 เดือน ก็สามารถจำหน่ายได้แล้ว ซึ่งมีขนาดประมาณ 30-40 ตัว ต่อ กิโลกรัม หากเลี้ยงจนได้อายุ 1 ปี ก็สามารถใช้เป็นพ่อแม่พันธุ์ได้
สำหรับ อาหารที่ใช้ในเลี้ยงปลาหลดนั้น เหมือนกันกับเหยื่อของปลาไหล โดยมี หลักๆ ดังนี้ หอยเชอร์รี่ นำมาทุบแยกเปลือกและเนื้อออกจากกัน แล้วสับเนื้อ หอยให้ละเอียด นำไปวางไว้บริเวณชายพื้นรอยต่อระหว่างทรายกับผิวปูน ซีเมนต์ กองไว้ เมื่อเหยื่อเริ่มเน่าปลาหลดจะเข้ามากินหรืออาจกินตั้งแต่สดๆ
\\\"เราจะต้องคอยดูว่า ปลาหลดจะกินหมดในเวลา 2-3 วัน หรือไม่ ถ้าหมดควร เพิ่มให้อีก แต่ถ้าเหลือควรลดลง เวลาการให้อาหารควรระวัง คือต้องอย่าให้ เกิดการกระเทือน เพราะจะทำให้ปลาตกใจหนี\\\"
\\\"ในการประกอบ อาชีพเลี้ยงปลาชนิดทั่วๆ ไปนั้น ต้องมีต้นทุนในการซื้อ อาหารเม็ดสำเร็จรูป ในขณะที่อาหารปลาหลดเราหาได้เองตามธรรมชาติ เช่น หอยเชอ รี่ ซึ่งเป็นศัตรูทำลายต้นข้าวมีจำนวนมาก หากนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ ยัง ช่วยทำลายหอยเชอรี่โดยไม่ต้องใช้สารเคมีในการกำจัด อีกอย่างไส้เดือนก็หาได้ ทั่วไปได้เช่นกัน เมื่อเปรียบเทียบแล้วปลาชนิดอื่นขายขายได้ในราคาที่ ถูกกว่า ปลาหลดขายได้แพงกว่า แต่ต้นทุนต่ำกว่า เกษตรกรสามารถประกอบเป็น อาชีพเสริมได้อย่างดี \\\" ผศ.หทัยรัตน์ กล่าว

เลี้ยงไส้เดือนเป็นอาหารปลาหลด
ดัง ที่บอกแล้วว่า ปลาชนิดนี้ กินอาหารได้หลายชนิด ทำให้ ผศ.หทัย รัตน์ เกิดความคิดที่จะเพาะไส้เดือนมาให้ปลากิน จึงได้ไปอบรมการเพาะเลี้ยง ไส้เดือนที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
\"ไส้เดือน น่าจะเป็นอาหารที่ดีสำหรับการนำมาเลี้ยงปลาหลด เพราะตาม ธรรมชาติแล้วช่วงฤดูฝนเวลาเราจับปลาหลดได้ พอผ่าท้องออกมาก็จะพบไส้เดือน จำนวนมาก แสดงว่าไส้เดือนเป็นอาหารที่ปลาหลดชอบกิน\"
ผศ.หทัยรัตน์ กล่าวว่า ไส้เดือนนั้นเป็นอาหารที่มีโปรตีนสูง ถึง 60% ของ น้ำหนักตัว จะทำให้ปลาโตเร็ว สุขภาพแข็งแรง เกล็ดเป็นเงา งาม สามารถผลิตปลาหลดได้ทันต่อความต้องการในปัจจุบัน ซึ่งการเลี้ยง ไส้เดือนเพื่อเป็นอาหารของปลาหลดนั้น ข้อดีคือ ต้นทุนในการเลี้ยงน้อย มาก เพราะการเลี้ยงไส้เดือนใช้เพียง มูลช้าง วัว ควาย ขุย มะพร้าว กระดาษ เศษอาหาร ผลไม้เน่าเสีย เลี้ยงใน ภาชนะ เช่น ถัง กะละมัง ซึ่งอยู่ในที่ร่มและมีความชื้น ก็ทำให้ไส้เดือน สามารถเจริญเติบโตและขยายพันธุ์อย่างรวดเร็ว

ข้อดีของการเลี้ยงปลาหลดด้วยไส้เดือน
1. ไส้เดือนสามารถเพาะขยายพันธุ์ได้ปริมาณที่เพียงพอ ลงทุนต่ำ
2. ไส้เดือนเมื่องลงบ่อ จะอยู่ได้ถึง 1 วัน ไม่ตาย ปลาหลดจะจับกินได้อย่างต่อเนื่อง
3. ปลาหลด ชอบกินเหยื่อไส้เดือน

ปลาหลด เอาไปทำอาหารอะไรได้บ้าง
ปลา หลด ปลาที่มีความอร่อยอยู่ในตัว เมื่อถูกปรุงเป็นอาหารจึงสร้างความ โอชะได้มากยิ่งขึ้น ที่สำคัญต้องเลือกปลาสด จึงจะไม่มีกลิ่นคาวมาก เนื้อ มีรสหวาน สังเกตตาต้องใส ตัวปลามีเมื่อกลื่นมือ ถ้าปลาไม่สดเมือกจะขุ่น ขาว จับตัวปลาแล้วไม่ลื่น มีกลิ่นคาวแรง

ปลาตัว เล็กนิยมเอามาเคล้าเกลือตากแห้ง เป็นปลาแดดเดียว นำมาทอดกรอบได้ อร่อยนัก ถ้าได้ปลามาสดๆ เอามาทำต้มโคล้งต้องใส่เครื่องสมุนไพรสด พวก ข่า ตะไคร้เยอะๆ น้ำต้องเดือดจัดก่อนจึงใส่ปลา ต้มจึงจะไม่มีกลิ่นคาว อีก วิธีเมื่อล้างปลาแล้วเคล้าด้วยเกลือหมักไว้สักครู่ ล้างน้ำย่างไฟ พอหนัง ปลาเหลืองก็จะช่วยดับกลิ่นคาวได้ หรือนำปลาสดมาเคล้าเกลือ หรือแช่น้ำปลา แล้วนำไปทอดกินกับข้าวสวยร้อนๆ กับพริกน้ำปลาบีบมะนาวก็อร่อยเช่นกัน
นอก จากจะใช้ปรุงเป็นอาหารแล้ว ยังมีการนำไปเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม โชว์เป็น ปลาตู้อีก ขณะที่ปลาหลดว่ายจะดูสง่างาม ราคาจะยิ่งสูงขึ้นโดยเฉพาะตัวที่มี จุด จะตกอยู่ตัวละ 20-30 บาท และอีกอย่างการเอาไปทำเป็นเหยื่อล่อปลา จะ ใช้ปลาหลด ขนาด 3-4 นิ้ว ราคาตัวละ 3-4 บาท สามารถใช้เป็นเหยื่อล่อปลา ชะโด ปลาช่อน

ลักษณะทั่วไป

ปลาหลด ( Macronathus siamensis ) เป็นปลาน้ำจืดพื้นบ้านของไทยที่อาศัยอยู่ใน ห้วย หนอง คลอง บึง ตามแหล่งน้ำธรรมชาติ แพร่กระจายทั่วประเทศ เป็นปลาที่มีความอดทนสูง อาศัยในโคลนตมได้นาน ชอบอาศัยตามพื้นท้องน้ำ และฝังตัวอยู่ในทรายตอนกลางวัน มีนิสัยชอบหากินในเวลากลางคืนเป็นปลากินเนื้อ กินอาหารจำพวกตัวอ่อนแมลง หนอน ไส้เดือน สัตว์เล็กๆ และเศษเนื้อเน่าเปื่อย ปลาหลดมีรูปร่างคล้ายปลาไหล ปลายปากยื่นยาวและสามารถยืดหดได้ มีสีเทาและสีดำ ปากเล็ก ฟันเล็กและคม มีช่องเหงือกเปิดอยู่ใต้หัว

ปลาหลดเป็นที่นิยมรับประทานในรูปของปลาสด ตากแห้ง หรือทำเค็มโดยปกติจะมีการซื้อขายในตลาดเป็นจำนวนมากอยู่



ปัจจุบัน ปลาหลดที่มีจำหน่ายตามตลาดเป็นปลาหลดที่จับได้จากแหล่งน้ำธรรมชาติ ทำให้ปลาหลดเริ่มหายากมากขึ้น และมีราคาค่อนข้างสูงขึ้นกิโลกรัมละ 70 80 บาท (ตามท้องตลาดขายขีดละ 12 17 บาท) ในช่วงฤดูฝนจะหาซื้อได้ง่าย เมื่อพ้นระยะนี้ไปแล้วปลาหลดจะลดจำนวนลงเป็นอย่างมาก จะหาซื้อลำบาก ราคาค่อนข้างสูงโดยมีราคาประมาณ 120 200 บาท ด้วยเหตุดังกล่าว คณะผู้วิจัยจึงได้มีการศึกษาชีววิทยาของปลาหลดเป็นเบื้องต้น ศึกษาวิธีการสำหรับนำมาเพาะเลี้ยง หรือขยายพันธุ์ให้แพร่หลายยิ่งขึ้น เพื่อเป็นการเพิ่มพูนอาหารประเภทโปรตีน และยังเป็นรายได้แก่ผู้ประกอบการเลี้ยงปลาหรือจับปลาขายเป็นอาชีพอีกด้วย

โดย การส่งเสริมให้เกษตรกรสามารถทำการเพาะเลี้ยงปลาหลดได้อย่างมีประสิทธิภาพภาย ในชุมชนของเกษตรกรเองไม่ต้องเดินทางไปทำงานต่างถิ่น ช่วยให้สามารถมีรายได้และช่วยพัฒนาชุมชนที่อาศัยอยู่ ไม่ก่อให้เกิดปัญหาต่อชุมชน หรือชุมชนใกล้เคียงและทำให้ชุมชนมีความเข้มแข็ง ส่งผลให้ประเทศชาติมีการพัฒนาที่ดี
การเพาะพันธุ์

นำ ปลาหลดพ่อแม่พันธุ์ที่รวบรวมได้จากธรรมชาติ มาคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์ที่มีความสมบรูณ์พร้อมที่จะผสมพันธุ์ ซึ่งมีข้อสังเกตได้ในตัวเต็มไว ดังนี้ คือ เพศเมียมีลักษณะลำตัวอ้วนป้อม และโตกว่าเพศผู้ลักษณะแตกต่างที่เห็นได้ชัด คือ ในปลาเพศเมียจะมีติ่งเพศ เมื่อบีบท้องแรงๆ จะมีติ่งเพศยื่นออกมา ในปลาเพศผู้จะไม่มีลักษณะดังกล่าว ลักษณะของช่องเพศ ปลาเพศเมียเมื่อถึงฤดูผสมพันธุ์จะมีเยื่อวุ้นปกคลุมช่องเพศ ท้องจะอูมเป่งและนิ่ม ช่องเพศและติ่งเพศจะขยายตัวมีสีแดงเรื่อๆ เพศผู้ ถ้ากดเบาๆ ตรงส่วนท้อง จะมีน้ำเชื่อสีขาวไหลออกมา เมื่อคัดเพศแล้วทำการผสมพันธุ์ โดยการฉีดฮอร์โมนกระตุ้นการวางไข่ ดังนี้

