หน้าเว็บ

วันจันทร์ที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

การเลี้ยงหมูป่า(2)

การเริ่มต้นเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์



พ่อพันธุ์


แม่พันธุ์

การเลี้ยงหมูป่าขั้นแรกจะต้องซื้อลูกมาเลี้ยงเพื่อเตรียมเป็นพ่อแม่พันธุ์ เสียก่อนเพราะหากจะเลี้ยงเพื่อส่งตลาดราคาลูกหมูป่าค่อนข้างแพงอาจไม่คุ้ม ทุน ดังนั้นถ้าใครจะเลี้ยงขยายพันธุ์แล้วควรใช้อัตราส่วนพ่อพันธุ์ 1 ตัว ต่อแม่พันธุ์ 7 - 10 ตัว ส่วนราคาของหมูป่าจากฟาร์มขณะนี้ทราบว่าขายคู่ละ 3500-5000 บาท เป็นหมูป่าอายุตั้งแต่หย่านม คือ 60 - 90 วัน ซึ่งพ่อแม่พันธุ์ หนึ่ง ๆ สามมารถใช้งานได้จนถึงอายุนานนับสิบปี

ลักษณะที่ดีของหมูป่าที่จะใช้เป็นพ่อแม่พันธุ์ จะมีดังนี้ คือ

รูปร่างสูงโปร่ง
สันหลังตรงและยาว
ส่วนไหล่หนา (ผานไหล่) หนาและกว้าง
สะโพกกว้าง
สำหรับพันธุ์หมูป่าที่จะใช้ทำพันธุ์ก็มีด้วยกัน 2 พันธุ์ คือ พันธุ์หน้าสั้น และพันธุ์หน้ายาวทั้งสองพันธุ์นี้มีข้อแตกต่างกันก็ตรงที่หมูป่าพันธุ์หน้า สั้นนั้นจะมีขนสีดำทั้งตัว มีลำตัวอ้วนกลมตัวเตี้ย และมีหน้าผากกว้างหูใหญ่กว่า

พันธุ์หน้ายาวเท่าที่สังเกตดูหมูป่าพันธุ์นี้มีการเจริญเติบโตที่ค่อนข้างดี แต่ทว่าเมื่อเปรียบเทียบในเรื่องความแข็งแรงแล้วจะสู้พันธุ์หน้ายาวไม่ได้ สำหรับหมูป่าพันธุ์หน้ายาวนั้นจะมีขนไม่ค่อยเข้มเท่าใดนัก (คือมีสีดอกเลา) มีลำตัวค่อนข้างแคบ รูปร่างสูงโปร่ง และมีหน้าผากแคบ หูเล็กกว่าพันธุ์หน้าสั้น ทางด้านการเจริญเติบโตให้เนื้อหนังสู้พันธุ์หน้าสั้นไม่ได้ แต่ทว่าหมูป่าพันธุ์นี้มีความแข็งแรง หรือมีน้ำอดน้ำทนดีกว่ามาก

