หน้าเว็บ

วันอังคารที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2554

เครื่องวัดความเข้มข้น ppm ของสาร

HM Digital TDS-EZ Meter/Tester, Water/ppm/Purity/Filter

HM Digital TDS-EZ Meter/Tester, Water/ppm/Purity/Filter
From HM Digital

List Price: $47.50
Price: $17.99 & eligible for FREE Super Saver Shipping on orders over $25. Details

Availability: Usually ships in 24 hours
Ships from and sold by J&R Galaxies

6 new or used available from $15.59
Average customer review:
(31 customer reviews)

Product Description

Factory Calibrated: our meters are calibrated with a 342 ppm NaCl solution. Meters can be recalibrated with a mini-screwdriver. Fun, translucent blue housing that's very strong and durable. Includes a TDS chart sticker on the back of the meter that explains TDS values. Measurement Range: 0-9990 ppm. From 0-999 ppm, the resolution is in increments of 1ppm. From 1000 to 9990 ppm, the resolution is in increments of 10ppm, indicated by a blinking 'x10' image.

Product Details

  • Amazon Sales Rank: #508 in Home
  • Brand: HM Digital
  • Model: TDS-EZ
  • Dimensions: 1.00 pounds

Features

  • Auto-off function: the meter shuts off automatically after 10 minutes of non-use to conserve batteries
  • Hold Function: saves measurements for convenient reading and recording
  • Highly efficient and accurate due to its advanced microprocessor technology
  • Display: large and easy-to-read LCD screen
  • 2 YEAR WARRANTY

อุปกรณ์ตั้งเวลา( ไทม์เมอร์)

Hydrofarm TM01715D 7-Day Digital Program Timer

Hydrofarm TM01715D 7-Day Digital Program Timer
From Hydrofarm

List Price: $29.99
Price: $15.83 & eligible for FREE Super Saver Shipping on orders over $25. Details

Availability: Usually ships in 24 hours
Ships from and sold by Amazon.com

15 new or used available from $14.99
Average customer review:
(14 customer reviews)

Product Description

Use Hydrofarm's 7 day Digital Program Timer to water your system every day, every several days, or several times per day! The timer allows up to 8 on/off times per day, a one (1) minute minimum "on" time, and different settings for different days. The timer is a great way to keep everything on track and promote the healthy growth of your plants and flowers. It's three prong grounded, has an LCD digital display for easy operation, includes a battery backup, and has a dual outlet feature so you don't lose a plug. These timers are great for lights or hydroponic systems. Using timers to automate your hydroponic garden adds convenience and encourages productive growth of your plant. Timers allow you to provide a consistent light, nutrient, and airflow program for your garden. The battery backup assures you stay on schedule even after a power outage. Especially useful for orchid and African violet growers.

Product Details

  • Amazon Sales Rank: #189 in Lawn & Patio
  • Color: White
  • Brand: Hydrofarm
  • Model: TM01715D
  • Released on: 2008-06-25
  • Number of items: 1
  • Dimensions: 2.00" h x 3.00" w x 7.70" l, 3.00 pounds

Features

  • Up to 8 on/off times per day
  • Battery backup assures you stay on schedule even after a power outage
  • Consistent light nutrient and airflow program for your garden
  • Encourages productive growth of your plant Three prong grounded
  • LCD digital display battery backup dual outlet feature
ตั้งเวลาให้น้ำ ให้แสง หรือ อื่นๆ ปั๊มไฮโดรโปนิกส์ อื่นๆ  ตั้งค่าต่างๆ ได้ตามต้องการ

ปุ๋ยไฮโดรโปนิกส์| Hydroponics

General Hydroponics Flora Series QT - FloraGro, FloraBloom, and FloraMicro

General Hydroponics Flora Series QT - FloraGro, FloraBloom, and FloraMicro
From General Hydroponics

List Price: $40.94
Price: $37.50 & eligible for FREE Super Saver Shipping on orders over $25. Details

Availability: Usually ships in 24 hours
Ships from and sold by BGS Supplies

19 new or used available from $24.95
Average customer review:
(8 customer reviews)

Product Description

FLORAGRO: Stimulates structural and vegetative growth. Builds strong roots.
FLORABLOOM: Stimulates flower and fruit development. Enhances flavor, aroma, and essential oils. Provides high Phosphorous, Potassium, Magnesium, and Sulfur
FLORAMICRO: The foundation of the "Building-Block" System. Provides Nitrogen, Potassium, Calcium, and trace elements.

Product Details

  • Amazon Sales Rank: #1488 in Lawn & Patio
  • Brand: General Hydroponics
  • Model: GHFLORAQUARTS

Features

  • GH Flora Series is the original Building Block Nutrient System imitated but never duplicated. Contains complete Primary, Secondary and Micro Nutrients for enhanced yields and better crop quality.
  • Users can adjust mixtures to suit specific plant needs. Enhances flavor, nutrition, aroma and essential oils in both hydroponic and soil cultivated plants
  • Contains highly purified concentrates for maximum solubility.
  • pH balanced for ease of use. NASA and Antarctic research scientists choose Flora Series -- because of its superior formulation and reliability.
ปุ๋ยใช้สำหรับปลูกพืชไฮโดรโปนิกส์  ใช้ได้ทั้งดอกไม้ และผัก ช่วยให้รากพืชแข็งแรง  NASA เลือกใช้ผลิตภัณฑืนี้

วันอังคารที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2554

การปลูกผักหวานป่า


ลักษณะทั่วไปของผักหวานป่า


ผักหวานป่าเป็นพืชในวงศ์ Opiliaceae มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Melientha suavis Pierre ชาวบ้านแถวจังหวัดสุรินทร์เรียก ผักหวานชื่อที่เรียกกันทั่วไป คือ ผักหวาน ซึ่งอาจสับสนกับผักหวานบ้านที่จะกล่าวถึงในตอนท้าย





ผักหวานป่า เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ต้นที่โตเต็มที่อาจสูงถึง 13 เมดร แค่ที่พบโดยทั่วไปมักมีลักษะเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก หรือเป็นไม้พุ่ม เนื่องจากมีการหักกิ่ง เด็ดยอด เพื่อกระตุ้นให้เกิดกิ่งและยอดอ่อนซึ่งเป็นส่วนที่ใช้บริโภค ใบของผักหวานป่าเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับกัน ใบอ่อนรูปร่างแคบรี ปลายใบแหลม สีเขียวอมเหลือง ใบแก่เต็มที่รูปร่างรีกว้าง ถึงรูปไข่หรือรูปไข่กลับ ใบสีเขียวเข้ม เนื้อใบกรอบ ขอบใบเรียบ ปลายใบมน ขนาดของใบประมาณ 2.5-5 ซม. x 6- 12 ซม. ก้านใบสั้น ช่อดอกแตกกิ่งก้านคล้ายช่อดอกมะม่วงหรือลำใย และเกิดตามกิ่งแก่ หรือตามลำต้นที่ใบร่วงแล้ว ดอกมีขนาดเล็กเป็นตุ่มสีเขียวอัดกันแน่นเป็นกระจุก ขณะที่ยังอ่อนอยู่ ผลเป็นผลเดี่ยว ติดกันเป็นพวง เหมือนช่อผลของมะไฟหรือลางสาด แต่ละผลมีขนาดประมาณ 1.5 x 2.5 ซม. ผลอ่อนสีเขียวมีนวลเคลือบ และเปลี่ยนเป็นสีเหลืองถึงหลืองอมส้ม เมื่อผลสุกแต่ละผลมีเมล็ดเดียว
มีพืชอีกชนิดหนึ่งอาจเรียกว่าผักหวานด้วยเช่นกัน ชนิดนี้มีชื่อใน 3-6 เมล็ดผักหวานชนิดนี้รับประทานยอดอ่อนได้เช่นเดียวกัน มีชื่อเรียกอื่น ๆ อีก เช่น มะยมป่า ผักหวาน ผักหวานบ้าน ผักหวานใต้ใบ เป็นต้น

นอกจากนี้ยังมีพืชอีกชนิดหนึ่งที่มี ยอดอ่อนลักษณะเหมือนยอดอ่อนของผักหวานป่ามากจนมีการเก็บผิดอยู่เสมอ และเมื่อกินเข้าไปจะเกิดอาการเมาเบื่อ พืชนี้มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Urobotrya siamensis hiepko คนลำปาง เรียก แกก้องหรือนางแย้ม ชาวเชียงใหม่เรียกนางจุม จันทบุรีเรียก ผักหวานเขา กาญจนบุรีและชลบุรีเรียก ผักหวานดง สระบุรีเรียก ผักหวานเมา หรือช้าผักหวาน ภาดอีสานเรียก เสน หรือ เสม ส่วนทางประจวบคีรีขันธ์เรียกว่า ดีหมี อย่างไรก็ตามหากสังเกตต้นและใบที่แก่ จะมีลักษณะต่างกันเห็นได้ชัดดังนี้