เพศเมีย ทำการฉีด 2 ครั้ง

ครั้งที่ 1 ใช้ซุปรีแฟกค์ (Superfact) ความเข้มข้น 25 ไมโครกรัม/กิโลกรัม ร่วมกับโมทีเลี่ยม (Motilium) 10 มิลลิกรัม/กิโลกรัม พักไว้ 6 ชั่วโมง แล้วจึงฉีดเข็มที่ 2

ครั้งที่ 2 ใช้ซุปรีแฟกค์ความเข้มข้น 50 ไมโครกรัม/กิโลกรัม ร่วมกับโมทีเลี่ยม 10 มิลลิกรัม

/กิโลกรัม

เพศผู้ทำการฉีดเพียงครั้งเดียว

โดยฉีดพร้อมเพศเมีย เข็มที่ 2 โดยใช้ซุปรีแฟกค์ความเข้มข้น 20 ไมโครกรัม/กิโลกรัม ร่วมกับโมทีเลี่ยม 10 มิลลิกรัม/กิโลกรัม

นำ พ่อแม่พันธุ์ที่ฉีดฮอร์โมนเรียบร้อยแล้ว ปล่อยพ่อแม่พันธุ์ลงในถังเดียวกันเพื่อให้ผสมพันธุ์กันเองตามธรรมชาติ โดยมีพู่ฟางไว้สำหรับให้ไข่ติด และแยกพ่อแม่พันธุ์ปลาหลดออกในตอนเช้า และนำไข่ไปพักในบ่อฟักต่อไป ลูกปลาหลดจะฟักออกเป็นตัวภายใน 40 48 ชั่วโมง



การอนุบาลลูกปลาหลด

การ อนุบาลลูกปลาหลดมีผู้ศึกษาไว้น้อยมากและศึกษามานานแล้ว ผู้วิจัยได้ทำการศึกษาพบว่าอาหารที่เหมาะสมสำหรับการอนุบาลลูกปลาหลดที่อายุ 1 14 วัน ควรให้ไรแดงจะมีการเจริญเติบโตและมีอัตราการรอดดีที่สุด หลังจากนั้นจะให้ไรแดง หนองแดง หรือไส้เดือนเป็นอาหาร



การเลี้ยงปลาหลด

การเลี้ยงปลาหลดสามารถเลี้ยงได้ทั้งในบ่อดินและบ่อซีเมนต์ หากเลี้ยงในบ่อซีเมนต์ควรมีขนาด 4 x 4 เมตร ความสูงประมาณ 50 70 เซนติเมตร ผิวบ่อฉาบให้เรียบ และทำให้ลาดเอียง ปริมาณครึ่งบ่อเพื่อให้ทรายปนดินเหนียวไว้ก้นบ่อ ใส่ผักบุ้งไว้ส่วนหนึ่งไม่ต้องมากนัก ความสูงของน้ำให้ท่วมบริเวณดินทราย ประมาณ 40 เซนติเมตร ปล่อยปลาขนาดความยาว 3 4 นิ้ว จำนวน 2,000 2,500 ตัว ควรวางโพรงไม่ไผ่หรือท่อน้ำเก่าๆ ให้ปลาได้หลบอาศัยในการเลี้ยงในบ่อดิน ต้องมีการเตรียมบ่อที่ดีเช่นเดียวกับการเลี้ยงปลาชนิดอื่น อาจมีการกันบนขอบบ่อโดยการใช้มุ้งเขียวล้อมรอบไว้ อาหารในการเลี้ยง คือ หอยเชอรี่ นำมาทุบแล้วสับให้ละเอียดนำไปวางไว้บริเวณชายพื้นรอยต่อทรายกับปูนซีเมนต์ กองไว้ให้อาหาร 2 3 วัน เมื่อเหยื่อเริ่มเน่า ปลาหลดจะเข้ามากิน และอาจกินตั้งแต่สดๆได้ พิจารณาดูว่าปลากินเหยื่อหมดใน 2 3 วันหรือไม่

อาหารปลาหลด

จะให้เหยื่อในการเลี้ยงเช่นเดียวกับปลาไหล คือ เหยื่อหลักดังนี้

1. หอยเชอรี่ นำมาทุบแยกเปลือกเนื้อหอยแล้วสับให้ละเอียด นำมาวางไว้บริเวณชายพื้นรอยต่อทรายกับผิวปูนซีเมนต์ กองไว้ให้อาหาร 2 3 ครั้ง เมื่อเหยื่อเริ่มเน่าปลาหลดจะเข้ามากิน และอาจกินตั้งแต่สดๆ ได้ พิจารณาว่าปลาหลดกินเหยื่อหมดใน 2 3 วันหรือไม่ ถ้าหมดควรเพิ่มให้ ถ้าเหลือควรลดลง พยายามอย่ากระทบกระเทือนปลาจะตกใจหนี

2. ไส้เดือน จะเป็นอาหารที่ปลาหลดโปรดปรานมากที่สุด เมื่อนำไส้เดือนให้ จะให้ช่วงเย็น ค่ำ พอไส้เดือนเคลื่อนตัวตามผิวทราย ปลาหลด 1 ตัวจะกินไส้เดือน 1 2 ตัว ก็จะอิ่ม และมีลักษณะความสมบรูณ์ของตัวปลามาก เช่น ปลาจะอ้วน เกล็ดเป็นเงางาม

3. ระยะเวลาของการเลี้ยง ปลาหลดเป็นปลาที่จัดว่าโตเร็ว การเลี้ยงจะใช้เวลา 6 7 เดือน ก็จะได้ขนาดที่จำหน่ายประมาณ 30 40 ตัวต่อกิโลกรัม และอายุ 1 ปีขึ้นไปก็จะให้เป็นพ่อแม่พันธุ์ได้