ส่วนการผสมคัดเลือกพันธุ์นั้นก็มี 2 แบบด้วยกัน คือ

การเอาพันธุ์แท้ผสมกับพันธุ์แท้ด้วยกัน ซึ่งก็ทำโดยผสมคัดเลือกพันธุ์ระหว่างพันธุ์หน้ายาวกับพันธุ์หน้ายาว และพันธุ์หน้าสั้นกับพันธุ์หน้าสั้น
การผสมคัดเลือกพันธุ์ระหว่างพันธุ์หน้าสั้นกับพันธุ์หน้ายาว หรือที่เรียกกันว่าลูกผสมระหว่าง 2 สายพันธุ์ ทั้งนี้ก็เพื่อที่จะได้เป็นการรวบรวมเอาความดีของทั้งสองสายพันธุ์เข้าด้วย กัน เช่น พันธุ์หน้าสั้นมีการเจริญเติบโตที่ดี แต่พันธุ์หน้ายาวจะมีความแข็งแรงกว่า เมื่อนำมาผสมกันแล้วก็จะได้ลูกผสมที่มีความดีของทั้งสองพันธุ์เข้าด้วยกัน คือ มีทั้งการเจริญเติบโตที่ดีและความแข็งแรง
การเป็นสัดของหมูป่า โดยปกติหมูป่าตัวเมียจะเป็นสัดเร็วมากบางตัวมีอายุเพียง 8 เดือน ก็เริ่มเป็นสัดแล้วจึงส่งผลทำให้การผสมพันธุ์ทำได้ค่อนข้างยากโดยเฉพาะหมู ป่าที่ตัวเมียยังมีขนาดเล็ก แต่ตัวผู้มีขนาดใหญ่ทุลักทุเลถึงกับต้องสร้างเปลให้หมูป่าตัวเมียเพื่อช่วย ลดน้ำหนักตัวผู้ที่ขึ้นผสมพันธุ์ ซึ่งการผสมพันธุ์ครั้งแรกจะได้ลูกไม่ดกนัก แต่ก็ถือว่าเป็นการฝึกไปในตัว พอมีอายุมากขึ้นหน่อยลูกหมูป่ามีลูกดกขึ้นมาเอง ปกติหมูสาวแรกจะให้ลูก 4-6 ตัว พอมีอายุมากขึ้นอาจให้ได้ถึง 10-12 ตัว และมีบางตัวที่ให้ลูกมากกว่านี้แต่มักจะเลี้ยงไม่รอด เพราะหมูป่ามีนมเลี้ยงลูกแค่ 10 เต้าเท่านั้นเอง

อย่างไรก็ตามหมูป่าสาวที่เริ่มเป็นสัดควรจะฝึกให้ผสมพันธุ์เสียตั้งแต่ต้น เพราะไม่เช่นนั้นแล้วเมื่อโตขึ้นมีอายุมากจะไม่ยอมให้ตัวผู้ขึ้นผสมพันธุ์ ถึงแม้จะเป็นสัดก็ตามที อันนี้จึงเป็นข้อคิดที่ขอฝากไว้ว่า อย่าปล่อยไว้จนขึ้นคานเป็นอันขาด

การเป็นสัดของแม่หมู่พันธุ์นั้นก็สามารถสังเกตได้เช่นเดียวกัน แต่ถ้าหากผู้เลี้ยงไม่คุ้นเคยกับการเลี้ยงหมูป่าก็อาจจะสังเกตไม่ออกว่าแม่ หมูพันธุ์นั้นเป็นสัดแล้ว เพราะการสังเกตทราบก็ยากเอาการอยู่พอสมควร เนื่องจากมันไม่แสดงอาการเป็นสัดให้เห็นออกมาเด่นชัด มีเพียงอวัยวะเพศบวมแดงเล็กน้อยและมักจะมีอาการเงียบซึม ไม่เหมือนกับหมูบ้านที่ร้องกระวนกระวาย จึงควรหมั่นสังเกตให้ดีอยู่เสมอ เมื่อเห็นว่าแม่หมูพันธุ์แสดงลักษณะอาการดังกล่าวออกมาให้เห็นก็ให้จับผสม พันธุ์เสีย

การผสมพันธุ์หมูป่าและการคลอดลูกของหมูป่า



โดยทั่วไปแล้วอายุที่เหมาะสมสำหรับพ่อแม่พันธุ์ที่เริ่มผสมพันธุ์ครั้งแรกจะ ประมาณ 1 ปี สำหรับการผสมพันธุ์หมูป่านั้นหากใช้พันธุ์เดียวกัน เช่น พันธุ์หน้าสั้นผสมกับพันธุ์หน้าสั้น หรือพันธุ์หน้ายาวผสมกับพันธุ์หน้ายาวนั้นจะให้ลูกไม่ดก ไม่แข็งแรง โตช้าให้น้ำหนักน้อย

ในการผสมพันธุ์ก็จะใช้อัตราส่วนของพ่อพันธุ์ต่อแม่พันธุ์ประมาณ 1 : 7 การผสมพันธุ์ก็จะทำกันในวันที่ 3 ของการเป็นสัด (ของตัวเมีย) โดยจะต้อนตัวเมียเข้าไปหาตัวผู้และให้ผสมกับตัวผู้ตัวแรกในช่วงเช้าจากนั้น ก็จะต้อนตัวเมียตัวเดิมให้ไปผสมกับตัวผู้ตัวที่ 2 ในช่วงเย็น