ผักหวานป่า เสน
รูปร่างใบแก่ รูปไข่ค่อนไปทางกลมกว้าง รูปรีขอบขนาน
ปลายใบ มนหรือบุ๋มมีติ่งดรงปลาย แหลมถึงป้านเล็กน้อย
เนื้อใบสด กรอบเปราะเมื่อบีบด้วยอุ้งมือได้ยิน นุ่มเหนียวไม่หักง่าย
เสียงดังกรอบแกรบ
ผิวใบดัานบน เขียวเข้มเป็นมัน เขียวเข้มผิวด้าน
ช่อดอก เกิดตามกิ่งหรือลำต้นแก่ ๆ ไม่มีใบติด เกิดตามซอกใบ
ลักษณะช่อ แดกกิ่งก้าน ไม่แตกกิ่ง
ดอก เป็นกระจุกแน่นไม่มีใบประดับรองรับ ดอกมีใบประดับรองรับเป็น
ชั้น ๆเป็นระเบียบ
ผล ใหญ่เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ เล็กเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ
1.5 ซม.เมื่อสุกมีสีเหลือง 5 มม. เมื่อสุกมีสีส้ม
แดงถึงแดงจัด


การขยายพันธุ ์


การขยายพันธุ์ผักหวานป่าที่ได้ผลดีที่สุดในปัจจุบันคือ วิธีการเพาะเมล็ด เนื่องจากวิธีการอื่น ๆ เช่น การตอน การตัดชำ มีเปอร์เซ็นต์การออกรากด่ำมาก และใช้เวลานานไม่น้อยกว่า 4 เดือน จึงจะออกราก รวมทั้งจำนวนกิ่งที่ได้น้อย เนื่องจากต้นแม่พันธุ์หายาก การขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดจึงเป็นวิธีที่ง่ายและได้ผลมากที่สุด โดยมีเงื่อนไขและวิธีปฎิบัติ ดังนี้
1. คัดเฉพาะผลผักหวานป่าที่สุดและสดใหม่เท่านั้น
2. แยกเนื้อหุ้มเมล็ดทิ้ง และขัดล้างเมล็ดให้สะอาดด้วยตะแกรง หรือภาชนะที่มีผิวหยาบ เช่นในกระดังหรือเข่งไม้ไผ่ ควรใส่ถุงมือยางขณะทำงานเนื่องจากเนื้อหุ้มเมล็ดมีสารที่ระคายเคืองต่อผิวหนัง
3. นำเมล็ดที่ขัดสะอาดแล้วแช่น้ำ แยกเมล็ดที่ลอยน้ำออก
4. นำเมล็ดที่จมน้ำขื้นผื่งพอสะเด็ดน้ำ คลุกด้วยยากันราให้ทั่ว แล้วนำขึ้นเกลี่ยในกระด้งหรือตะแกรงให้เป็นชั้น หนาไม่เกิน 1 นิ้ว คลุมตะแกรงด้วยกระสอบป่าน ที่ชุบน้ำหมาด ๆ เก็บไว์ในที่ร่ม 2-3 วัน
5. ดรวจดูเมล็ด ถ้าเปลือกเมล็ดเริ่มแตกร้าว ให้นำไปเพาะในถุงพลาสติกที่มีความลึกไม่น้อยกว่า 8 นิ้ว
6. วัสดุที่ใช้เพาะได้ผลดีควรใช้ดินลูกรัง ทรายหยาบ และปุ๋ยคอกเก่า หรือใบไม้ผุ ร่อนด้วยดะแกรงตาถี่ครื่งเซนดิเมตร ผสมกันในอัตราส่วน 1:1:1 โดยปริมาตร
7.วิธีเพาะให้กดเมล็ดด้วยนิ้วมือพอให้เมล็ดจมเสมอผิวดิน หรือโผล่พ้นผิวดินเพาะเล็กน้อยนำไปไว้ไตัร่มเงาที่มีความเข้มแสง ประมาณ 40-50 %
8. ดูแลรดน้ำให้พอวัสดุเพาะชื้น ระวังอย่าใหัแฉะ
ในช่วงเดือนแรกผักหวานป่าจะมีการพัฒนาของระบบรากอย่างรวดเร็ว เมื่อเข้าเดือนที่สองจึงเริ่มทะยอยแทงยอดขึ้นพ้นดินให้เห็นบ้าง หลังจากเพาะได้ 2 เดือนครึ่ง ต้นผักหวานป่าจะสูงประมาณ 5 -10 ซม.หลังจากนี้อาจใช้ปุ๋ยเกร็ดสูตร 15-15-15 ผสมน้ำฉีดพ่นกล้าทุก 2 สัปดาห์ การเจริญเติบโตของลำต้นเหนือดินในปีแรกจะช้ามาก




การปลูกและบำรงรักษา

ควรเริ่มเตรียมหลุมปลูกในช่วงหลังสงกรานต์ โดยขุดหลุมขนาด 50X50 ซม.รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักประมาณครึ่งปี๊บ คลุกเคล้าผสมกับหน้าดิน โดยลงหลุมทิ้งไว้ 2-3 อาทิตย์ในขณะเดียวกันก็เริ่มสร้าง ความแข็งแรงให้ต้นกล้าก่อนย้ายปลูกลงหลุม จริงด้วยการรดน้ำให้น้อยลง ให้ต้นกล้าได้รับ แสงแดดเพิ่มขี้นทีละน้อย ละลายปุ๋ยโปแตสเซียมในเตรท ความเข้มขันไม่เกิน 2 % (1 กรัมต่อน้ำ 50 ลิดร) รดต้นกล้าก่อนย้ายปลูก ประมาณ 2 อาทิตย์และงดให้น้ำ 1 วัน ล่วงหน้าก่อนย้ายปลูก ในการถอดถุงพลาสติกเพื่อนำกล้าลงปลูกในหลุม ต้องระวังอย่าให้กระเปาะดินแตกหักหรือรากขาด เพราะจะทำให้ต้นกล้าชะงักการเจริญเดิบโตเป็นเวลานาน การปลูกควรให้ต้นกล้าสูงกว่าปากหลุมประมาณ 5 ซม. แล้วพูนดินกลบโคนขึ้นโดยรอบ เพื่อป้องกันไม่ให้มีน้ำขังในหลุมปลูกเมื่อมีการให้น้ำหรือฝนตก จากนั้นหว่านเมล็ดถั่วเขียวเป็นวงรอบหลุมให้ห่างจากต้นกล้าประมาณ 15-20 ซม. เพื่อให้ต้นถั่วเป็นพี่เลี้ยงในระยะแรก ก่อนสิ้นฤดูฝนประมาณเดือนกันยายน ให้หว่านถั่วมะแฮะ หรือพืชตระกูลถั่วที่มีลำต้นสูงและไม่ทิ้งใบช่วงฤดูแล้ง โดยหว่านเป็นวงรอบห่างจากต้นผักหวานป่า รัศมี 70-100 ซม. เพื่อให้เป็นไม้บังร่มในช่วงฤดูแล้ง ระยะปลูกผักหวานป่าควรใช้ระยะ 2-3 X 2-3 เมตร โดยเลือกสภาพที่ดินที่ลาดเอียงเล็กน้อย หรืออาจปลูกแซมในส่วนที่ค่อนข้างแห้งแล้งได้ เช่นในสวนป่าสัก ผักหวานป่าจะใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 3 ปี จึงเจริญเติบโตถึงระยะเริ่มเก็บผลผลิตได้ การใส่ปุ๋ยกระตุ้นการเจริญเติบโต ควรใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยที่หมักจนสลายตัวดีแล้ว หว่านกระจายโดยรอบโคนต้นในรัศมี 50 ซม. ต้นละ 1 ปี๊บในช่วงฤดูฝนปีละครั้ง ห้ามใช้จอบขุดพรวนรอบโคนต้น หากต้องการกำจัดวัชพืชให้ใช้ วิธีถอนหรือใช้มีดฟันให้ราบ เพื่อป้องกันรากผักหวานไม่ให้กระทบกระเทือน

การกระตุ้นยอดอ่อนเพื่อเก็บจำหน่าย

เมื่อผักหวานป่าเจริญเติบโตเต็มที่ ก็เริ่มทำการตัดแต่งกิ่ง โดยหักปลายกิ่งแขนงทิ้งให้เหลือยาว 15-20 ซม. รูดใบแก่บางส่วนทิ้งให้เหลือติดกิ่งละ 3-4 ใบ พร้อม ๆ กับการให้น้ำพอดินชื้น เมื่อยอดแตกออกมายาวประมาณ 15-25 ซม. ก็ตัดออกและมัดเป็นกำส่งจำหน่ายได้ หลังจากตัดยอดออกจำหน่ายแต่ละครั้ง ให้ใส่ปุ๋ยคอกต้นละ 1-2 ปี๊บหว่านรอบโคนต้นพร้อมกับให้น้ำ เพื่อบำรุงต้นให้สมบูรณ์ไดยเร็วต่อไป

การปลูกเห็ด,การเพาะเห็ดก้อน,การเพาะเห็ดกระด้าง

การเพาะเห็ดกระด้าง

(อัญชลี เชียงกูล)



เห็ดกระด้างหรือเห็ดลม (เห็ดบด, เห็ดขอนดำ) Lentinus polychrous Lev.