การเลี้ยงหมูหลุม


การเลี้ยงหมูหลุมแบบเกษตรธรรมชาติ
       “หมูหลุม” เป็นภาษาชาวบ้านที่เรียกการเลี้ยงหมูแบบขุดหลุมลึก โดยมีวัสดุรองพื้นหลุม ดั้งเดิมมาจากประเทศเกาหลี มีแนวคิดตามหลักการของ “เกษตรกรรมธรรมชาติ” ซึ่งเป็นรูปแบบหนึ่งของระบบเกษตรกรรมยั่งยืน เป็นการเกษตรที่ไม่เพียงแต่คำนึงถึงผลผลิตจากการเกษตรเท่านั้น แต่มีปรัชญาแนวคิดอยู่เบื้องหลังของการทำงาน เป็นการพัฒนารูปแบบการเกษตรที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ความเป็นองค์รวมของระบบนิเวศน์ด้านการเกษตร วงจรชีวภาพห่วงโซ่อาหาร ดิน พืช สัตว์ จุลินทรีย์ พลังธรรมชาติหมุนเวียนจากพลังงานแสงแดด และน้ำ นำมาเป็นปัจจัยในการปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ที่เกื้อกูลซึ่งกันและกัน พืชที่ปลูกส่วนหนึ่งนำมาเลี้ยงสัตว์ สัตว์ถ่ายมูลออกมาก็นำปุ๋ยมูลสัตว์มาเพิ่มความอุดมสมบรูณ์ให้กับดินเพื่อการ ปลูกพืช รวมถึงด้านเศรษฐกิจและสังคมของท้องถิ่น และการพึ่งพาตนเองในด้านการผลิตและการบริโภคขนาดเล็กและขนาดกลาง ที่เหมาะสมกับทรัพยากร ภูมิปัญญาในท้องถิ่น และวัฒนธรรมที่มีในชุมชน โดยมีเป้าหมายเชิงนโยบายอยู่ที่การพัฒนาชนบท การฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาอย่างยั่งยืน การอยู่ดีกินดีของคนชนบท และสุขภาพของประชากร นำไปสู่การแก้ไขปัญหาความยากจนในที่สุด
ประโยชน์การเลี้ยงหมูหลุม
  • ลดต้นทุนค่าอาหารได้ถึง 50 - 70 เปอร์เซ็นต์ เนื่องจากเน้นการใช้วัตถุดิบในท้องถิ่น และการใช้พืชผักนานาชนิด มาใช้เลี้ยงหมูเป็นหลัก
  • ลดภาระการเลี้ยงหมูของเกษตรกรเนื่องจากไม่ต้องทำความสะอาดพื้นคอก
  • ลดมลภาวะของเสียจากการเลี้ยงหมู “ไม่มีกลิ่นเหม็น ไม่มีแมลงวัน” ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมในชุมชน
  • ได้ปุ๋ยอินทรีย์ สำหรับการปลูกพืช
การสร้างโรงเรือนหมูหลุม
  1. ควรสร้างบนที่ดอน น้ำท่วมไม่ถึง อากาศถ่ายเทได้สะดวก
  2. สร้าง โรงเรือนตามแนวทิศตะวันออก – ตะวันตก
  3. วัสดุการก่อสร้างโรงเรือน ควรเป็นวัสดุที่หาง่ายในท้องถิ่น ตั้งแต่โครงสร้างจนถึงหลังคา เช่นใช้ไม้ยูคาฯ สำหรับทำเสาและโครงหลังคา ใช้ไม้โครงไม้ไผ่ มุงหลังคาด้วยหญ้าคา แฝก จาก หรือกระเบื้อง
  4. พื้นที่สร้างคอกคำนวณ จาก จำนวนหมู 1 ตัวต่อพื้นที่ 1.5-2  ตารางเมตร 
  • คอกขนาด 2.5 x 3 เมตร เลี้ยงหมูได้ 4 ตัว
  • คอกขนาด 4 x 4 เมตร เลี้ยงหมูได้ 8 ตัว
ขั้นตอนการสร้างคอกหมูหลุม
  1. ขุดดินออกในส่วนพื้นที่จะสร้างคอก ลึก 90 เซ็นติเมตร
  2. ใช้อิฐบล็อกกั้นด้านข้างคอกเหนือขอบหลุมสูงประมาณ 20 เซ็นติเมตร เพื่อกั้นดิน และฝนสาดลงในหลุม
  3. ใส่วัสดุรองพื้นคอกลงไปในหลุม ซึ่งประกอบด้วย   
  • ขี้เลื่อย หรือแกลบ 100 ส่วน
  • ดินส่วนที่ขุดออก หรือปุ๋ยคอก 10 ส่วน
  • เกลือ 0.3 - 0.5 ส่วน
  • รำละเอียด 1 ส่วน
ขั้นตอนการเตรียมพื้นคอกหมูหลุม
       แบ่งความลึกของหลุมเป็น 3 ส่วน แต่ละส่วนมีความลึกประมาณ 30 เซนติเมตร ในแต่ละชั้น ให้เริ่มต้นจากการใส่แกลบหรือขี้เลื่อยลงไปก่อน ให้มีความสูงประมาณ 30 เซนติเมตร ตามด้วยดินที่ขุดหรือปุ๋ยคอก โรยทับด้วยรำละเอียดและเกลือ จากนั้นรดด้วยน้ำหมักชีวภาพให้มีความชื้นพอหมาด (ความชื้นประมาณ 70 เปอร์เซ็นต์) ถ้าจะให้ผลดีต่อประสิทธิภาพการย่อยสลายวัสดุรองพื้นคอก ควรโรยดินที่มีเชื้อราขาวบาง ๆ (เชื้อไตรโครเดอร์มา) ในแต่ละชั้น ทำจนครบ 3 ชั้น ในชั้นสุดท้าย ให้แกลบหรือขี้เลื่อยสูงเพียง 20 เซนติเมตร เพราะชั้นบนสุดโรยแกลบปิดหน้าหนา 1 ฝ่ามือ ทิ้งไว้ประมาณ 7 วัน จึงนำหมูมาเลี้ยง
พันธุ์สุกร             
       ควรใช้สุกร 3 สายเลือดจากฟาร์มที่เชื่อถือได้ และคัดสายพันธุ์มาสำหรับการเลี้ยงแบบปล่อยได้ดี ลูกสุกรขุนหย่านมแล้ว อายุประมาณ 1 - 2 เดือน น้ำหนักประมาณ 15-20 กิโลกรัม
การจัดการเลี้ยงดู
  1. การนำลูกหมูมาเลี้ยง ควรมีน้ำหนัก ตั้งแต่ 15 – 20 กิโลกรัม
  2. ในช่วงเดือนแรกให้ใช้อาหารเม็ดหมูอ่อนก่อนหลังจากนั้นค่อยเปลี่ยน เป็นอาหารผสมพวกรำ –ปลายข้าว และผสมพืชหมัก เศษผักหรือผักต่าง ๆ ในท้องถิ่น
  3. น้ำดื่มใช้น้ำหมักสมุนไพร,น้ำหมักผลไม้,อัตรา 2 ช้อนโต๊ะต่อน้ำ 10 ลิตร
  4. ใช้น้ำหมักชีวภาพรดพื้นคอก สัปดาห์ละครั้งเพื่อช่วยลดกลิ่น
  5. หากขี้เลื่อยหรือแกลบภายในหลุมยุบตัวลง ให้เติมเข้าไปใหม่จนเสมอปากหลุม
การให้อาหาร
       ในช่วงหมูเล็ก(หลังจากหย่านมจนถึงน้ำหนัก 30 กิโลกรัม) จะใช้อาหารเม็ดของอาหารหมูอ่อน หรืออาจจะผสมอาหารหมูเล็กเอง(อาหารข้น) ซึ่งประกอบด้วยรำอ่อน ปลายข้าว กากถั่วเหลืองและ ปลาป่น หรือใช้น้ำปลาหมักหรือน้ำหอยเชอร์รี่หมักแทนปลาป่นก็ได้ โดยนำไปผสมกับอาหารข้นในตอนที่จะให้หมูกินอาหาร เมื่อหมูน้ำหนัก 30 กิโลกรัมขึ้นไป จะให้รำ ปลายข้าว ผสมกับพืชหมัก ซึ่งพืชหมักคือ การนำเอาผักต่าง ๆ ต้นกล้วย ต้นถั่วเขียว กระถิน หรือหญ้าขน หญ้าเนเปียร์ มาหมักเป็นเวลา 7วัน และผสมกับปลาหมัก หรือหอยเชอร์รี่หมักเพื่อเป็นแหล่งโปรตีนและแร่ธาตุให้กับหมู แทนปลาป่น ด้านน้ำดื่มจะใช้สมุนไพรชนิดต่าง ๆ มาหมัก เพื่อให้หมูกินตลอดเวลา การทำน้ำหมักชีวภาพจะทำมาจากส่วนผสม บอระเพ็ด ตะโกส้ม สาบเสือ ตะไคร้หอม และมะกรูด ช่วยดับกลิ่น และช่วยบำรุงสุขภาพของหมู จะมีการราดน้ำหมัก และกลบปุ๋ยคอก อาทิตย์ละ 1 ครั้ง  
       การเลี้ยงหมู 1 ชุด (5 ตัว) จะให้ปุ๋ยประมาณ 2,500 กิโลกรัม ทำให้เกษตรกรมีปุ๋ยคอกไปใส่นาข้าว การเลี้ยงหมูชีวภาพจะใช้เวลาเลี้ยงประมาณ 4 เดือน  ได้น้ำหนักประมาณ 100  กก.
วิธีการทำอาหารหมักหมูหลุม
  1. ใช้ต้นกล้วย หรือหญ้า นำมาสับให้เป็นชิ้นเล็กๆ
  2. ผสมกับน้ำตาล ทรายแดง โดยใช้อัตราส่วน น้ำตาล 1 กิโลกรัมต่อต้นกล้วย หรือหญ้าสับ 25 กิโลกรัม และเกลือ 2.5 ขีด คลุกเคล้าให้ เข้ากันดี(หรือ ๑๐๐-๔-๑)
  3. ใส่ ใน ถัง-โอ่งหมัก  ปิดด้วยกระดาษ หรือถุงปุ๋ยที่อากาศถ่ายเทได้ หมักทิ้งไว้ในที่ร่ม 4-5 วัน
การนำอาหารหมักมาใช้เลี้ยงหมู
       การนำอาหารหมัก โดยเฉพาะพืชหมัก ซึ่งเป็นอาหารเยื่อใยที่ตามปกติหมูจะย่อยได้น้อย แต่การนำมาหมักจะช่วยให้หมูใช้ประโยชน์จากพืชหมักได้มากยิ่งขึ้น แต่อย่างไรก็ตามการนำไปใช้เลี้ยงหมูควรคำนึงถึงอายุของหมูด้วย โดยมีหลักการใช้อาหารหมัก ดังนี้
  • หมูรุ่น (น้ำหนัก 30 – 60 กก.)
ใช้อาหารผสม 2 ส่วน ผสมอาหารหมัก 1 ส่วน ให้กินวันละ 2-3 กก. ต่อวัน
  • หมูขุน (น้ำหนัก 60 – 100 กก.)
ใช้อาหารผสม 1 ส่วน ผสมอาหารหมัก 1 ส่วน ให้กินวันละ 4-6 กก. ต่อวัน
  • แม่หมูอุ้มท้อง
ใช้อาหารผสม 1 ส่วน ผสมอาหารหมัก 2 ส่วน ให้กินวันละ 3-4 กก. ต่อวัน

การทำน้ำหมักสมุนไพร
       น้ำหมักสมุนไพรที่นำมาผสมในน้ำดื่ม จะช่วยลดกลิ่นมูลของหมูได้เป็นอย่างดี โดยทำให้การเลี้ยงหมู ไม่มีกลิ่นเหม็น และไม่มีแมลงวัน
วิธีการทำ
  1. ใช้สมุนไพร เช่น ตะไคร้ ใบมะกรูด ข่า ขมิ้น บอระเพ็ด และใบเตย นำสมุนไพรทั้งหมดมาสับเป็นชิ้นเล็กๆ
  2. นำสมุนไพร 1 กิโลกรัม ผสมกับน้ำตาลทรายแดง 1 กิโลกรัม หมักใส่ในถังพลาสติกหรือไห
  3. ปิดด้วยกระดาษ หมักทิ้งไว้อย่างน้อย 1 เดือน
การนำมาใช้
         ใช้น้ำหมักสมุนไพร 2 ช้อนโต๊ะ ผสมน้ำสะอาด 10 ลิตร นอกจากนี้ยังสามารถนำไปรดพื้นคอกเพื่อลดกลิ่น โดยใช้น้ำหมัก สมุนไพร 3-4 ช้อนโต๊ะ ต่อน้ำ 20 ลิตร

วันจันทร์ที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2554

การปลูกและการดูแลรักษามะละกอพันธุ์ฮอลแลนด์

การปลูกและการดูแลรักษามะละกอพันธุ์ฮอลแลนด์

มะละกอเป็นผลไม้ยืนต้น ที่คนไทยนิยมรับประทานกันอย่างแพร่หลาย ทั้งมะละกอดิบเมนูที่นิยมกันมากก็คือ ส้มตำ ส่วนมะละกอสุก ก็สามารถนำไปรับประทานสดเพื่อสุขภาพ หรือแปรรูปในลักษณะต่างๆ ที่เป็นการสร้างมูลค่าเพิ่ม  ในส่วนของการปลูกมะละกอนั้นสามารถทำได้แต่ต้องใช้ความอดทนและการเรียนรู้ตลอด อย่างเช่น คุณสมศักดิ์  ม่วงพานิช เกษตรกรผู้ปลูกมะละกอพันธุ์ฮอลแลนด์และพันธุ์แขกดำ ที่สามารถสร้างรายได้ให้กับตนเองและครอบครัวเป็นอย่างดี ซึ่งมีรายละเอียดการปลูกและการดูแล ดังนี้




การปลูกมะละกอฮอลแลนด์ : นิยมปลูกโดยวิธีการเพาะเมล็ดแล้วย้ายกล้าลงแปลงปลูก เมื่อต้นกล้ามีอายุได้ประมาณ 1 เดือน



วิธีการเพาะเมล็ด :




1. นำเมล็ดมะละกอแช่น้ำ 3 คืน โดยเปลี่ยนน้ำที่แช่บ่อยๆ อย่างน้อยวันละ 3 ครั้ง

2. นำเมล็ดมะละกอมาเพาะในถุงดินที่เตรียมไว้โดยให้ใส่ 3-4 เมล็ด/ถุง

3. รดน้ำให้ชุ่ม ประมาณ 9-10 วัน เมล็ดก็จะงอก

4. ทำการรดน้ำพอชุ่มวันละ 1 ครั้ง



ขั้นตอนการเตรียมดินและปลูกมะละกอ :



1. ทำการเตรียมพื้นที่ โดยการไถ ทำการตากดินไว้ประมาณ 5 วัน




2. ขุดหลุมลึกประมาณ 30ซม.ระยะห่างระหว่างต้นประมาณ 2.5X 2.5 เมตร 1 ไร่ จะปลูกได้ ราว 250 ต้น และรองก้นหลุมด้วยปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยอินทรีย์



3. นำต้นมะละกอปลูกในหลุม กลบดินให้แน่น



การดูแลรักษา :