ข้อควรระวังในเรื่องการใช้ตัวผู้เป็นพ่อพันธุ์ ไม่ควรใช้ผสมทุกวัน ทางที่ดีควรใช้ผสมวันเว้นวัน และในวันที่ผสมนั้นให้ผสมเพียงครั้งเดียวเท่านั้น แม่พันธุ์ที่ถูกผสมพันธุ์และผสมติดแล้วจะตั้งท้องนานประมาณ 114-117 วัน (หรือประมาณ 3 เดือน 3 อาทิตย์ 3 วัน) เมื่อได้คำนวณวันที่จะคลอดได้แล้ว ก่อนที่จะคลอดให้เตรียมคอกคลอดเอาไว้ โดยการโรยดินบาง ๆ บนพื้นคอกตลอด เพื่อให้ลูกหมูรู้จักเหมือนกับว่าได้เกิดตามธรรมชาติ และจะล้างดินออกหลังจากคลอดแล้วประมาณ 1-2 อาทิตย์

การคลอดลูกของหมูป่า



ในการคลอดลูกนั้นแม่หมูป่าจะคลอดเอง โดยไม่มีใครไปช่วยทำคลอดแต่อย่างใด เพราะว่าแม่หมูป่าจะดุร้ายมากเข้าไปใกล้ตัวไม่ได้ ต่อคำถามว่าจะสังเกตรู้ได้อย่างไรว่าแม่หมูกำลังอยุ่ในช่วงที่ใกล้คลอด ซึ่งก็ขอได้รับคำตอบว่าแม่หมูป่าก็มีอาการกระวนกระวายเหมือนกับหมูบ้านเรา นี่แหละ แต่ความรุนแรงก็มีมากกว่าบางครั้งจะมีการกัดคอกกัดกรง คนเข้าใกล้ไม่ได้เลยจึงต้องปล่อยให้มันคลอดเอง เมื่อแม่หมูคลอดลูกออกมาท่ามกลางกองดินลูกที่คลอดออกมาก็สามารถลุกยืนได้ แต่ถ้าหากว่าคลอดในคอกพื้นปูนแล้วลูกหมูจะยืนไม่ค่อยได้เพราะว่าคอกมีความ ลื่นทั้งนี้เนื่องจากว่าคอกหมูป่านี้เป็นพื้นปูนที่ขัดมันนั่นเอง

ลูกหมูที่คลอดมาแต่ละครอกมีปริมาณเฉลี่ยแล้วประมาณ 6 ตัว ในแม่หมูสาวจะให้ลูกน้อยกว่าหมูที่มีอายุมาก อย่างไรก็ตามอัตราการรอดของลูกหมูก็มีไม่เกิน 10 ตัว แม้ว่าแม่หมูตัวนั้นจะคลอดลูกได้มากกว่า 10 ตัวก็ตาม ทั้งนี้เพราะว่าเต้านมของหมูป่ามีเพียง 10 เต้าเท่านั้นมีไม่มากเกินนี้ ถ้าหากว่าแม่หมูป่าตัวใดมีเต้านมมากกว่า 10 เต้า แสดงว่าหมูนั้นเป็นหมูลูกผสม

ในขณะเดียวกันการกินนมของลูกหมูจะกินเต้าใครเต้ามัน ฉะนั้นลูกหมูที่มีขนาดเล็กเกิดมาแล้วแย่งเต้านมกับเขาไม่ได้ก็ไม่สามารถกิน นมได้ก็ทำให้ผอมตายไป จึงทำให้ลูกหมูแต่ละครอกรอดตายได้ไม่เกิน 10 ตัว แม้ว่าจะนำออกมาเลี้ยงด้วยนมผงก็ตาม แต่ก็เลี้ยงไม่รอดอาจเป็นเพราะว่านมผงไม่มีภูมิต้านทานโรคก็อาจจะเป็นได้ ดังนั้นควรจับให้ลูกหมูได้กินนมน้ำเหลืองซึ่งมีตอนแรกคลอดก่อนทุกตัวเพราะใน นมน้ำเหลืองนี้มีภูมิคุ้มกันโรคอยู่มาก