เป็นเห็ดพื้นเมืองที่มีรสชาติดี เป็นเห็ดมีครีบที่มีหมวดดอกขนาดใหญ่ กว้าง 5 – 12 เซนติเมตร ก้านสั้น 1 – 2 เซนติเมตร สีน้ำตาลถึงน้ำตาลปนดำ ในธรรมชาติ มักพบบนขอนไม้ล้มในตระกูลเต็งรังหรือไม้ใบกว้าง ดอกเห็ดอาจเกิดขึ้นเดี่ยว ๆ หรือขั้นซ้อนกันบนขอนไม้ มักพบเกิดขึ้นในช่วงฤดูร้อนต่อฤดูฝนหรือฤดูฝนต่อฤดูหนาว ที่อากาศกลางวันและกลางคืน อุณหภูมิต่างกันมาก ๆ เห็ดชนิดนี้ ดอกอ่อนจะนิ่ม เมื่อแก่จะเหนียวและแข็ง จึง สามารถเก็บรักษาไว้รับประทานได้นานข้ามปี เวลาจะนำมาปรุงอาหารก็นำไปแช่น้ำให้คืนสภาพ เหมือนเห็ดหูหนู เป็นเห็ดที่มี รสหวานกว่าเห็ดชนิดอื่น ๆ ในตระกูลเดียวกัน ดอกอ่อนนำไปแกงซุปหรือลาบให้ความรู้สึก ในการรับประทานคล้ายเนื้อสัตว์ คือกรุบเหนียว ลื่นลิ้น จึงเป็นที่นิยมรับประทานของคน ในภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ดังนั้นจึงเป็นพื้นที่ ๆ เป็นแหล่งผลิตด้วย ราคาของเห็ดกระด้างค่อนข้างสูง กว่าเห็ดพื้นเมืองชนิดอื่น ๆ ตกกิโลกรัมละ 80-200 บาท แล้วแต่ฤดูกาล เกษตรกรบางรายสามารถทำรายได้สูงกว่า 5 หมื่นบาทต่อเดือน เห็ดลมเป็นเห็ดพื้นเมืองอีกชนิดหนึ่ง ที่ได้รับการพัฒนาเพื่อการเพาะปลูกเป็นการค้า ซึ่งกรมวิชาการเกษตร โดยอัญชลี (2540ข) ได้คัดเลือกสายพันธุ์ดีไว้บริการและจำหน่ายแก่เกษตรกร พร้อมทั้งได้วิจัยและพัฒนาสูตรวัสดุเพาะ ซึ่งมีหลายสูตรด้วยกันดังนี้

วัสดุเพาะ



สูตรวัสดุเพาะที่ 1 (อัญชลี, 2540ข)


ขี้เลื่อยไม้ยางพารา หรือไม้มะม่วง มะขาม 100 กิโลกรัม
น้ำตาลทราย 2-3 กิโลกรัม
รำ 3-5 กิโลกรัม
ปูนขาว 1 กิโลกรัม
น้ำ 65-75 กิโลกรัม (ลิตร)

สูตรวัสดุเพาะที่ 2 (พิมพ์กานต์, 2540 )


ไม้เบญพรรณ 100 กิโลกรัม
แอมโมเนียมชัลเฟต 1 กิโลกรัม
ปูนขาว 1 กิโลกรัม
ผสมส่วนผสมทั้ง 3 ชนิด หมักกับน้ำประมาณ 2-3 เดือน กลับกองประมาณ 3-4 ครั้ง นำไปผสมกับ รำละเอียด 3 กิโลกรัม น้ำตาลทราย 2 กิโลกรัมปรับความชื้นประมาณ 50 – 55 เปอร์เซ็นต์


วัสดุและอุปกรณ์


1. ถุงพลาสติกใสทนร้อนขนาด 3X13 นิ้ว
2. คอขวดพลาสติกทนร้อน
3. สำลี ยางรัด
4. หม้อนึ่งลูกทุ่ง
5. วัสดุเพาะตามสูตร
6. โรงพักบ่มเลี้ยงใยและโรงเรือนเปิดดอก

วิธีการ

1. ผสมสูตรวัสดุเพาะเข้าด้วยกัน โดยนำน้ำตาลละลายในน้ำจากนั้นนำไปรดบนขี้เลื่อย ซึ่งผสมกับรำไว้เรียบร้อยแล้ว ผสมจนเข้ากันดี จึงนำไปบรรจุในถุงพลาสติกทนร้อน กดให้แน่น
2. รวบปากถุง รวบคอขวด จีบและพับปากถุง ดึงให้ตึงรัดด้วยยางวง แล้วอุดด้วยฝ้ายหรือสำลี และนำกระดาษหนังสือพิมพ์หรือฝาครอบพลาสติกมาปิดไว้ ป้องกันไม่ให้สำลีเปียก ขณะทำการนึ่งวัสดุเพาะ
3. นำไปเรียงในหม้อนึ่งลูกทุ่ง เต็มแล้วจึงปิดฝา แล้วนึ่งโดยไม่ใช้ความดันเป็นเวลา 3-4 ชั่วโมง โดยใช้ไฟสม่ำเสมอสังเกตุให้ไอน้ำพุ่งตรงตลอดเวลา ต้องพยายามเติมเชื้อเพลิงให้สม่ำ เสมอด้วย เมื่อได้เวลาแล้ว นำมาทิ้งไว้ให้เย็นในที่สะอาด และ อากาศโปร่ง แล้วนำเชื้อ ขยายมาถ่ายลงถุงเพาะ พยายามใส่เชื้อขยายภายใน 24 ชั่วโมงหลังจากถุงเพาะเย็นแล้ว มิฉะนั้นเส้นใยจะเดินไม่ตรง เนื่องจากจะมีเชื้อปนเปื้อนเข้ามาแทรกได้

การพักบ่มเส้นใย

เส้นใยที่เจริญในถุงวัสดุเพาะเห็ด 1 กิโลกรัม จะใช้เวลา 30-35 วัน จึงจะเติม ถุงเพาะเพื่อเส้นใยเดินเต็มถุงต้องพักบ่มเส้นใยต่อไปจนเส้นใยเริ่มสร้างสี น้ำตาล โดย เฉลี่ยจะใช้เวลา 80-90 วัน จึงนำไปเปิดดอก โรงพักบ่มเส้นใยควรเป็นโรงเรือนที่ร่ม โปร่ง อากาศถ่ายเทได้ดี อุณหภูมิอยู่ระหว่าง 28-35 องศาเซลเซียส

โรงเรือนเปิดดอก

คล้ายโรงเรือนของเห็ดขอนขาว สามารถมุงด้วยพลาสติกและพรางแสงด้วยซาแลน ไม่จำ เป็นต้องใช้แฝกหรือจาก เพราะเป็นเห็ดที่ชอบอุณหภูมิสูง โดยให้มีความชื้น 70-80 %
ในการเปิดดอกเห็ดลม เห็ดจะออกดอกได้ดี เมื่ออากาศแปรปรวนหรืออุณหภูมิกลางวัน ต่อกลางคนต่างกันมาก มีเกษตรกรที่ชำนาญการเพาะเห็ดลมในภาคอีสาน นิยมกระตุ้น ให้เห็ดออกดอกสม่ำเสมอโดยปิดโรงเรือนให้ร้อนในช่วงเทียงถึงบ่าย 3 โมงเย็น โดย อุณหภูมิในโรงเรือนอยู่ระหว่าง 35-37 องศาเซลเซียส แต่ไม่ควรเกิน 40 องศาเซลเซียส เพราะเส้นใยอาจตายได้ หากอุณหภูมิขึ้นสูงมาก ก็จะระบายความร้อนโดยการรดน้ำด้วย สปริงเกอร์ ส่วนในเวลากลางคนจะเปิดโรงเปิดดอก ให้ได้รับความเย็นและอากาศ ถ่ายเทได้เต็มที่ จะช่วยให้ผลผลิตออกสม่ำเสมอได้ ซึ่งเป็นเทคนิคที่ผู้สนใจเห็ดลม ควรฝึกปฏิบัติและสังเกตเทคนิคให้ดี จึงจะประสบผลสำเร็จในการเพาะนอกจากนี้เกษตร กรบางราย อาจใช้วิธีรดน้ำที่ก้อนเพาะให้ชุ่มแล้วนำผ้า พลาสติกมาคลุมกองไว้ 2-3 วัน เมื่อเริ่มเห็นตุ่มดอกจึงลดอุณหภูมิในโรงเรือนและระบายอากาศให้ดอกเห็ดเจริญ ต่อไป การให้ผลผลิตของเห็ดกระด้างแต่ละครั้งจะทิ้งช่วงห่างกัน 15-20 วันในแต่ละรุ่น