1. รดน้ำพอชุ่ม



2. ใส่ปุ๋ยสูตรผสม12-15-20 โดยระยะการให้ปุ๋ยคือ 1 เดือน/ครั้ง




3. หลังจากที่ลงปลูกมะละกอไปได้ประมาณ 3 เดือน มะละกอทั้ง 3 ต้นที่อยู่ในหลุมเดียวกันจะเริ่มออกดอก ให้ทำการตัดต้นที่เป็นตัวผู้และตัวเมียทิ้ง เหลือไว้แต่ “ต้นกะเทย” เนื่องจากต้นกะเทยจะให้ผลที่ดก และลูกมะละกอที่ออกมาจะยาวสวย เนื้อหนากว่าต้นที่เป็นตัวเมียและตัวผู้ โดยการสังเกตต้นกะเทยนั้นก็ให้ทำการแหวกกลีบดอกดู ถ้าต้นไหนที่มีทั้งเกสรตัวเมียและตัวผู้อยู่ในดอกเดียวกัน



4. หลังจากต้นมะละกออายุได้ 8 เดือนไปแล้ว ก็จะสามารถเก็บผลขายได้ทุกสัปดาห์ ไปจน 3 ปี ต้นมะละกอจึงจะหมดอายุ ไม่สามารถให้ผลผลิตได้ ต้องตัดทิ้ง ปลูกใหม่






-------------------------------------- @ ^ - ^ @ -----------------------------------------

แหล่งข้อมูล : นายสมศักดิ์ ม่วงพานิช บ้านน้ำตกชุมแสง ม.1 ต. จปร. อ.กระบุรี จ.ระนอง



ที่มา : ศูนย์ทางด่วนข้อมูลการเกษตร *1677

สถานีวิทยุร่วมด้วยช่วยกัน จ.ชุมพร
เกร็ดเพิ่มเติม :



- มะละกอฮอลแลนด์จะให้ผลผลิต เฉลี่ยไม่น้อยกว่า 100 กก. ต่อ ต้น ตลอดอายุการเพาะปลูก




- ราคาผลผลิตที่ขายได้จะอยู่ที่ 8-16 บาท ต่อ กิโลกรัม



- ราคาเมล็ดพันธุ์ กิโลกรัมละประมาณ 1,000 บาท เมล็ดพันธุ์ 1 กิโลกรัม สามารถนำมาขยายพันธุ์ปลูกได้ประมาณ 50 ไร่



- หลังย้ายปลูก 9 เดือนก็สามารถเก็บผลสุกมะละกอจำหน่ายได้ โดยสังเกตดูที่ผลหากมีแต้มปรากฏอยู่บนผล 2-3 แต้มก็สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้



- สภาพอากาศร้อนจะมีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนดอกกระเทยให้กลายเป็นดอกตัวเมีย และถ้ามีอากาศร้อนมาก ๆ จะทำให้มะละกอไม่ติดดอกได้ จึงควรให้มีความชื้นอย่างเพียงพอในช่วงที่มีอากาศร้อนจัด



- มะละกอจะมีราคาแพงขึ้นในช่วงเดือนสิงหาคม-กันยายน


ลักษณะประจำพันธุ์ของมะละกอฮอลแลนด์ :



มะละกอฮอลแลนด์ ลำต้นใหญ่สีเขียว ใบมี 11 แฉกใหญ่ กลางใบมีกระโดงใบ 1 ใบ ก้านใบมีสีเขียวตั้งขึ้น ดอกออก เป็นช่อ ติดผลดก รูปทรงกระบอกคล้ายลูกฟักอ่อน อายุ เก็บเกี่ยว 8 เดือน น้ำหนักผลประมาณ 800-2,000 กรัม ต่อผล เนื้อสีแดงอมส้ม ไม่เละ เนื้อหนา 2.5-3.0 เซนติเมตร ความหวานวัดได้ 11-13 องศาบริกซ์ ผลผลิตต่อต้น 60-80 กิโลกรัม จุดเด่นที่มองออกง่ายมากว่าผลมะละกอฮอลแลนด์เป็นอย่างไรนั้น ที่ปลายผลจะป้านคล้ายผลฟักอ่อน [ที่มา : www.kasetporpeang.com/holland_papaya.htm]




ลักษณะเด่นของมะละกอฮอลลแลนด์ คือ ไม่มีกลิ่นยาง เนื้อหนา รสหวาน เปลือกหนา ทนทานต่อโรค ทนทานต่อการขนส่งให้ผลดก เนื้อแน่นแข็ง น้ำหนักดี รสชาติหวาน ทนทานต่อโรค มีตลาดรองรับ มะละกอพันธุ์นี้มีอายุเก็บเกี่ยว 8 เดือน น้ำหนักผลอยู่ที่ประมาณ 0.8-1.2 กก.ต่อผล เนื้อมีสีแดงอมส้ม ไม่เละ เนื้อหนา 2.5-3.0 เซนติเมตร ผลผลิตต่อต้น 60-80 กิโลกรัม มะละกอพันธุ์ฮอลแลนด์นี้สามารถปลูกได้เกือบทุกสภาพพื้นที่ ยกเว้นพื้นที่น้ำขัง ดินที่เหมาะสมควรเป็นดินเหนียวปนทราย




สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการเพาะปลูกมะละกอฮอลแลนด์ :





สามารถปลูกได้ทุกสภาพพื้นที่ ยกเว้นพื้นที่น้ำขัง ดินที่ เหมาะสมมีความเป็นกรดเป็นด่าง 5.5-5.0 ระยะปลูก 2.5x3 เมตร ไร่หนึ่งปลูกได้ 224 ต้น หากปลูกแล้ว ให้น้ำสม่ำเสมอ มะละกอจะให้ผลผลิตที่ดีมาก ปุ๋ยที่ใส่ให้ เริ่มต้นที่ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก สำหรับปุ๋ยวิทยาศาสตร์ใช้ สูตร 15-15-15 ระยะที่ติดผลอ่อน ก่อนการเก็บเกี่ยวใส่ สูตร 13-13-21 ใส่รอบๆ ต้น จำนวน 1 ช้อนโต๊ะ ต่อต้น เมื่อปลูกได้ 7-8 เดือน มะละกอฮอลแลนด์จะสุกแก่ เริ่มเก็บได้ ปริมาณผลผลิต หากดูแลปานกลาง จะได้ผลผลิตราว 5-8 ตัน ต่อไร่




วิธีการเก็บเกี่ยว เลือกเก็บเฉพาะผลที่สุก 5-10 เปอร์เซ็นต์ คือ ผิวมีแต้มสีเหลืองเล็กน้อย[ที่มา : www.kasetporpeang.com/holland_papaya.htm]



การปลูกไผ่เลี้ยง

 
ฤดูปลูก
ฤดูที่เหมาะสม ควรปลูกช่วงต้นฤดูฝน หรือราวเดือนพฤษภาคมถึงตุลาคม

เตรียมพื้นที่
พื้นที่จะปลูกควรตัดโค่นไม้ใหญ่ออก เพราะจะไปแย่งอาหารจากไผ่เลี้ยง ถ้าได้พื้นที่ใกล้แหล่งน้ำจะดีมาก เพราะไผ่เลี้ยงหวานเป็นพืชที่ต้องการน้ำมาก แต่ไม่ชอบน้ำขัง เริ่มโดยการไถดะ ไถพรวน ตากดินไว้สัก 7- 10 วัน เพื่อฆ่าเชื้อ แล้วขุดหลุมขนาด 30 x 30 x 30 เซนติเมตร ระยะห่างระหว่างหลุมขึ้นอยู่กับเกษตรกรต้องการดังนี้

  • 2 x 2 เมตร จะใช้ต้นพันธ์ 400 ต้นต่อไร่
  • 2.5 x 2.5  เมตร จะใช้ต้นพันธ์ 256 ต้นต่อไร่
  • 3 x 3  เมตร จะใช้ต้นพันธ์ 178 ต้นต่อไร่
  • 3.5 x 3.5  เมตร จะใช้ต้นพันธ์ 131 ต้นต่อไร่
  • 4 x 4  เมตร จะใช้ต้นพันธ์ 100 ต้นต่อไร่
  • 5 x 5  เมตร จะใช้ต้นพันธ์ 64 ต้นต่อไร่
วิธีปลูก
รองก้นหลุมด้วยดินที่ขุดขึ้นมาคลุกเคล้ากับปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก แล้วนำต้นกล้าไผ่เลี้ยงลงวาง ฉีกถุงพลาสติกออก กลบดินจนพูนเมื่อดินยุบตัวแล้วจะเสมอกับพื้นที่ปลูกพอดี

การขยายพันธุ์
ไม้ไผ่เลี้ยงสามารถขยายพันธุ์ได้ทั้งแบบอาศัยเพศ และไม่อาศัยเพศ ส่วนวิธีที่เหมาะสมนั้นขึ้นอยู่กับชนิด พันธุ์ และรูปแบบของการเจริญเติบโต สำหรับวิธีการขยายพันธุ์ที่นิยมทำกันโดยทั่วไปนั้นมีอยู่ 5 วิธี คือ

สำหรับผู้ที่ทำงานประจำต้องหันมาหาทางลดค่าใช้จ่ายของครอบครัว ต้องอยู่กันอย่างประหยัดมากขึ้น
- การขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด
ไผ่เลี้ยงส่วนใหญ่ในประเทศไทยจะมีการออกดอกราวๆ เดือนพฤศจิกายนถึงเดือนกุมภาพันธ์ และเมล็ดเริ่มแก่เต็มที่จนร่วงหล่นลงสู่พื้นดินราวเดือนกุมภาพันธ์ถึงเมษายน ปกติแล้วไม่นิยมเก็บเมล็ดไผ่เลี้ยงที่แก่ติดกับกิ่ง เพราะส่วนใหญ่เมล็ดจะไม่แก่เต็มที่ เมื่อนำไปเพาะแล้วอาจทำให้เปอร์เซ็นต์การงอกน้อยหรือเพาะไม่งอกได้ เมื่อเก็บเมล็ดได้แล้วควรนำไปผึ่งแดดไว้ประมาณ 2 – 3 วัน เพื่อให้เมล็ดที่ติดอยู่กับก้านหลุดร่วงออกและเพื่อลดความชื้นของเมล็ด จากนั้นจึงทำความสะอาดเมล็ดโดยใช้กระด้งฝัดร่อนเอาเปลือกออก เมล็ดลีบออกเสียให้หมด คงเหลือแต่เฉพาะเมล็ดดีเท่านั้น เมล็ดไผ่เลี้ยงที่ได้หากนำไปเพาะในช่วงนี้จะให้เปอร์เซ็นต์การงอกสูง แต่ถ้าหากต้องการเก็บรักษาควรนำไปบรรจุลงในถุงพลาสติกเสียก่อน แล้วเก็บไว้ในที่อุณหภูมิ 2-7 องศาเซลเซียส จะทำให้สามารถเก็บเมล็ดไว้ได้นาน 2-3 ปี โดยที่เมล็ดไม่เสีย ส่วนการเก็บเมล็ดไว้ในที่อุณหภูมิห้องปกติจะทำให้เมล็ดสูญเสียความมีชีวิต ภายในเวลา 6-7 เดือน