การนำลูกหมูในครอกที่มีเกิน 10 ตัว ไปฝากแม่พันธุ์ตัวอื่น นั้นไม่สามารถทำได้เพราะจะถูกแม่หมูกัดตายเนื่องจากมันรู้ว่าไม่ใช่ลูกของ มันโดยสัญชาติญาณนั่นเอง จึงจำไว้ว่าอย่านำลูกหมูป่าจากแม่หนึ่งไปให้อีกแม่เลี้ยง เพราะมันจะขบตายหมดจะเลี้ยงเฉพาะลูกของตัวเอง



ลูกหมูป่าแรกเกิดจะมีลายเป็นแถบเล็ก ๆ สีเหลืองสลับขาวพาดตามความยาวของลำตัวคล้ายลายแตงไทย ลายนี้จะเลือนหายไปเมื่ออายุได้ 4-5 เดือน เมื่อลูกเกิดได้ 3 วันฉีดธาตุเหล็กให้ลูกหมู และให้ระวังการเข้าไปฉีดไว้บ้างเพราะแม่หมูป่าหวงลูกมาก

การเลี้ยงหมูเล็กและแม่พันธุ์หลังคลอด



ลูกหมูหลังคลอดเกิดมาแล้วจะปล่อยให้กินนมแม่ไปเรื่อย ๆ จากลูกหมูมีอายุ 45 - 50 วันก็จะหย่านม การหย่านมนั้นก็ทำโดยปล่อยลูกหมูให้อยู่ในคอกตามปกติแต่จะไล่ต้อนแม่หมูออก จากคอกไปเลี้ยงยังคอกที่ว่าง แต่ในช่วงก่อนที่จะอย่านมนั้นลูกหมู นอกจากจะได้รับนมจากแม่ของมันแล้วลูกหมูก็จะได้กินอาหารหมูอ่อนตามไปด้วย ทั้งนี้และทั้งนั้นลูกหมูจะเริ่มหัดเลียรางตามแม่ของมันเมื่อมีอายุได้ ประมาณ 15 วัน

ฉะนั้นในช่วงนี้จึงต้องใส่อาหารหมูอ่อนให้อาหารนั้นก็เป็นอาหารอัดเม็ดของ หมูบ้านที่เลี้ยงกันโดยทั่วไปนั่นเอง ปริมาณการให้อาหารจะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ตามกำลังความสามารถของลูกหมูที่จะกินได้ แม้ว่าจะหย่านมลูกหมูแล้วก็ตาม ลูกหมูก็จะได้รับอาหารอัดเม็ดนี้ต่อไปอีกประมาณ 10 วัน หรือลูกหมูมีอายุประมาณ 60 วันนั่นเอง จึงเปลี่ยนเป็นอาหารลูกขุนซึ่งเป็นอาหารผสมเอง

สำหรับแม่พันธุ์ที่ทิ้งลูกไปแล้วนั้นก็จะเลี้ยงอาหารหมูพันธุ์ตามปกติ ซึ่งจะให้อาหารที่มีโปรตีนประมาณ 13% เท่านั้น ปริมาณการให้ในแต่ละตัวในบรรดาพ่อแม่พันธุ์ทั้งหมดนั้นก็ใช้ตัวละประมาณไม่ เกิน 1 กิโลกรัม ต่อวัน การให้อาหารจะให้กินสองเวลาด้วยกันกล่าวคือเวลาเช้า ประมาร 7.00 น. ให้อาหารประมาณ 0.4-0.5 กิโลกรัมและอาจจะให้อีกเวลา 15.00 น.ในปริมาณเท่า ๆ กัน ส่วนน้ำนั้นก็มีให้ตลอดอาจใช้การให้น้ำแบบอัตโนมัติเหมือนกับหมูบ้านที่ เลี้ยงกันโดยทั่วไปก็ได้