การเก็บผลผลิต

การเก็บดอกเห็ด เก็บในระยะที่ดอกเห็ดมีอายุ 2-3 วัน หรือขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของหมวกเห็ดไม่เกิน 6 เซนติเมตร เป็นขนาดที่มีราคาดีที่สุด ทั้งการบริโภคสดหรือทำแห้งผลผลิตเฉลี่ยของเห็ดกระด้างประมาณ 100-250 กรัมต่อถุง เก็บได้ในระยะเวลา 100-120 วัน การตลาด ราคาของเห็ดมีเส้นผ่าศูนย์กลางไม่เกิน 6 เซนติเมตร จำหน่ายเฉลี่ยกิโลกรัมละ 80-100 บาท สามารถจำหน่ายในรูปของดอกเห็ดสดและเห็ดแห้ง

ควรเก็บดอกเห็ดในขณะที่ปลายขอบหมวกยังโค้งงอ ลักษณะคล้ายการเก็บดอกเห็ดขอนขาว จะได้ดอกเห็ดที่มีคุณภาพ หวานนุ่ม เหมาะที่จะนำไปผัดหรือซุป หากเก็บดอกแล้วระยะนี้ จะได้ดอกที่เหนียว เคี้ยวยาก เช่น ดอกที่เก็บในธรรมชาติ แต่คนท้องถิ่นพื้นเมือง ก็มีภูมิปัญ ญาท้องถิ่น โดยนำดอกไปฉีก หรือสับ ก่อนปรุงเป็นลาบหรือใส่แกงแค (แกงพื้นเมืองภาคเหนือ) นับเป็นเห็ดที่อร่อยชนิดหนึ่งเลยทีเดียว


แหล่งจำหน่ายเชื้อ
- สวนเห็ดบ้านอรัญญิก จ.กรุงเทพฯ 02-8898740-7.(02) 441-0369, 441-9263
-ศูนย์ไบโอเทค เลขที่ 19/7 ม.11 ต.คลองหลวง จ.ปทุมธานี 12120 โทร.(02) 908-3010-3
-ฟาร์มเห็ดนางฟ้าคุณแดง นครราชสีมา โทร.0-4435-7084
-ฟาร์มเห็ดรุจิรา กาฬสินธ์ โทร.0-4382-0960

การขยายพันธุ์และวิธีการปลูกองุ่น


 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับองุ่น

ประโยชน์ขององุ่น
        องุ่นเป็นผลไม้ที่มีประโยชน์หลายประการ แต่ต้องเลือกนำมาใช้ประโยชน์ให้เหมาะสมกับ
ชนิดและพันธุ์ขององุ่น เพราะนอกจากใช้รับประทานสดแล้ว ยังสามารถนำไปแปรรูปทำเป็น
อุตสาหกรรมอื่น ๆ อีกหลายชนิด

ประโยชน์ขององุ่นในปัจจุบันสามารถแบ่งได้เป็น 5 ประเภท ดังนี้
1. ใช้รับประทานสด
2. ใช้ตากแห้ง (ลูกเกด)
3. ใช้ทำเหล้าองุ่น (wine)
4. คั้นทำน้ำองุ่นสด
5. บรรจุกระป๋อง

ชนิดและพันธุ์องุ่น
         ชนิดและพันธุ์ขององุ่นมีมากมายนับเป็นพันเป็นหมื่นชนิด เนื่องจากมีการนำพันธุ์ต่าง ๆ
มาผสมพันธุ์กันโดยเฉพาะนำพันธุ์จากยุโรปและอเมริกาซึ่งนิยมปลูกองุ่นกันมากมาผสมพันธุ์กัน
เพื่อให้ได้พันธุ์ที่เหมาะสมกับสภาพที่ปลูกการปลูกองุ่นจะต้องคำนึงถึงความประสงค์ที่จะใช้
ประโยชน์ตามที่ตลาดต้องการเนื่องจากบางพันธุ์ เหมาะสมกับการรับประทานสด บางพันธุ์
เหมาะกับการทำองุ่นแห้ง บางพันธุ์เหมาะกับการทำเหล้าองุ่น (wine) ด้วยเหตุนี้จึงกล่าวถึง
ชนิดและพันธุ์ขององุ่น เพื่อประโยชน์ในด้านต่าง ๆ ดังนี้

การขยายพันธุ์และวิธีการปลูกองุ่น

พื้นที่สำหรับปลูกองุ่น
การปลูกองุ่นให้ได้ผลดี ต้องพิจารณาพื้นที่ที่จะปลูก ดังนี้
1. ดินมีความอุดมสมบูรณ์ดี
2. มีอากาศที่เหมาะสม
3. เป็นพื้นที่ปราศจากโรคและแมลงรบกวนหรือมีน้อย

ลักษณะของดิน

      แม้ว่าองุ่นจะขึ้นได้ในพื้นที่ดินเกือบทุกชนิดก็ตามแต่สำหรับเมืองไทยเห็นว่า
จำเป็นต้องเลือกดินร่วนปนทราย มีอินทรียวัตถุสมบูรณ์ระบายน้ำได้ดีรวมทั้งดินมี
ความโปร่งชุ่มชื้นซึ่งรากจะไชชอนหาอาหารได้ดีหากดินที่ปลูกขาดธาตุอาหารชนิด
ใดควรเสริมให้สมบูรณ์ซึ่งองุ่นชอบดินที่เป็นกรดอ่อน มีค่า pH ระหว่าง 5.5 - 5.6

ความชื้นและอากาศ

        องุ่นเจริญเติบโตได้ดีในพื้นที่ที่อุณหภูมิค่อนข้างสูง แสงแดดจัด ความชื้น
ในอากาศต่ำระดับน้ำฝนไม่ควรเกิน 40 นิ้ว และไม่น้อยกว่า 15 นิ้วต่อปี นอกจาก
นี้ ควรมีการชลประทานช่วย เพราะในบางระยะองุ่นมีความต้องการน้ำมาก เช่น ในระยะเริ่มติดผลปราศจากโรคและแมลงดินฟ้าอากาศมีส่วนทำให้แมลงเจริญ
เติบโตได้ง่ายการเลือกพื้นที่ ที่จะปลอดภัยจากโรคและแมลงอาจทำได้ยาก
อย่างไรก็ตาม ต้องสังเกตพื้นที่รอบ ๆ ที่จะปลูกองุ่น เช่น ไม่รกรุงรัง ชาวไร่
ข้างเคียงสนใจต่อการป้องกันโรคและแมลงหรือไม่  ทั้งนี้ในปัจจุบันความ
ก้าวหน้าในการป้องกันโรคและแมลงมีความก้าวหน้ามาก สามารถที่จะต่อสู้
ได้ แต่ก็ไม่ควรต้องลงทุนสูง


การขยายพันธุ์องุ่น

     องุ่นเป็นผลไม้ที่ขยายพันธุ์ได้ง่ายรวดเร็วส่วนมากชาวไร่องุ่นจะซื้อพันธุ์
จากสถานที่จำหน่ายพันธุ์มาปลูกเพราะเป็นการสะดวกแต่ถ้าหากว่าผู้ปลูกทำ
การขยายพันธุ์เองจะเป็นการประหยัดและมีความมั่นใจพันธุ์ที่นำมาปลูก
อย่างไรก็ตาม ผู้ปลูกองุ่นควรมีความรู้ ความชำนาญสามารถขยายพันธุ์
ได้เองจะเป็นการลดต้นทุน ซึ่งการขยายพันธุ์องุ่นสามารถทำได้ถึง 6 วิธี
1. การเพาะเมล็ด
2. การตัดกิ่งปักชำ
3. การติดตา
4. การทับกิ่ง
5. การตอน
6. การต่อเสียบ

การขยายพันธุ์แต่ละวิธีมีขั้นตอนและรายละเอียด ดังนี้

1. การขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด
    การขายพันธุ์ด้วยวิธีนี้ ไม่ค่อยนิยมกันมากนัก เพราะพันธุ์ที่ได้จะออกดอก
ออกผลช้า ไม่ตรงตามพันธุ์ บางพันธุ์มีเมล็ดเว้นแต่จะทำการผสมพันธุ์แล้ว
เพาะเมล็ดเพื่อได้พันธุ์ที่ดีกว่าเดิม วิธีการเพาะเมล็ดทำได้โดยการเก็บเมล็ด
จากผลองุ่นที่สุกแก่เต็มที่แล้ว นำไปเก็บไว้ในทรายชื้นหรือในตู้เย็นสัก
2 - 3 เดือน เพื่อให้มีการพักตัว หลังจากนั้นนำไปเพาะในกระบะหรือใน
แปลงเพาะโดยใช้ขี้เถ้าแกลบผสมกับทรายหยาบและปุ๋ยคอกลงไปด้วย
หว่านเมล็ดองุ่นลงในกระบะเพาะหรือในแปลงเพาะใช้หญ้าแห้งหรือ
ฟางแห้งคลุมไว้เพื่อรักษาความชื้น รดน้ำให้ชุ่มชื้นทุกวัน
ประมาณ 20 - 30 วัน จะเริ่มงอกแตกเป็นต้นสูงประมาณ 20 เซนติเมตร
แยกนำไปชำในถุงพลาสติกหรือในแปลงชำ เมื่อลำต้นแข็งแรงสามารถนำ
ไปปลูกในพื้นที่ที่เตรียมไว้