- การขยายพันธุ์โดยใช้ส่วนของตอหรือเหง้า (การแยกกอ)
วิธีนี้ใช้ได้ผลกับไผ่ทุกชนิด โดยเฉพาะไม้ไผ่ที่มีโคนลำค่อนข้างหนา เช่น ไผ่รวก ไผ่เลี้ยง ไผ่หางช้าง อายุของเหง้าที่สามารถผลิตหน่อใหม่ได้ดีคือ เหง้าที่มีอายุ  1 – 2 ปี เนื่องจากตาของเหง้าที่มีอายุมากกว่านี้มักอ่อนแอไม่แข็งแรง การตัดควรตัดให้ตอสูงประมาณ 50 – 80 เซนติเมตร ทำการขุดเหง้าออกจากกอแม่เดิมโดยระวังอย่าให้ตาที่เหง้าเสียหายได้ เพราะตานี้จะแตกเป็นหน่อใหม่ต่อไป วิธีนี้ให้หน่อที่แข็งแรงและได้หน่อเร็วกว่าการขยายพันธุ์โดยการใช้กิ่งแขนง หรือลำ ทั้งยังเป็นวิธีการที่ทำให้ได้ต้นตรงตามสายพันธุ์เดิมมากที่สุด แต่ก็ยังเป็นวิธีที่ไม่นิยมนัก เนื่องจากสิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย ลำบากในการขนย้าย เสียเวลาและแรงงานมาก และไม่สามารถขยายพันธุ์เป็นปริมาณมากๆ ในระยะสั้น ได้ เพราะเมื่อทำการขุดแยกกอมากเกินไป อาจทำให้กอเดิมได้รับอันตราย

- การขยายพันธุ์โดยการใช้ปล้อง กิ่งตัด หรือใช้ลำ
การขยายพันธุ์วิธีนี้นิยมใช้กับไม้ไผ่ชนิดที่ไม่ค่อยออกเมล็ด และเป็นไม้ไผ่ที่มีลำค่อนข้างใหญ่ เช่น ไผ่สีสุก ไผ่เหลือง ไผ่ป่า ไผ่ซางดำ เป็นต้น โดยทำการคัดเลือกลำที่มีอายุประมาณ 1-2 ปี เมื่อได้ลำที่ต้องการแล้ว นำมาตัดเป็นท่อนๆ โดยให้แต่ละท่อนมี 1-2 ข้อ ดังวิธีต่อไปนี้

ท่อนที่ใช้ 1 ข้อ จะตัดตรงกลางไม้ไผ่ให้ข้ออยู่ตรงกลาง ตัดให้ห่างจากข้อประมาณ 1 คืบ แล้วนำไปชำในแปลงเพาะชำ ให้ตาหงายขึ้น โดยระวังอย่าให้ตาเป็นอันตราย การชำควรให้ข้ออยู่ระดับดิน แล้วใส่น้ำลงในปล้องที่เหลือเหนือดินหรือวัสดุเพาะชำให้เต็ม
ท่อนที่ใช้ 2 ข้อ เมื่อทำการตัดให้มี 2 ข้อ แล้วเจาะรูตรงกึ่งกลางปล้องเพื่อหล่อน้ำ ทำการริดกิ่งที่ข้อโดยตัดออกให้เหลือเพียง 2 – 3 นิ้ว ระวังอย่าให้ตาที่ข้อปล้องแตกหัก นำไปวางในแปลงชำ โดยฝังลงดินหรือวัสดุเพาะชำประมาณครึ่งของลำ หรือใช้ดินกลบข้อให้มิด เหลือไว้เฉพาะที่น้ำหล่อเท่านั้น
การเพาะชำโดยวิธีการใช้ลำ สามารถชำในแปลงเพาะ ควรทำการปรับหน้าดินในกรณีที่เป็นที่ดอนที่น้ำท่วมไม่ถึง แต่ถ้าพื้นที่ลุ่มควรทำการยกร่องเพื่อมีการระบายน้ำดี หลังจากนั้นจึงทำการย่อยดิน ตากดินทิ้งไว้ 1-2 สัปดาห์หรือมากกว่านั้น ทำหลังคาทางมะพร้าวหรือบังแดด เมื่อชำเสร็จแล้วควรรดน้ำให้ชุ่มทันที หมั่นดูแลรดน้ำทุกวัน หรือวันเว้นวัน หลังจากนั้นประมาณ 2-4 สัปดาห์ จะพบหน่อและรากแตกออกมา ประมาณ 1-2 เดือน จึงทำการเลื่อยลำเก่าออก แล้วจึงย้ายถุงพลาสติกขนาดประมาณ 5 x 8 นิ้ว เพื่อให้สะดวกในการขนย้ายปลูก เมื่อต้นกล้าเจริญเต็มที่จึงค่อยๆ เปิดหลังคาที่คลุมไว้ออก จนกระทั่งสามารถเจริญได้ดีในที่กลางแจ้ง หลังจากนั้นประมาณ 6-8 เดือน กล้าไม้จะแกร่งเต็มที่ จึงทำการย้ายปลูกได้ อย่างไรก็ตามวิธีนี้ก็ยังไม่ค่อยนิยามากนัก เพราะใช้เวลาและเสียค่าใช้จ่ายมากกว่าวิธีใช้กิ่งแขนง และต้องตัดลำอายุ 1 ปี ซึ่งเป็นลำแม่ที่ควรเลี้ยงเอาไว้ เพื่อให้หน่อใหม่ในปีถัดไป นอกจากนั้นยังนิยมเก็บลำไว้ขายเพื่อประโยชน์อย่างอื่นด้วย
- การขยายพันธุ์โดยการใช้กิ่งแขนง
กิ่งแขนง คือกิ่งที่แตกจากตาบริเวณข้อต่อของลำ การขยายพันธุ์วิธีนี้เป็นที่นิยมกันมากที่สุดเพราะสะดวกรวดเร็วและสามารถตัด ชำกิ่งแขนงได้มาก ความสำเร็จในการปักชำโดยใช้กิ่งแขนงขึ้นอยู่กับชนิดของไม้ไผ่ หากเป็นไม้ไผ่ที่มีรากอากาศบริเวณโคนกิ่ง เช่น ไผ่ตง จะมีความสำเร็จสูง และยังขึ้นอยู่กับการเลือกกิ่งแขนง คือ ปลายฤดูฝนช่วงเดือนกันยายนถึงตุลาคม ไปจนถึงเดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งเป็นช่วงที่มีกิ่งแขนงมาก การเลือกกิ่งแขนงควรเลือกกิ่งที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 นิ้วถึงนิ้วครึ่ง ที่มีรากอากาศเป็นสีน้ำตาลหรือน้ำตาลอมเหลือง แล้วใบที่ยอดคลี่แล้ว กาบหุ้มตาหลุดหมด อายุของกิ่งแขนงอย่างน้อย 4-6 เดือน ถ้าค้างปียิ่งดี เมื่อเลือกกิ่งแขนงได้ตามความต้องการแล้ว ตัดปลายกิ่งออก ให้กิ่งแขนงที่จะปักชำยาวประมาณ 80 – 100 เซนติเมตร มีข้อติดอยู่ 3-4 ข้อ ควรใช้ฟางข้าวหรือกระสอบคลุมกิ่งแขนงไว้ พรมน้ำให้ชุ่มเพื่อเป็นการบ่มและกระตุ้นตารากและตายอดที่อยู่บริเวณโคนกิ่ง ซึงเมื่อบ่มตาไว้ประมาณ 2-3 วัน จะสามารถสังเกตเห็นปุ่มสีขาวบริเวณโคนกิ่งได้ ปุ่มดังกล่าวจะเจริญเป็นรากต่อไป ในบางกิ่งอาจเห็นตายอดเกิดการขยายตัวพร้อมที่จะแทงยอดด้วย การบ่มตาทำให้สามารถคัดเลือกกิ่งแขนงที่มีคุณภาพได้ ทำให้การปักชำมีประสิทธิภาพและมีการรอดตายสูง

การชำกิ่งแขนงไม้ไผ่อาจชำในถุงพลาสติกโดย ตรง หรือชำในแปลงเพาะชำแล้วจึงย้ายลงถุงภายหลัง แต่การปักชำกิ่งแขนงเพื่อการค้าในปัจจุบันนิยมชำในถุงพลาสติกโดยตรงตั้งแต่ แรกเพื่อป้องกันการกระทบกระเทือนขณะย้ายชำกล้าและสะดวกในการขนย้ายไปปลูกตาม ที่ต่างๆ ปกตินิยมใช้ถุงขนาด 5 x 8 นิ้ว ก่อนทำการปักชำควรมีการเตรียมดินที่จะนำมาใช้เป็นวัสดุเพาะชำ โดยทำการย่อยดินและผสมดินกับขี้เถ้าแปลบในอัตราส่วน 1 ต่อ 1 โดยประมาณ แล้วตากดินทิ้งไว้ 1-2 สัปดาห์ หรือมากกว่านั้น หลังจากนำกิ่งลงถุงแล้วควรกดดินให้แน่น รดน้ำทันทีเพื่อให้กิ่งชำสดอยู่เสมอ หลังจากนั้นหมั่นดูแลรดน้ำทุกวันหรือวันเว้นวัน จนกระทั่งกิ่งแขนงที่ชำไว้แตกใบและราก ใช้เวลาอีกประมาณ 6 เดือน ก็ย้ายไปปลูกในแปลงได้ ก่อนทำการย้ายปลูกควรนำกล้าไม้ออกวางกลางแจ้งเป็นเวลา 1-2 เดือน เพื่อให้กล้าแกร่งเต็มที่ โดยปกติชาวสวนไผ่ตงมักทำการชำกิ่งแขนงในปลายฤดูฝนแล้วปลูกในต้นฤดูฝนปีถัดไป ซึ่งจะให้เวลาประมาณ 8 เดือน วิธีนี้ทำให้ได้กิ่งพันธุ์ที่แข็งแรงและเปอร์เซ็นต์การรอดตายสูง
- การขยายพันธุ์โดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
การเลี้ยงเนื้อเยื่อไม้ไผ่มีวัตถุประสงค์ในการผลิตกล้าไผ่จำนวนมากในระยะ เวลาสั้น โดยมุ่งเน้นในการขยายพันธุ์ไม้ไผ่ที่ผลิตเมล็ดจำนวนน้อยหรือไม่สามารถผลิต เมล็ดได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งไม้ไผ่เศรษฐกิจ เช่น ไผ่ตง และ ไผ่เลี้ยง อย่างไรก็ดีมีผู้ศึกษาการเลี้ยงเนื้อเยื่อไม้ไผ่ไว้หลายชนิด โดยเลี้ยงส่วนของคัพภะ ส่วนของใบอ่อนและส่วนของกิ่งอ่อนที่มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 1-3 มิลลิเมตร ซึ่งถือว่าไม้ไผ่เป็นพืชชนิดหนึ่งที่ประสบความสำเร็จในการขยายพันธุ์โดยวิธี นี้ หลังจากที่ได้กล้าไผ่จากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อแล้วสามารถปฏิบัติต่อกล้า เช่นเดียวกับกล้าที่ได้จากการเพาะเมล็ด เนื่องจากมีขนาดใกล้เคียงกัน