การให้หัดให้กินน้ำจากที่ให้น้ำอัตโนมัติในช่วงแรกนั้น เพียงแต่กดให้น้ำไหลและเมื่อหมูป่าเกิดความหิวมันก็จะเข้ามากัดก๊อกน้ำกิน เอง หลังจากหย่านม 1 อาทิตย์ แม่หมูจะเป็นสัดให้ผสมต่อได้ (ตัวเมียเป็นสัด 21 วันครั้ง) ทำให้ได้ลูก 2 ครอกต่อปี
การเลี้ยงดูหมูขุน

ในการเลี้ยงดูหมูขุนนั้นจะให้อาหารสองเวลา เช้า 7.00 น. และบ่ายเวลา 15.00 น. เหมือนกันโดยให้ในปริมาณ 0.4-0.5 กิโลกรัมต่อเวลาต่อตัว เมื่อลูกหมูมีอายุ 4 เดือนก็จะทำการถ่ายพยาธิและอีก 4 เดือน ถัดไปก็ถ่ายพยาธิอีกครั้ง หมูขุนที่เลี้ยงในฟาร์มนี้ ควรจัดให้อยู่คอกละประมาณ 4 ตัว (คอกขนาด 2-2.50 x 3เมตร)

ฉะนั้นอาหารที่ให้ก็เฉลี่ยให้รวมทั้ง 4 ตัว อาหารที่ให้นั้นจะมีโปรตีนต่ำเพียง 9% เท่านั้น ระยะขุน 2 เดือนแรกนั้นจะเร่งการเจริญเติบโตถึงการให้อาหารโปรตีน 13 % สำหรับอาหารที่ให้นั้นก็มีส่วนประกอบของรำละเอียด ปลายข้าว รำหยาบ และหัวอาหาร รำยาบนั้นให้เพื่อเป็นยาระบายและใส่ลงไปโดยไม่ได้คิดโปรตีนรวมด้วย

การให้อาหารจะเพิ่มปริมาณขึ้นเมื่อหมูโตขึ้นด้วยจนกระทั้งสามารถจับจำหน่าย ได้ (การให้อาหารเฉลี่ยตั้งแต่เล็กไปจนจำหน่ายได้นั้นจะใช้ประมาณ 1 กิโลกรัมต่อตัวต่อวัน)

การเลี้ยงดูหมูขุนเพื่อส่งตลาดเวลาที่เลี้ยงจะแตกต่างกัน คือ ถ้าเป็นพันธุ์หน้าสั้นจะใช้เวลาประมาณ 8 เดือน ส่วนพันธุ์หน้ายาวจะใช้เวลาประมาณ 1 ปี ทั้งนี้เพราะหมูป่าจะเป็นที่ต้องการของตลาดก็ตรงหนังของมัน พันธุ์หน้าสั้นหนังจะหนาเร็วเลยถูกเชือดเร็ว พันธุ์หน้ายาวหนังหนาช้าก็ยืดเวลาเชือดออกไปอีก 4 เดือน ทีนี้จะมีคนถามอีกว่าถ้าเอาพันธุ์หน้าสั้นผสมกับพันธุ์หน้ายาว(ตัวผู้หน้า ยาวตัวเมียหน้าสั้น) ก็จะได้ลูกผสมที่มีขนาดใหญ่กว่าพันธุ์หน้าสั้น หนังหนาเร็วกว่าพันธุ์หน้ายาว และใช้เวลาเลี้ยงประมาณ 8 เดือนจึงส่งเชือด เกี่ยวกับต้นทุนค่าอาหาร เมื่อคิดคำนวณต้นทุนอาหารแล้วตกราว 800 กว่าบาทเท่านั้น

ตลอดระยะเวลาเลี้ยงขุน 1 ปีเต็ม ซึ่งจะให้ได้หมูป่าที่มีน้ำหนักประมาณ 60-70 กิโลกรัม แต่เมื่อผ่าซากออกมาแล้วจะได้ส่วนของเนื้อประมาณ 40 กิโลกรัมเท่านั้น คิดคำนวณอัตราการแลกเนื้อแล้วจะได้ประมาณ 2 เท่า เมื่อขายได้ราคาประมาณตัวละสองพันบาทเศษ หากว่าเราสามารถเพาะพันธุ์หมูป่าได้เอง เมื่อคิดหักลบต้นทุนการเลี้ยงด้านต่าง ๆ แล้วจะมีกำไรอยู่ไม่น้อย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น