2. การขยายพันธุ์ด้วยการตัดกิ่งปักชำ
    การขยายพันธุ์ด้วยวิธีนี้ จะได้พันธุ์ตรงตามพันธุ์เดิม โดยตัดจากกิ่งองุ่น
ที่แก่ มีอายุไม่เกิน 1 ปีควรใช้กิ่งขนาดกลาง มีข้อถี่ ตัดยาวประมาณ 7 - 8 นิ้ว เลือกกิ่งที่มีตาบริสุทธิ์ไม่บอดไม่เสียการปักชำ จะปักลงในกระบะทรายหรือใน
แปลงปักชำก็ได้ โดยใช้ขี้เถ้าแกลบผสมกับทรายและปุ๋ยคอก ราดด้วยยาฆ่าเชื้อรา
เช่น ยาบอร์โดมิกซ์เจอร์ แล้วนำกิ่งที่เตรียมไว้มาปักชำควรปักลงไปในดินไม่
น้อยกว่า 2 ข้อ มีตาเหลือพ้นดิน 2 - 3 ตา ควรปักให้เอนไปทางทิศตะวันตกหันตา
ไปทางทิศตะวันออก กดดินที่โคนกิ่งให้แน่น อย่าให้ถูกแสงแดดมาก รดน้ำให้ชุ่มชื้น
อยู่เสมอ แต่อย่าให้แฉะ ประมาณ 15 - 20 วัน ก็จะแตกใบอ่อน เมื่อแตกกิ่งและมี
ใบแข็งแรง ให้แยกไปชำในถุงพลาสติกที่บรรจุดินผสมปุ๋ยคอก และขี้เถ้าแกลบ
เพื่อให้เติบโตจึงนำไปปลูกต่อไปหรือจะนำไปชำในแปลงชำ จนกระทั่งสามารถ
นำไปปลูกในไร่ได้ ซึ่งใช้เวลาประมาณ 7 - 8 เดือน อย่าชำไว้นานเพราะเมื่อย้าย
ไปปลูกจะทำให้ต้นแคระแกรน ลำบากต่อการย้ายไปปลูกซึ่งการย้ายกิ่งปักชำไป
ปลูกในไร่ให้ตัดเถาเหลือ 2 - 3 ตา พ่นยาป้องกันโรคก็สามารถปลูกในไร่ต่อไปได้

3. การขยายพันธุ์ด้วยวิธีติดตา
    การขยายพันธุ์ด้วยวิธีนี้ ส่วนใหญ่จะทำเพื่อนำตาขององุ่นพันธุ์ดีไปติดกับต้นตอ
ที่เป็นพันธุ์ไม่ดีแต่แข็งแรงวิธีทำให้เฉือนตาต้นพันธุ์ดีเข้าไปในเนื้อไม้แล้วบากต้นตอ
ให้มีลักษณะเดียวกับตาที่เฉือนมา นำเนื้อไม้ที่มีตาสอดเข้าไปในรอยบากของต้นตอ
มัดด้วยเชือกพลาสติกหรือเชือกกล้วย แล้วพันด้วยผ้าพลาสติก หรือผ้าชุบขี้ผึ้งโดย
เปิดตาไว้ เมื่อตาแตกกิ่งและรอยที่ต่อติดแน่นแล้ว จึงแก้เชือกและผ้าพลาสติกที่พัน
ออก อย่าปล่อยทิ้งไว้ให้นานมาก หากไม่แก้ออกจะทำให้กิ่งคอดไม่เติบโต

4. การขยายพันธุ์ด้วยการทับกิ่ง
    การขยายพันธุ์องุ่นด้วยวิธีนี้ สามารถขยายพันธุ์กับองุ่นได้ทุกพันธุ์ซึ่งได้ผลแน่นอน
วิธีทำก็คือโน้นเถาองุ่นที่มีอายุตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป ตัดแขนง ใบ และยอดอ่อนทิ้ง นอนเถา
ลงในรางที่ขุดลึก3 - 5 นิ้ว  ใช้ไม้ไผ่หรือลวดทำเป็นง่ามปักคร่อมเถาไว้ ป้องกันการ
หลุดเลื่อน ใช้ดินผสมกับ ปุ๋ยคอก หรือหญ้าผุ ๆกลบทับให้มิดพูนดินทับให้สูงกว่า
ระดับดินคลุมด้วยหญ้าหรือฟางรดน้ำให้ชุ่มชื้นอยู่เสมอ ประมาณ 1 - 2 เดือน
ก็จะออกรากตามข้อกิ่งและแตกยอดเป็นกระโดงเมื่อพ้นดินพอสมควรแล้วให้
ตัดเป็นท่อนๆระหว่างข้อให้มียอดกระโดงท่อนละ 1 กระโดงนำไปชำในถุง
พลาสติกเมื่อตั้งตัวแข็งแรงดีแล้วก็สามารถนำไปปลูกได้

5. การขยายพันธุ์ด้วยวิธีการตอน
    การตอนเพื่อการขยายพันธุ์องุ่นไม่เหมือนกันกับการตอนต้นไม้ทั่ว ๆ ไปซึ่งต้อง
ควั่นกิ่งส่วนการตอนต้นองุ่น  ให้นำดินหุ้มตรงข้อแล้วใช้มอสหรือกาบมะพร้าวหุ้ม
ดินห่อด้วยพลาสติกหรือใบตองรดน้ำให้ชุ่มชื้นประมาณ 10 - 15 วัน ก็ออกรากหลัง
จากนั้นตัดกิ่งตอนนำไปชำในกระบะทรายหรือขี้เถาแกลบเมื่อกิ่งตอนแตกใบแข็งแรง
ดีแล้ว สามารนำไปปลูกได้

6. การขยายพันธุ์ด้วยการต่อเสียบ
    การขยายพันธุ์ด้วยการต่อเสียบทำได้หลายวิธี แต่จะกล่าวเฉพาะการต่อเสียบ
ในแปลง วิธีทำก็คือขุดดินโคนต้นองุ่นที่ใช้ทำเป็นต้นตอ ลึกประมาณ 4 - 5 นิ้ว
แล้วใช้มีดหรือเลื่อยตัดต้นตอให้เสมอระดับดินหลังจากนั้นใช้มีดคม ๆ ผ่าต้นตอ
ตรงกลางเพื่อให้แยกออกเป็น 2 ส่วน ลึกประมาณ 2 นิ้ว ตัดกิ่งองุ่นพันธุ์ดี
มีตาบริสุทธิ์ เอามีดปาดกิ่งให้เป็นลิ่มแล้วเสียบลงในช่องของต้นตอที่ผ่าไว้
ให้เปลือกของกิ่งกับเปลือกของต้นตอประสานกันให้สนิท ใช้เชือกหรือพลาสติก
พันรัดให้แน่น กลบดินพูนขึ้นทับตาบนกิ่งพันธุ์ดีเมื่อตาแตกกิ่งให้เอาเชือกหรือ
พลาสติกออก กิ่งองุ่นที่เสียบใหม่จะเจริญเติบโตเป็นองุ่นพันธุ์ดีต่อไป



วิธีการปลูกองุ่น

การเตรียมพื้นที่
    องุ่นชอบดินร่วนที่อุดมสมบูรณ์ด้วยอินทรียวัตถุ มีความชุ่มชื้นระบายน้ำได้ดี
การเตรียมดินสำหรับปลูกองุ่น มีวิธีการดังนี้

1. พื้นที่ดินทราย ซึ่งเป็นดินที่ไม่ค่อยอุดมสมบูรณ์ควรปลูกพืชตระกูลถั่วเพื่อเป็น
การบำรุงดินโดยปลูกไว้ล่วงหน้าแล้วไถกลบเมื่อออกดอก

2. พื้นที่ดินเหนียว น้ำท่วมถึง ให้ทำการยกร่องให้สูงอย่าให้น้ำท่วมถึงใส่ปุ๋ยหมัก
และทรายหยาบผสมลงในดินเพื่อให้ดินโปร่งร่วนซุย

3. พื้นที่ดินดอนหรือลาดเขา ให้ทำการไถให้ลึก ตากดินไว้สัก 1 สัปดาห์ ปลูกพืช
ตระกูลถั่ว แล้วไถกลบเมื่อออกดอกจะเป็นการทำให้ดินมีลักษณะดีขึ้น

วิธีปลูก
    เมื่อเตรียมพื้นที่เสร็จเรียบร้อยแล้วให้กะระยะในการขุดหลุมปลูกหากเป็นดินที่
อุดมสมบูรณ์ควรปลูกให้ห่างกันระหว่างต้น 2.50 - 3.00 เมตร      ระหว่างแถว
4.00 เมตร ถ้าเป็นดินเหนียวก็ให้ถี่ลงกว่านี้ทั้งนี้การกะระยะปลูกขึ้นอยู่กับสภาพ
ท้องที่และพันธุ์องุ่นที่ปลูกประกอบด้วย  แถวที่ปลูกองุ่นควรยกเป็นลูกฟูกตลอด
แถวอย่างน้อยกว้าง 1.50 เมตร หากเป็นที่ลาดให้ทำร่องขวางเพื่อป้องกันการพัง
ของดิน