การดูแลรักษา
ควรทำการบำรุงรักษาให้เหมาะสมเพื่อให้ได้รับผลผลิตอย่างสม่ำเสมอ ดังนี้

1. การให้น้ำ
ปกติจะปลูกไผ่กันในฤดูฝนอยู่แล้ว เพราะประหยัดน้ำได้มาก อาจจะไม่ต้องให้น้ำเลยก็ได้ นอกจากฝนเกิดทิ้งช่วงนานๆ จึงให้น้ำช่วย แต่หลังจากหมดฝนแล้ว ผู้ปลูกต้องคอยรดน้ำให้เสมออย่าปล่อยให้ขาดน้ำนานๆ เพราะไผ่ในปีแรกนี้ยังไม่ค่อยแข็งแรงนัก อาจตายได้โดยง่าย หลังจากอายุเกิน 1 ปี ไปแล้ว ต้นไผ่จะแข็งแรงและทนต่อสภาพแห้งแล้งได้ดีขึ้น

2. การใส่ปุ๋ย
ในช่วงปีแรก ไผ่สามารถใช้ปุ๋ยที่คลุกเคล้าไปกับดินปลูกได้พอ ในระยะปีต่อๆ ไป จำเป็นต้องมีการไถพรวนและใส่ปุ๋ย ในระยะนี้อาจจะเห็นว่าหน่อที่แตกจะมีขนาดค่อนข้างเล็กและจะมีขนาดโตขึ้นทุกๆ ปี ถ้าความชุ่มชื้นและดินอุดมสมบูรณ์ดีพอเพียง แต่ถ้าจะให้ผลรวดเร็วควรจะให้ปุ๋ยเร่งทำให้ไผ่เกิดหน่อปริมาณมากตลอดฤดูกาล หลังจากเก็บหน่อขายบ้างแล้ว จะทำการตัดแต่งกอและไถพรวนเพื่อกำจัดวัชพืช ปกตินิยมไถพรวนในช่วงเดือนตุลาคมถึงพฤศจิกายน ก่อนที่ดินจะแห้ง เพราะถ้าดินแห้งจะไถพรวนได้ยาก

การใส่ปุ๋ยจะใส่ในช่วงเดือนมีนาคมถึง เมษายน ปุ๋ยที่ยมคือปุ๋ยคอกเป็นหลัก ในอัตรา 100-200 กิโลกรัมต่อไร่สำหรับป่าไผ่ทั่วไป แต่ถ้าเป็นสวนไผ่ตงจะใส่มากถึง 1-1.5 ตันต่อไร่ หรืออาจใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 16-20-0 หรือ 15-15-15 อัตรา 2-4 กิโลกรัมต่อกอรวมกับปุ๋ยคอก
ในกรณีที่ต้องการเร่งการออกหน่อ นอกเหนือจากใส่ปุ๋ยปกติแล้ว จะมีการใส่ปุ๋ยยูเรีย (46-0-0) ในอัตรา 1 – 2 กิโลกรัมรอบ ๆ กอ ระวังอย่าให้โดนหน่อจะทำให้เน่าได้ และถ้าต้องการให้หน่อมีคุณภาพดียิ่งขึ้น ควรใส่ปุ๋ยสูตร 13-13-21 เพิ่มไปในอัตรา 1 กิโลกรัมต่อกอ ใส่พร้อมกับปุ๋ยยูเรีย การใส่ปุ๋ยเพื่อเอาหน่อโดยเฉพาะไผ่ตงจะเน้นปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักเป็นหลัก ไม่ควรใส่ปุ๋ยวิทยาศาสตร์เพียงอย่างเดียว จะทำให้ไผ่ทรุดโทรมเร็ว
3 . การไว้ลำและการตัดแต่งกอ
ไผ่ตง เมื่อปลูกได้ประมาณ 1 ปี จะเริ่มแตกหน่อได้ประมาณ 3-4 ลำ ในระยะแรกนี้จะไม่มีการตัดหน่อเลย ปล่อยให้เป็นลำต่อไป การดูแลกอในช่วงนี้จะทำการตัดกิ่งแขนงเล็กๆ บริเวณโคนต้นที่ขึ้นเกะกะทิ้งไปเท่านั้น

เมื่ออายุ 2 ปี จะมีหน่อแทงขึ้นมาอีก 5 – 6 หน่อ เหมือนในปีแรก ในปีนี้ก็ยังไม่มีการตัดหน่อ ปล่อยให้เป็นลำต่อไป การดูแลกอเพียงแต่ตัดเอาหน่อเน่า ลำคดเอียงแคระแกร็นและตัดแต่งกิ่งแขนงทิ้ง เพราะฉะนั้นเมื่อขึ้นปีที่ 3 จะมีลำประมาณ 8-10 ลำ
ไผ่ตงเมื่ออายุครบ 3 ปี ก็มีหน่อพอที่จะตัดขายได้ ในการตัดหน่อนี้ควรจะตัดจากกลางกอก่อนแล้วขยายออกมารอบนอกกอ ซึ่งหน่อนอกๆ ต้องมีการรักษาไว้บ้างเพื่อให้เป็นลำแม่ โดยเลือกหน่อที่อวบใหญ่และอยู่ในลักษณะที่จะขยายออกเป็นวงกลมจะทำให้กอใหญ่ ขึ้น มีหน่อมากขึ้นในปีต่อไป สะดวกที่จะเข้าไปดูแลรักษาและตัดหน่อ
การตัดแต่งกอนั้น ควรทำติดต่อกันทุกๆ ปี หลังการเก็บเกี่ยวในช่วงปลายฤดูฝนหรือประมาณเดือนพฤศจิกายนถึงมกราคม ซึ่งเป็นช่วงที่ไผ่ชะงักการเจริญเติบโตชั่วคราว การตัดแต่งกอหรือที่ชาวบ้างเรียกกันว่า “ล้างกอไผ่” นั้น จะตัดแต่งกิ่งที่เป็นโรคและมีแมลง ลำที่ไม่ค่อยสมบูรณ์ และลำที่มีอายุตั้งแต่ 3 ปีขึ้นไปออก โดยเฉพาะลำที่บริเวณโคนลำเป็นแข้งตุ๊กแก ตัดให้เหลือลำแม่ดีๆ ไว้ประมาณ 10-20 ลำต่อกอ ลำที่เหลือไว้นี้จะเป็นลำแม่ที่ค้ำจุนและบังลมให้ลำที่เพิ่งแตกใหม่ ลำที่ตัดออกนี้ให้ตัดติดดินหรือเหลืออยู่เหนือพื้นดินประมาณ 5 เซนติเมตร ไม่ให้เปลืองอาหารที่จะต้องส่งไปเลี้ยงลำพวกนี้อัก เพราะลำแก่ที่มีอายุตั้งแต่ 3 ปีขึ้นไป จะแก่และแตกหน่อได้น้อย ทั้งยังเป็นการเร่งให้หน่อใหม่มีขนาดใหญ่และสมบูรณ์ดีขึ้น
4. การบังคับให้เกิดหน่อมากขึ้น
ในการบังคับให้ไผ่ตงแทงหน่อมากขึ้นตาม

การปลูกมะนาวในบ่อซีเมนต์ และการทำมะนาวนอกฤดู

การปลูกมะนาวในบ่อซีเมนต์ และการทำมะนาวนอกฤดู

สำหรับเกษตรกรที่คิดจะปลูกมะนาวในวงบ่อ ซีเมนต์จำนวน 100 บ่อ จะใช้เนื้อที่ประมาณ 1 ไร่เท่านั้น ซึ่งจะใช้เงินลงทุนมากในช่วงเริ่มแรก ส่วนค่าใช้จ่ายหลักจะอยู่ที่วงบ่อซีเมนต์และฝารองซึ่งเมื่อรวมค่าใช้จ่าย กิ่งพันธุ์มะนาว, ระบบน้ำ ฯลฯ รวมเป็นเงินในการปลูกมะนาวในวงบ่อซีเมนต์จำนวน 100 วงบ่อ เป็นเงิน 27,000 บาทโดยประมาณ ต้นมะนาวในวงบ่อเมื่อมีอายุต้นเพียง 8 เดือน จะบังคับให้ต้นออกฤดูแล้งได้โดยใช้หลักการเดียวกับการปลูกลงดินคือคลุม พลาสติกให้กับต้นมะนาวในช่วงเดือนกันยายนและกระตุ้นการออกดอกในเดือนตุลาคม จะได้ผลผลิตมะนาวแก่ในช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน ซึ่งเป็นช่วงที่มะนาวราคาแพงที่สุด เท่ากับว่าในการปลูกมะนาวในวงบ่อซีเมนต์จะใช้เวลาเพียงปีเดียวเท่านั้น สามารถเก็บผลผลิตได้ในช่วงฤดูแล้ง

การเริ่มต้นจัดผังปลูกมะนาวในวงบ่อซีเมนต์

รายละเอียดของการเริ่มต้นการปลูกมะนาวในวงบ่อ ซีเมนต์ จะต้องวัดพื้นที่ กว้างxยาว ก่อน เพื่อจะหาพื้นที่ หลังจากนั้น เว้นทางเดินประมาณ 2 เมตร ระยะปลูกระหว่างต้น 1.20 เมตร ระยะระหว่างแถว 1.50 เมตร ปลูกแบบแถวคู่แล้วเว้นเป็นทางเดิน 2 เมตร สภาพพื้นที่ปลูกจะต้องปรับให้เรียบเหมือนกับลานตากข้าว วัดระยะการวางวงบ่อ การวางวงบ่อซีเมนต์พยายามวางให้เป็นเลขคู่เพื่อง่ายต่อการวางระบบน้ำและ คำนวณแรงดันน้ำ แท็งก์จะแบ่งออกเป็น 2 ชุด ชุดแรกจะก่อให้สูง ประมาณ 5 วงบ่อ หรือมีความจุน้ำได้ 1,200 ลิตรจะใช้แท็งก์นี้เพื่อผสมปุ๋ยน้ำชีวภาพแล้วเปิดน้ำดีเข้าไปผสมปล่อยไปให้ ต้นมะนาวในวงบ่อได้โดยตรง ส่วนแท็งก์อีกชุดหนึ่งจะก่อให้สูงประมาณ 9 วงบ่อ จำนวน 2 แท็งก์ เพื่อกักเก็บน้ำสะอาดแล้วช่วยในเรื่องของแรงดัน

การเตรียมดินปลูกมะนาวและขนาดของวงบ่อซีเมนต์

ขนาดของวงบ่อซีเมนต์แนะนำให้เกษตรกรใช้ จะใช้ขนาดวงเส้นผ่าศูนย์กลาง 80 เซนติเมตร แต่เดิมฝาวงบ่อคุณพิชัยใช้ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 80 เซนติเมตร เท่ากับขนาดของวงบ่อ เมื่อปลูกไปนาน 2-3 ปี พบว่า รากของต้นมะนาวจะโผล่ออกมานอกวงและชอนลงไปในดิน ทำให้ควบคุมในเรื่องของการบังคับให้ออกนอกฤดูได้ยากมากขึ้น ปัจจุบัน จึงได้แนะนำเกษตรกรและแก้ไขให้ซื้อฝาวงบ่อที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางยาวกว่าเส้น ผ่าศูนย์กลางของวงบ่อ ใช้ฝาวงบ่อขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ประมาณ 90 เซนติเมตร กว้างกว่า 10 เซนติเมตรดินผสมที่จะใช้ปลูกมะนาวในวงบ่อซีเมนต์ จะใช้วัสดุปลูกหลัก 3 ชนิด คือ หน้าดิน 3 ส่วน ขี้วัวเก่า 1 ส่วน และเปลือกถั่วเขียว 2 ส่วน ผสมคลุกเคล้ากัน การใช้เปลือกถั่วเขียวจะช่วยให้สภาพดินมีการระบายน้ำที่ดี ถ้าใช้แค่หน้าดินผสมกับขี้วัวจะทำให้ดินปลูกแน่น เวลาให้น้ำไป 3-4 วัน น้ำยังไม่ถึงข้างล่างของวงบ่อ ยังได้ยกตัวอย่างปริมาณของดินที่จะใช้ในการปลูกมะนาว จำนวน 100 วงบ่อ จะต้องใช้หน้าดินประมาณ 1 คันรถสิบล้อ เทคนิคในการผสมวัสดุปลูกจะต้องปูพื้นด้วยหน้าดินเป็นขั้นแรก หลังจากนั้น ใส่ขี้วัวเก่าเป็นชั้นที่ 2 แล้วตามด้วยเปลือกถั่วเขียวเป็นชั้นบนสุด หลังจากนั้นใช้เครื่องตีพรวนติดรถไถจะเร็วกว่าใช้แรงงานคน

การใส่วัสดุปลูกลงบ่อซีเมนต์มีเทคนิค

ที่ผ่านมาเกษตรกรที่ปลูกมะนาวในวงบ่อซีเมนต์ ส่วนใหญ่จะใส่วัสดุปลูกในวงบ่อซีเมนต์เพียงเสมอวงบ่อเท่านั้น เมื่อรดน้ำไปได้เพียงแค่สัปดาห์เดียว วัสดุปลูกจะยุบตัวลงมาประมาณ 1 คืบมือ ถ้าเกษตรกรเติมวัสดุปลูกลงไปจะไปกลบลำต้นมะนาว ปัญหาเรื่องโรคโคนเน่าจะตามมา ดังนั้น ในการใส่วัสดุปลูกลงในวงบ่อซีเมนต์จะต้องใส่ให้พูนเป็นภูเขาเลย และที่จะต้องเน้นเป็นพิเศษขณะที่ใส่วัสดุปลูกลงในวงบ่อนั้นคือ จะต้องขึ้นเหยียบวัสดุปลูกขอบๆ วงบ่อ บริเวณตรงกลางไม่ต้องเหยียบ การใส่วัสดุปลูกให้เป็นภูเขาจะช่วยในเรื่องดินยุบลงมาเสมอวงบ่อได้นานถึง 1 ปี

วิธีการปลูกมะนาวในวงบ่อซีเมนต์ที่ถูกต้อง

หลังจากที่ใส่วัสดุปลูกลงในบ่อซีเมนต์เรียบ ร้อยแล้ว ให้เกษตรกรขุดเปิดปากหลุมให้มีขนาดเท่ากับขนาดของถุงที่ใช้ชำต้นมะนาว (โดยปกติถ้าใช้กิ่งตอนมะนาว ควรจะชำต้นมะนาวไว้นานประมาณ 1 เดือน เท่านั้น ไม่แนะนำให้ซื้อต้นมะนาวที่ชำมานานแล้วหลายเดือน หรือชำค้างปี เนื่องจากจะพบปัญหาเรื่องรากขด ทำให้เจริญเติบโตช้าหรือต้นแคระแกร็น) รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยเคมีสูตรเสมอ เช่น สูตร 16-16-16 อัตราประมาณ 1 กำมือ ถอดถุงดำปลูกต้นมะนาวให้พอดีกับระดับดินเดิม กลบดินแล้วใช้เท้าเหยียบรอบๆ ต้น เพื่อไม่ให้โยกคลอน ปักไม้เป็นหลักกันลมโยกและแนะนำให้ใช้ตอกมัดต้นมะนาวไว้กับหลัก ตอกจะผุเปื่อยหลังจากปลูกไปนานประมาณ 2 เดือน ต้นมะนาวตั้งตัวได้แล้ว แต่ที่หลายคนได้ใช้ปอฟางหรือพลาสติคทาบกิ่งมัดกับหลักจะอยู่ได้นานก็จริง แต่ปัญหาที่จะตามมาจะทำให้ลำต้นมะนาวคอด มีผลต่อการเจริญเติบโตของต้น หลังจากปลูกเสร็จให้เดินท่อ PE เจาะหัวมินิสปริงเกลอร์และวางท่อ PE พาดไปกับวงบ่อเลยเพื่อสะดวกต่อการทำงาน

ปลูกมะนาวในวงบ่อซีเมนต์ได้ตลอดทั้งปี

ในการปลูกมะนาวในวงบ่อซีเมนต์สามารถปลูกได้ ตลอดทั้งปี ปลูกไปแล้วนับไปอีก 8 เดือน เกษตรกรสามารถบังคับให้ต้นออกดอกได้ ถ้าเกษตรกรจะบังคับให้มะนาวออกฤดูแล้งในรุ่นแรกแนะนำให้ปลูกต้นมะนาวในช่วง เดือนมกราคม ในช่วงเดือนกันยายน-ตุลาคม ในปีเดียวกันบังคับต้นให้ออกดอกได้โดยใช้หลักการเหมือนกับที่ปลูกลงดิน ผลผลิตมะนาวฤดูแล้งจะไปแก่และเก็บผลผลิตขายได้ราคาแพงในช่วงเดือน มีนาคม-เมษายนของปีถัดไป เท่ากับว่าการปลูกมะนาวในวงบ่อซีเมนต์ใช้เวลาปลูกเพียงปีเศษเท่านั้น เกษตรกรสามารถเก็บมะนาวฤดูแล้งขายได้

วิธีการรดน้ำต้นมะนาวในวงบ่อซีเมนต์ ทำอย่างไร

ในการผลิตมะนาวฤดูแล้งในวงบ่อซีเมนต์ ให้ใช้พลาสติคคลุมปากบ่อซีเมนต์เพื่อป้องกันน้ำหรือฝนที่ตกลงมาในช่วงแรกๆ แต่พบปัญหาว่าเมื่อเกษตรกรนำพลาสติคไปคลุมกลับรักษาความชื้นให้กับต้นมะนาว ใช้เวลานานวันกว่าดินจะแห้ง หรือเลือกใช้หลักการ "ฝนทิ้งช่วง" ในแต่ละปีช่วงเดือนสิงหาคม-กันยายน ของทุกปี จะมีช่วงเวลาที่ฝนทิ้งช่วง ในการผลิตมะนาวฤดูแล้งในวงบ่อซีเมนต์ ถ้าฝนไม่ตกติดต่อกัน 3-4 วัน ดินในวงบ่อจะเริ่มแห้ง ใบมะนาวจะเริ่มเหี่ยว หลังจากนั้นฉีดกระตุ้นให้ต้นมะนาวออกดอกและติดผลได้

ผลิตมะนาวฤดูแล้งในวงบ่อซีเมนต์ 2 รุ่น ต่อปี

ในช่วงเริ่มแรกของการบังคับมะนาวฤดูแล้งจะทำ ให้ต้นมะนาวออกดอกเพียงรุ่นเดียวคือ ช่วงเดือนตุลาคมและไปเก็บผลผลิตในช่วงเดือนเมษายนเท่านั้น ทำให้จะต้องคอยปลิดดอกมะนาวทิ้งตั้งแต่เดือนพฤษภาคมเรื่อยมาจนถึงเดือน สิงหาคม-กันยายน แต่ช่วงเวลา 3-4 ปีที่ผ่านมาสภาวะตลาดมะนาวผลผลิตจะเริ่มมีราคาดีตั้งแต่เดือนมกราคมเรื่อยไป จนถึงเดือนเมษายน จึงปล่อยให้มะนาวให้ผลผลิต 2 รุ่น คือมีผลผลิตขายในช่วงเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์รุ่นหนึ่ง (บังคับให้ต้นออกดอกในช่วงเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม) และมีผลผลิตในช่วงเดือนมีนาคม-เมษายนอีกรุ่นหนึ่ง (บังคับให้ออกดอกในช่วงเดือนกันยายน-ตุลาคม) พอเข้าสู่เดือนพฤษภาคมของทุกปีราคามะนาวจะถูกลง จะตัดแต่งกิ่งมะนาวในช่วงเวลานี้ พร้อมทั้งปลิดผลมะนาวที่ติดอยู่บนต้นทิ้งให้หมด

ตัดแต่งกิ่งมะนาวในวงบ่อซีเมนต์อย่างหนัก ทุกๆ 3 ปี

ตัดแต่งกิ่งมะนาวตาฮิติในวงบ่อซีเมนต์อย่าง หนัก ทุกๆ 3 ปี โดยจะเริ่มตัดแต่งกิ่งและปลิดผลทิ้งทั้งหมดภายในเดือนพฤษภาคม ในช่วงปีที่ 1-2 จะตัดแต่งบ้างแต่ไม่มากนัก จะมาตัดแต่งหนักเมื่อต้นมีอายุประมาณ 3 ปี ซึ่งในช่วงนั้นมักจะพบว่าต้นมะนาวเริ่มโทรม มีกิ่งแห้งเป็นจำนวนมาก การตัดแต่งกิ่งมีผลทำให้ต้นมะนาวแตกกิ่งออกมาใหม่และได้ผลผลิตมะนาวที่มี คุณภาพ หลังจากตัดแต่งกิ่งเสร็จในเดือนพฤษภาคม ช่วงระหว่างเดือนมิถุนายน-กรกฎาคม เป็นช่วงบำรุงต้นและสะสมอาหารเพื่อจะกระตุ้นการออกดอกรุ่นแรกในเดือนสิงหาคม