การขุดหลุมปลูก
    ให้ขุดหลุมกว้าง 1 เมตร ลึก 1 เมตร แยกดินปากหลุมและก้นหลุมไว้ต่างหาก
ตากดินให้ แห้งประมาณ15 - 20 วัน ผสมดินปากหลุมกับปุ๋ยคอกไว้ก้นหลุมและ
ผสมดินก้นหลุมกับปุ๋ยคอกไว้ ปากหลุมแล้วจึงนำต้นองุ่นลงปลูก ตัดกิ่งเล็ก ๆ ออก
เหลือแต่ลำต้นมีตา 2 - 3ตา ตัดรากที่ไม่แข็งแรงออก นำดินที่ผสมปุ๋ยคอกกลบดิน
ที่โคนให้เป็นโคกนูน กดดินให้แน่นปักหลักผูกลำต้นกันโยนคลอน รดน้ำให้ชุ่ม ใช้
ใบมะพร้าว หรือใบไม้ทำกำบังแสงแดด หลังจากปลูกประมาณ 1 เดือน จะแตกตา
แตกกิ่ง แตกใบงอกงามเจริญเติบโตแข็งแรงการปลุกองุ่นควรปลูกต้นฤดูฝนซึ่งจะ
เป็นการประหยัดในเรื่องการรดน้ำ

ค้างองุ่น
    เนื่องจากองุ่นเป็นพันธุ์ไม้เลื้อยหากปลูกแล้วไม่ทำค้าง เถาองุ่นจะเลื้อยไปตาม
พื้นดินทำให้ เจริญเติบโตช้า เกิดโรคได้ง่าย ผลที่ออกมาก็จะกองอยู่กับพื้นดิน
เกิดการเน่าเสียจึงจำเป็นต้องทำค้างให้องุ่นที่ปลุกเลื้อยขึ้นค้าง
การทำค้างองุ่น ที่นิยมกันมี 3 แบบ ดังนี้

1. การทำค้างแบบร้านสูง หรือร้านเตี้ย โดยใช้ไม้ระแนงตีเป็นร้านจะให้สูงหรือ
เตี้ยก็แล้วแต่ ความต้องการหรือจะใช้ลวดตาข่ายห่าง ๆ ขึงก็ได้ เมื่อองุ่นออกผล
พวงองุ่นจะห้อยลงมาใต้ร้าน แต่ มีข้อเสียก็คือ ยากแก่การตัดแต่ง และการป้องกัน
โรค

2. การทำค้างแบบรั้ว วิธีการคือ ใช้เสาไม้หรือเสาซีเมนต์หรือเสาเหล็กปักเป็นแถว
ยาว เสาต้นแรกและต้นสุดท้ายต้องแข็งแรง เพื่อเป็นตัวยึดเหนี่ยวลวดในเวลาขึงจะ
ได้มั่นคง ส่วนเสาตรงกลางจะเล็กบางก็ได้ความสูงของเสาเมื่อปักลงไปในดินแล้ว
ให้เหลือความสูงไว้เท่ากับความสูงของคน หรือสูงกว่าเล็กน้อยการปักเสาห่างกัน
ประมาณ 12 - 15 ฟุต การขึงลวดจะขึงกี่เส้นก็ได้ แต่ ลวดเส้นล่างต้องสูงกว่า
พื้นดินไม่น้อยกว่า 60 เซนติเมตร ลวดที่ใช้ขึงจะใช้ลวด เบอร์ 9 หรือเบอร์ 10
หรือเบอร์ 11 ก็ได้แต่มือองุ่นมักชอบเกาะลวดเส้นเล็กมากกว่าลวดเส้นใหญ่ หาก
ไม่ใช้ลวดขึงจะใช้ ไม้ระแนงแทนลวดก็ได้ แต่จะสิ้นเปลืองมากว่าการใช้ลวด
ข้อดี ของการทำค้างแบบรั้ว คือ สะดวกต่อการตัดแต่ง การบำรุงรักษา การป้องกัน
โรคและศัตรูพืช

3. การทำค้างแบบค้างเตี้ยเป็นรูปตัวที หรือรูปไม้กางเขน โดยใช้เสาไม้หรือ
เสาซีเมนต์ปักเป็นแถวให้สูงจากพื้นดิน 5 - 6 ฟุต ตอนบนของหัวเสาใช้ไม้ตี
เป็นรูปไม้กางเขนยาว1.00 - 1.20 เมตร สามารถขึ้นลวดได้ 3 - 4 แถว เพื่อ
ให้เถาองุ่นจับเกาะค้าง แบบนี้ใบองุ่นสามารถรับแสงแดดได้เต็มที่ ง่ายต่อการ
ตัดแต่งและการป้องกันโรควัสดุอุปกรณ์ที่นำมาใช้ทำค้างองุ่น ไม่จำเป็นต้อง
ใช้วัสดุดังกล่าวเสมอไป จะใช้วัสดุที่มีอยู่ในท้องถิ่น เช่นไม้ไผ่ ไม้รวกก็ได
้ตามความเหมาะสม ทั้งในด้านความสะดวกและการประหยัด


 การเลี้ยงเถาองุ่น การตัดแต่ง และการเก็บผลองุ่น


การเลี้ยงเถาองุ่นและการตัดแต่ง

     องุ่นที่ปลูกในเมืองไทย มีอายุการออกดอกติดผลเร็วกว่าองุ่นที่ปลูกในต่างประเทศ เพราะจะออกดอกติดผลได้ภายในระยะเวลา 1 ปี ดังนั้นการตัดแต่งจะกระทำได้เมื่อ
องุ่นที่ปลูกมีอายุเพียง 7 - 8 เดือน แต่ทั้งนี้ก็ย่อมขึ้นอยู่กับสภาพพื้นที่ที่ปลูก ดินฟ้า
อากาศและชนิดพันธุ์ที่ปลูกประกอบด้วยการแต่งและตัดเถาองุ่น แบ่งได้ 2 ประการ คือ

1. แต่งและตัดเพื่อให้องุ่นที่ปลุกแตกกิ่งก้านสาขาได้รูปทรงเข้ากับหลักหรือค้างที่ทำไว้

2. แต่งและตัดเพื่อบังคับให้องุ่นแตกกิ่งออกดอกติดผลตามความต้องการ

    การแต่งและตัดตามข้อ 1 เพื่อให้ได้รูปทรงตามความต้องการ ต้องดำเนินการตั้งแต่
ปลูก หากองุ่นที่ปลูกไม่แข็งแรงให้ตัดต้น เหลือตาเพียง 2 - 3 ตา เมื่อแตกกิ่งจากตาแล้ว
ตัดกิ่งออกเหลือกิ่งที่ แข็งแรงเพียง 1 กิ่ง เพื่อใช้เป็นเถาใหญ่ ต้องคอยเด็ดกิ่งแขนงข้าง ๆ ออกให้เหลือแต่ยอดเถาเดียว ผูกเถากับค้างหรือหลัก ให้ยึดเกาะเมื่อเถาเจริญเติบโตเป็น
สีน้ำตาล ก็ตัดยอดหรือปลายของเถานั้นตามความต้องการตามปกติจะต้องตัดเหลือแค่
ลวดเส้นล่าง องุ่นจะแตกกิ่งจากตาปลายแถวเป็นหลายกิ่ง เลือกตัดให้เหลือ 1 - 2 กิ่ง ซึ่ง
จะเป็นแขนงขององุ่น มัดกิ่งแขนงนี้เข้ากับค้างตามความต้องการการแต่งและตัด
ตามข้อ 2 เพื่อบังคับให้ออกผลนั้นต้องดำเนินนการเมื่อองุ่นขึ้นค้างเข้ารูปทรงตามข้อ 1
แล้ว วิธีการคือ เมื่อกิ่งแขนงเจริญเติบโตจนยาวให้ตัดยอดของแขนงนั้นออก เหลือไว้
ตามที่ ต้องการโดยคำนึงถึงระยะของต้น ขนาดของค้าง และหลักที่ทำไว้ซึ่งกำหนดไว้ว่า
จะมีตาแตกจากแขนงนี้กี่ตา เมื่อตาบนแขนงนี้แตกเป็นกิ่งเจริญเติบโตจนเป็นกิ่งแก่มีสีน้ำตาล ให้ตัดกิ่งให้สั้นเป็นตอกิ่ง มีตาเหลือ 2 - 3 ตา เพื่อให้เกิดกิ่งจากตาของตอกิ่งที่เหลือไว้ กิ่งที่เกิดเมื่อสมบูรณ์แข็งแรงจะออกดอกติดผลเมื่อออกผลแล้วต้องเลี้ยงกิ่งนี้ไปจนเป็น
กิ่งแก่จึงตัดให้สั้นเข้าเหลือตาไว้ 2 - 3 ตา เพื่อให้เป็นตอกิ่ง ซึ่งจะแตกกิ่งต่อไป และกิ่งที่แตกนี้เจริญเติบโตแข็งแรงก็จะออกดอกติดผลการตัดแต่งกิ่ง ถ้าเห็นว่างอกกิ่ง
มากเกินไป ควรตัดออกบ้างเพื่อมิให้แยกอาหาร กิ่งที่ตัดออกนี้หากเป็นกิ่งแก่สามารถนำ
ไปปักชำเป็นพันธุ์ต่อไปการเด็ดตาตาที่แตกเป็นกิ่งซ้อนขึ้นมาใหม่ ถ้าไม่มีประโยชน์ควรตัด
ทิ้งยิ่งเห็นว่าเป็นตาที่ไม่สมบูรณ์ควรรีบตัดทิ้งไปการตัดมือความจริงมือขององุ่นมีไว้เพียง
เพื่อยึดเกาะรับน้ำหนักของกิ่ง ถ้ามากเกินไปควรตัดทิ้ง หากปล่อยไว้ก็จะแย่งอาหาร และเมื่อองุ่นตายจะแกะมือออกค่อนข้างยากอายุการตกผลและการเก็บผลองุ่นตามปกติ
องุ่นจะตกผลปีละครั้ง สำหรับองุ่นในเมืองไทย หากต้นแข็งแรงเจริญเติบโตดีจะให้
ผลในระยะ 1 ปี การตกผลจะราวต้นเดือนกันยายน - ตุลาคม และแก่เก็บได้ราวปลาย
เดือนธันวาคม - มกราคม สำหรับองุ่นที่ตกผลปีละ 2 ครั้งนั้นจะตกผลในเดือนกันยายน
ถึงตุลาคม ผลจะแก่เก็บได้ ในเดือนธันวาคม - มกราคม และจะตกผลในครั้งที่สองเดือน
กุมภาพันธ์ ผลจะแก่เก็บได้ในเดือนพฤษภาคม ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับชนิดของพันธุ์การบำรุง
รักษาสภาพพื้นที่รวมทั้งดินฟ้าอากาศอายุขององุ่น หากบำรุงรักษาเป็นอย่างดี สามารถ
จะออกผลได้นานถึง 50 - 60 ปี ส่วนการที่องุ่นจะเริ่มตกผลเมื่ออายุ 1 ปีนั้นจะเกิดขึ้น
เฉพาะองุ่นที่ขยายพันธุ์ด้วยการตัดกิ่ง ปักชำ ติดตา ทับกิ่ง ต่อกิ่งและตอนส่วนการ
ขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ดจะตกผลเมื่ออายุ 3 - 4 ปี