เทคนิคการเปิดตาดอก

เมื่อใบมะนาวเหี่ยวและเริ่มร่วงหรือเหลือใบ ยอดเพียง 1 คืบ จะเปิดตาดอกโดยใช้ปุ๋ยเคมีสูตรที่มีตัวกลางสูง เช่น สูตร 15-30-15 หรือ 12-24-12 อัตรา 1 กำมือ ใส่ให้กับต้นมะนาวในวงบ่อซีเมนต์ รดน้ำจนเห็นว่าปุ๋ยละลายจนหมด (ช่วงการให้ปุ๋ยนี้ไม่แนะนำให้เปิดน้ำด้วยหัวสปริงเกลอร์ ควรจะให้น้ำด้วยสายยางจะดีกว่า) และยังได้แนะนำก่อนว่า ก่อนที่จะให้ปุ๋ยควรเปิดน้ำให้กับต้นมะนาวจนดินชุ่มเสียก่อน จะรดน้ำด้วยสายยาง 2-3 ครั้ง ทุกๆ 3-5 วันสำหรับการฉีดพ่นฮอร์โมนหรือธาตุอาหารทางใบควรฉีดพ่นอย่างเต็มที่ ฉีดพ่นด้วยฮอร์โมน โปรดั๊กทีฟ อัตรา 20 ซีซี ผสมกับสารเทรนเนอร์ อัตรา 10 ซีซี และปุ๋ยทางใบ สูตร 0-52-34 อัตรา 100 กรัม ต่อน้ำ 1 ปี๊บ (20 ลิตร) ฉีดพ่นต่อเนื่องทุก 5-7 วัน หลังจากนั้นต้นมะนาวจะเริ่มออกดอกและติดผลไปแก่ในช่วงฤดูแล้ง

การทำมะนาวนอกฤดู

การบังคับมะนาวนอกฤดูในวงบ่อซีเมนต์
1. แปลงนี้ปลูก มะนาวพันธุ์ตาฮิติ และพันธุ์แป้น อายุประมาณ 4 ปี ทั้งหมด 600 วงในเนื้อที่ 2 ไร่เศษ
2. การให้น้ำระบบมินิสปริงเกอร์ ให้น้ำเช้า - เย็น
3. มะนาวจะราคาแพงที่สุดคือช่วงเดือน มีนาคม – เมษายน ของทุกปี ดังนั้นเมื่อเก็บผลผลิตหมดในเดือน
พฤษภาคม ให้รีบดำเนินการตามขั้นตอนดังนี้
- ตัดแต่งกิ่ง เด็ดผลที่เหลือบนต้นออก เพื่อบำรุงต้น เร่งการสร้างยอดใหม่ ใบใหม่โดย ผลมะนาวที่คุณภาพดีที่สุดคือผลที่เกิดจากยอดใหม่ ผลที่เกิดจากกิ่งเก่าคุณภาพจะด้อยลงมา ผลที่คุณภาพต่ำสุดคือผลที่เกิดติดกิ่ง หลังตัดแต่งกิ่งเสร็จใช้ปุ๋ยเคมี 15 – 15 – 15 ใส่หนึ่งกำมือต่อวง คุณพิชัยให้เหตุผลว่าหากไม่ใช้ปุ๋ยเคมีเลย ต้นจะไม่ค่อยสมบูรณ์เท่าที่ควร และพบอาการผลเหลืองที่ไม่ได้เกิดจากอาการม้านแดดมากกว่าปกติ เนื่องจากการให้ผลผลิตในปีที่ผ่านมา
ต้นมะนาวใช้ธาตุอาหารในการเลี้ยงลูกในปริมาณที่มาก
- เพิ่มวัสดุปลูกในวงบ่อเนื่องจากในแต่ละปีวัสดุปลูกจะยุบลง เพิ่มกาบมะพร้าวบริเวณโคนต้น เนื่องจากาบ
มะพร้าวผุพังไปบ้างในปีที่ผ่านมา กาบมะพร้าวเป็นวัสดุที่ช่วยเก็บรักษาความชื้นได้อย่างดี และยังเป็นวัสดุที่ช่วยเก็บ
รักษาปุ๋ยที่จ่ายมาทางระบบน้ำก่อนจะค่อย ๆ ปลดปล่อยธาตุอาหารให้ต้นมะนาวใช้ ป้องกันการสูญเสียธาตุอาหารอัน
เกิดจากการไหลบ่า หรือการระเหย
- การให้ปุ๋ยชีวภาพซึ่งได้จากการหมักหอยเชอรี่30 กก. เศษผลไม้ 10 กก. กากน้ำตาล 10 กก. เชื้อพด.
2 จำนวน 25 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร สูตรนี้สามารถใช้ฉีดพ่นทางใบ ในอัตรา 20 - 25 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตรได้ ในส่วนของ
การให้ทางระบบน้ำนั้น เทคนิคคือใช้ปุ๋ยชีวภาพในอัตรา 5 ลิตร ต่อน้ำ 1,250 ลิตร ให้ทุก 5 - 7 วัน โดยใน
การให้จะให้ครั้งละ 3 – 5 นาทีเพื่อให้กาบมะพร้าวบริเวณโคนต้นชุ่มก็พอ หลังจากนั้นก็ให้น้ำตาม รอบปกติ น้ำจะ
ค่อย ๆ ละลายธาตุอาหารลงไปให้ต้นมะนาวใช้ เป็นการจัดการที่ประหยัดปุ๋ย ใช้ปุ๋ยให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

- ในระยะนี้ต้องรักษาใบและยอดให้ดี เนื่องจากมีโรค แมลงที่สำคัญเข้าทำลายในระยะยอดอ่อนถึงเพสลาดคือ เพลี้ยไฟ และโรคแคงเกอร์ ในเรื่องสารเคมีคุณพิชัยให้แนวคิดว่าบางระยะยังต้องมีการใช้อยู่ แต่ต้องเลือกใช้ในระยะที่
ปลอดภัยต่อผู้บริโภค คือใช้ในระยะก่อนเก็บเกี่ยวไม่น้อยกว่า 2 เดือน เนื่องจากแปลงเรียนรู้นี้ปลูกทั้งพันธุ์ตาฮิติ และพันธุ์แป้นคละกันไป พันธุ์แป้นอ่อนแอต่อโรคแคงเกอร์มาก
- หลักการใช้สารเคมีในแปลงมะนาว นอกจากเพลี้ยไฟ โรคแคงเกอร์แล้วยังมีโรคและศัตรูอื่น ๆ อีก เช่น หนอนชอนใบ หนอนกัดกินใบ แมลงค่อม โรคยางไหล โรคราเข้าขั้ว การเลือกใช้ชนิดของ
สาร เคมีและระยะที่ใช้จึงมีความจำเป็น หากอยู่ในระยะที่ใช้สารเคมีได้ เพลี้ยไฟ และหนอนชอนใบมีสารเคมีที่ คุณพิชัยเลือกใช้ในการป้องกันกำจัดคือ อะบาแม็กติน อัตรา 3 – 10 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร ( ทั้งนี้อัตราการใช้แล้วแต่ความเข้มข้นของแต่ละบริษัทที่ผลิต ) หากพบการระบาดมากจะใช้สาร อิมิดาคลอพริด อัตรา 3 – 5 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร แมลงค่อมหรือด้วงปีกแข็งใช้สารคาร์โบซัลแฟน อัตรา 20 – 30 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร หรือไซเปอร์เมทริน อัตรา 5 – 10 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร โรคราเข้าขั้วใช้สารป้องกันกำจัดเชื้อราแมนโคเซ็บ อัตรา 20 – 30 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือคาร์เบ็นดาซิม อัตรา 10 – 20 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร ความถี่ในการฉีดพ่น ทุก 7 - 15 วัน หรือแล้วแต่สภาพการระบาดของโรคแมลง นอกเหนือจาก
ระยะนี้แล้ว 2 เดือนก่อนเก็บเกี่ยว คุณพิชัยเลือกใช้น้ำหมักชีวภาพที่มีฤทธิ์ไล่ และกำจัดแมลง โดยใช้น้ำหมักที่หมักจาก
สมุนไพรที่ มีรสเผ็ด ขม เหม็น เช่น ขิง ข่า ตะไคร้ ใบมะกรูด บอระเพ็ด สะเดา ใช้สมุนไพรดังกล่าวอย่างใดอย่างหนึ่ง
30 กก. กากน้ำตาล 10 กก. พด. 7 จำนวน 25 กรัม ต่อน้ำ 30 ลิตร หมัก 20 วัน นำมาฉีดพ่นในอัตรา 25 ซีซีต่อน้ำ 20
ลิตรทุก 7 - 15 วัน
- เนื่องจากมะนาว มีอายุ ประมาณ 5 เดือนสามารถเก็บขายได้ในเดือนที่ 6 การวางแผนการบังคับให้ออกนอกฤดู คือต้องทำให้ออกดอก เดือนตุลาคม เดือนกันยายนต้องงดปุ๋ย งดน้ำ จากประสบการณ์ของคุณพิชัยจะเลือกใช้จังหวะฝนทิ้งช่วงประมาณ 7 – 15 วัน เป็นการงดน้ำไปในตัว เนื่องจากมะนาวแปลงนี้ 600 วง คุณพิชัยจัดการเพียง
คนเดียวจึงไม่สะดวกที่จะเลือกใช้พลาสติกคลุม เพราะพลาสติกก่อให้เกิดไอน้ำเกาะบริเวณผิวด้านในพลาสติก ลดความชื้น
ใน ดินยาก หากจะให้ได้ผลดี ในวันที่แดดออกต้องแกะพลาสติกออกให้น้ำระเหย หากฝนตกต้องคลุมพลาสติก เป็นการจัดการที่ยากในกรณีที่ไม่มีแรงงานเพียงพอ
- งดน้ำจนใบเหี่ยว สลด และหลุดร่วงประมาณ 50 – 60 เปอร์เซ็นต์ หลังจากนั้นให้น้ำตามปกติ ปุ๋ยเคมีที่ใช้เพื่อเปิดตาดอกในระยะนี้คือ ปุ๋ยที่มีตัวกลางสูงเช่น 12 – 24 – 12 หรือ 15 – 30 -15 ปริมาณ 1 กำมือต่อวงรดน้ำให้ชุ่มเพื่อให้ปุ๋ยละลาย
- หลังติดดอกแล้วให้น้ำตามปกติเช้า – เย็น เวลาละ 5-10 นาที
- ปุ๋ยทางดินที่คุณพิชัยใช้ทดแทนปุ๋ยเคมี ตลอดฤดูการผลิตคือปุ๋ยอินทรีย์ที่หมักจากเศษพืช มูลสัตว์ กากหอยเชอรี่ เป็นการลดต้นทุนการผลิต ลดภาวะดินเสื่อมโทรม ปรับสภาพดินให้สมบูรณ์ อย่างยั่งยืน