การเก็บผลองุ่น

    ระยะเวลาการเก็บผลองุ่นจะกำหนดให้แน่นอนทำได้ยาก รวมทั้งการเก็บผลก็แล้วแต่
ประโยชน์ที่จะนำไปใช้ เช่น รับประทานสด ตากแห้งหรือทำเหล้าองุ่นต้องใช้ ดุลยพินิจและความชำนาญและฤดูกาล อย่างไรก็ตามมีข้อสังเกตบางประการนำมา
ประกอบการพิจารณาในการเก็บผล ดังนี้
1. แสดงสีตามพันธุ์ออกมา เช่น สีเขียวเมื่อแก่ และสุกก็จะเป็นสีขาว
2. รสและกลิ่นหอมหวาน
3. เนื้ออ่อนนุ่ม
4. ขั้วเปลือกจากสีเขียวเป็นสีน้ำตาล
5. ผลดึงหลุดจากพวงได้ง่าย
6. เมล็ดล่อนจากเนื้อเป็นสีน้ำตาล
    นอกจากนี้ อาจจะใช้วิธีเก็บมาชิมเพราะองุ่นบางพันธุ์เมื่อตัดแล้วนำมาแขวนทิ้งไว้สัก
2 - 3 วัน จะมีรสหวานขึ้น แสดงว่าองุ่นแก่และสุก สามารถเก็บได้



วิธีเก็บ

     ใช้กรรไกรค่อย ๆ ตัดพวงองุ่นจากเถาอย่าใช้มือดึง เมื่อตัดแล้วใส่กระบะหรือถาด นำไปเก็บไว้ในห้องเย็นจะอยู่ได้นาน



 

การปลูกแก้วมังกร


การปลูกแก้วมังกร
       





ชนิดของแก้วมังกร

1. พันธุ์เนื้อขาวเปลือกแดง ได้แก่ พันธุ์บ้านโป่งจังหวัดราชบุรี สวนจันทบุรี ฯลฯ
2. พันธุ์เนื้อแดงเปลือกแดง ได้แก่ โมน่าแดนซิส เอสคิวอินทเลนซิส คอสต้าลิเซนลิส โปลีไรซีส
3. พันธุ์ผิวทอง เนื้อขาว

การเลือกกิ่งพันธุ์
1. ควรเป็นกิ่งพันธุ์ที่รู้จักกันแพร่หลาย และได้รับการยอมรับจากตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ
2. เจริญเติบโตได้ดี ปัญหาศัตรูพืชน้อย
3. ให้ผลจำนวนมาก รสชาดดีถูกใจผู้บริโภค และมีการทดลองปลูกได้ผลดีในหลายพื้นที่ และสามารถพัฒนาเป็นสินค้าส่งออกได้
4. เลือกใช้กิ่งพันธุ์จากสวนที่ประสบความสำเร็จแบบมืออาชีพและมีมาตรฐานในการผลิตกิ่งพันธุ์

วิธีการปลูก
1. กำหนดระยะห่างระหว่างต้น 3.5 เมตร และระหว่างแถว 3 เมตร (หรือ 3 ม. X 4 ม.)
2. ขุดหลุมลึกประมาณ 50 เซนติเมตร เพื่อปักเสา โดยขุดให้กว้างกว่าเสาเล็กน้อย
3. นำเสาไม้ขนาดหน้ากว้าง 3 นิ้ว มาเสี้ยมให้ปลายแหลมเป็นลิ่ม ตอกลงกลางหลุมใช้ตะปู 4-5 ตัว ตอกบนเสาให้หัวตะปูโผล่ขึ้นมา ทั้งนี้ต้องตอกเสาให้โผล่พ้นหลุม10-12 เซนติเมตร
4. นำท่อปูนมาใส่ในหลุมที่มีเสาไม้ปักอยู่ให้ตั้งฉากกับพื้นดิน (เสาจะอยู่ภายในท่อปูน)ใส่ดินลงข้าง ๆ เสาปูนด้านนอกให้เต็มหลุม กลบให้แน่นพอควร
5. ผสมปูนซีเมนต์ หินและทรายลงในท่อปูนให้มิดหัวตะปูทิ้งไว้ 2 วัน ปูนซีเมนต์จะแข็งตัวและยึดติดกับเสา ทำให้เมื่อใส่น้ำในท่อเสาปูนจะไม่ร้อน นำไม้แดงมาต่อบนหัวเสาเป็นรูปสี่เหลี่ยมจตุรัสเพื่อเป็นร้านให้แก้วมังกร เลื้อย
6. ขุดหลุมข้าง ๆ เสาทั้งสี่ด้าน ขนาดกว้าง 30 x 30 x 30 เซนติเมตร ให้จุดศูนย์กลางหลุมห่างจากเสา 30 เซนติเมตร ใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 ที่ก้นหลุม 1 ช้อนแกง/หลุมและนำแกลบเก่ามาผสมปุ๋ยคอกอย่างละเท่า ๆ กันเทก้นหลุม ๆ ละครึ่งปี๊บ
7. ใช้มีดกรีดถุงพันธุ์ 2 ด้านตรงกัน ดึงพลาสติกแบะออกเป็น 2 ด้าน ประคองวัสดุปลูกที่ติดกับต้นแก้วมังกรใส่ตรงกลางหลุม (ระวังอย่าให้ต้นช้ำและรากขาด) โดยหันด้านแบนของต้นเข้าหาเสา และให้รากอยู่ตำแหน่งผิวดินไม่เกิน 5 เซนติเมตร จัดลำต้นให้เอนเข้าหาเสาเล็กน้อย เอาดินกลบ ใช้เชือกฟางมาผูกลำต้นชิดติดกับเสา
8. รดน้ำให้ชุ่มเสมอสัปดาห์ละ 2 ครั้ง ถ้าอากาศร้อนจัดให้บังแดดด้วยทางมะพร้าวหรือกิ่งไม้ที่หาได้ง่าย ใช้สายยางฉีดน้ำลงไปในเสาปูนจนเกือบเต็ม
9. ใส่ปุ๋ยสูตร 15 – 15 – 15 ผสมกับภูไมต์ในอัตรา 4 : 1 มูลไก่ 1 ถ้วยต่อหลัก เดือนละ1 ครั้ง
10. นำจุลินทรีย์อีเอ็มมาผสมกากน้ำตาลและน้ำ รดเป็นระยะ ๆ เมื่อต้นแก้วมังกรแตกกิ่งออกมาเป็นจำนวนมากต้องตัดทิ้งให้หมด และปล่อยให้ต้นเจริญเติบโตจนถึงปลายหลักและขึ้นค้าง จัดกิ่งให้กระจายไปทั่วค้างเพื่อความสมดุล และมัดกิ่งให้อยู่กับร้าน
11. ต้นแก้วมังกรจะเริ่มออกดอกภายในระยะเวลา 8 เดือน ให้เริ่มใส่ปุ๋ยสูตร 13-13-21 และเมื่อติดผลอ่อนกลีบดอกที่อยู่ปลายผลแก้วมังกรจะแห้งแต่ไม่ร่วง (เป็นที่อาศัยของมดดำ) ให้ดึงกลีบดอกที่แห้งออกเพื่อให้ผลโตเร็ว
12. เมื่อต้นแก้วมังกรติดผลให้เลือกผลที่สมบูรณ์ไว้ไม่เกินกิ่งล

วัสดุที่ใช้ปักชำ
1.ถุงดำ
2. แกลบดำ
3. ทรายหยาบ
4. ขุยมะพร้าว
5. กิ่งพันธุ์ควรเลือกกิ่งพันธุ์ที่มีอายุมากกว่า 1 ปีมีสีใบเข้ม สะอาด ไม่มีตำหนิ อ้วนและสมบูรณ์แข็งแรง ความยาว 25-40 เซนติเมตรหรือมากกว่า

การบำรุงรักษาระหว่างชำ
รด น้ำให้วัสดุชื้นอยู่เสมอ ระวังอย่าให้มีมดคันไฟ หากมีต้องรีบกำจัด เมื่อต้นพันธุ์อายุได้ 1-2 เดือน ควรใช้ปุ๋ยสูตร15-15-15 หรือ 16-16-16 (อัตรา 1 ช้อนแกง : น้ำ20 ลิตร) ให้รด 1-2 สัปดาห์ต่อครั้ง ใช้ 4-5 เดือน รากและยอดแก่ที่แข็งแรงสามารถย้ายปลูกได้

ศัตรูของผลแก้วมังกร
มด คันไฟ เพลี้ยอ่อน (ตอมยอด) ด้วงค่อมทอง (แทะกินกลีบผล) หนอน (เจาะเปลือกและเนื้อ) เพลี้ยหอย (เกาะที่ปลายผล) พวกม้วนนักกล้าม (สันนิษฐานว่าทำให้ผิวของผลแก้วมังกรเป็นจุดคล้ายหนาม) หนอนแมลงวัน นกและหนู (เจาะทำลายผล) เพลี้ยไฟ(ผิวผลจะกร้านและตกกระลายพบน้อยมาก) หนอนบุ้ง เพลี้ยแป้ง ด้วงปีกแข็ง และต้องระวังมิให้สัตว์เลี้ยง เป็ด ไก่และห่านขุดคุ้ยโคนต้นได้ โรคพืชอื่น ๆ

ข้อแนะนำ
1. พันธุ์ที่นิยมปลูก ได้แก่
- พันธุ์เวียดนาม เนื้อขาวเปลือกแดง ผลผลิต 2 ผล/กิโลกรัม
- พันธุ์ไทย ผลผลิต 3-4 ผล/กิโลกรัม มีรสหวาน เมล็ดกรอบอร่อยเป็นที่ต้องการของผู้บริโภค
- พันธุ์ลูกผสม (เวียดนามกับไทย) มีรสหวานอมเปรี้ยว ผลมีขนาดกลาง
2. พันธุ์ที่พบเห็นในท้องตลาด คือพันธุ์เบอร์ 100 ของสวนบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรีและพันธุ์เนื้อขาวเปลือกแดงของสวนจังหวัดชลบุรีและจันทบุรี

ตลาด/แหล่งจำหน่าย
ส่ง ตลาด อตก. ตลาดสี่มุมเมือง ตลาดไท ตลาดจตุจักร ห้างสรรพสินค้า ซุปเปอร์มาร์เก็ต บริษัทส่งออกผักและผลไม้ต่างประเทศ และตลาดผลไม้ทั่วไป

ข้อเสนอแนะ
1. ไม่ควรผลิตผลแก้วมังกรออกมามากจนเกินพอ และออกมาตรงกับผลไม้อื่น ๆ
2. แก้วมังกรเป็นผลไม้เพื่อสุขภาพน่าจะมีภาษีมากกว่าผลไม้หลาย ๆ ชนิด ถ้าผลผลิตออกมาจำนวนมาก เช่น ทุเรียน เงาะและมะม่วง ราคาก็ถูกลงตามส่วน แก้วมังกรในประเทศไทยคาดว่าน่าจะมีแนวโน้มแบบชมพู่ คือมีราคาต่ำจนถึงราคาสูงมาก
3. ไม่ควรนำแก้วมังกรส่งตลาดในตอนบ่ายหรือเย็น ซึ่งผู้ซื้อกลับบ้านแล้ว อาจต้องขายแบบทิ้งทวนหรือเลหลังโดยไม่คำนึงถึงต้นทุนค่าใช้จ่าย ไม่รู้ราคาในท้องตลาด
4. ราคาผลแก้วมังกรขึ้นอยู่กับคุณภาพของสินค้าและช่วงเวลา โดยเฉพาะช่วงสินค้าขาดตลาดจะขายได้ราคาสูง ยังไม่รวมผลผลิตนอกฤดูกาล ช่วงปีใหม่และตรุษจีนราคาจะสูงกว่าที่คำนวณไว้
5. ต้องยอมรับว่าผลผลิตบางส่วนขายไม่ได้หรือต้องเลขาย เพราะคุณภาพไม่ได้ตามเกณฑ์ที่กำหนด

ข้อสังเกต
ผลตอบแทนจะมากขึ้น/ลดลง หรือขาดทุนไม่พอค่าใช้จ่าย ขึ้นอยู่กับ
1. การเพิ่มขึ้นหรือลดลงของผลผลิตแก้วมังกร และราคาขายผลแก้วมังกรสูงขึ้น/ต่ำลง
2. ค่าใช้จ่ายแต่ละปีประมาณการไว้ลดลงหรือเพิ่มขึ้น ประสิทธิภาพในการดำเนินการและการบริหารสวน
3. ภัยธรรมชาติ และเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝัน
4. การเอาเปรียบของพ่อค้าคนกลาง
5. รัฐไม่เอาใจใส่เท่าที่ควร

เงินลงทุน
ประมาณ 135,000 บาท/ 5 ไร่/ ปี (คำนวณเฉลี่ยจากระยะเวลาการปลูก 12 ปี) เป็นค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ดังนี้
(1) ต้นทุนคงที่ ค่าเสา ร้าน(ค้าง) ท่อน้ำจ่ายตามหลัก ต้นพันธุ์ ค่าเตรียมดินและหลุมปลูก (750 หลัก x 300 บาท) = 225,000 บาท
ค่าอุปกรณ์ ให้น้ำและเครื่องสูบน้ำ30,000 บาท ค่าปรับพื้นที่ (800 บาท x 5 ไร่) = 4,000 บาท ค่าถังพ่นสารกำจัดแมลงและอุปกรณ์ทำสวน10,000 บาท รวม 269,000 บาท
(2) ค่าใช้จ่ายต่อปี ค่าใช้ที่ดิน 1,000 บาท ค่าปุ๋ยต่าง ๆ และวัสดุคลุมดิน 20,000 บาทสารกำจัดมดและแมลง3,000 บาท ดอกเบี้ย (สมมติคิด 6% ตลอด) 269,000 x6%= 16,140 บาท ฉะนั้นค่าลงทุนในข้อ
(1)12 = 22,417 บาท ค่าปราบวัชพืช 5,050 บาท ?เฉลี่ยปีละ 269,000 ค่าสูบน้ำและไฟฟ้า 3,000 บาท ค่าแรง 54,000 บาทกันไว้เป็นค่าใช้จ่ายที่ยังไม่เกิดขึ้นและเบ็ดเตล็ดอื่น ๆ 10,000 บาท รวม 134,607 บาท (ยังไม่รวมค่าเสื่อมสภาพและค่าบำรุงรักษาวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น ยานพาหนะขนส่ง อุปกรณ์สื่อสารและค่าใช้จ่ายในการบริหารงาน เป็นต้น

รายได้
323,726 บาท/ ปี
ก. เมื่อต้นแก้วมังกรมีอายุครบ 12 ปี คำนวณการเก็บเกี่ยวผลและขายได้ 11 ปี ๆ ละ 4,000 กิโลกรัม/ไร่ จากราคาขายกิโลกรัมละ 25 บาท (4,000 กิโลกรัม x 5 ไร่ x 11 ปี x 25 บาท) = 5,500,000 บาท
ข. ค่าใช้จ่ายต่อปี 134,607 บาท (134,607 x 12 ปี) = 1,615,284 บาท ผลตอบแทนใน 12 ปี3,884,716 (ก. – ข.) เฉลี่ย 323,726 บาท/ปี=26,977 บาท/ เดือน

วัสดุ/อุปกรณ์
เสา (ท่อปูนขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 8 นิ้ว ยาว 2 เมตร หรือมากกว่า จำนวน 750 หลักร้านหรือค้างไม้ (ทำจากไม้แดงเพราะทนทานได้ประมาณ 3-5 ปี) เสาไม้เนื้อแข็งขนาด 3 นิ้ว ยาว 1 เมตร ตะปูขนาด 2-3 นิ้ว จอบ เสียม กรรไกรตัดผล ทราย หิน ปูนซีเมนต์ท่อน้ำจ่ายตามหลัก ต้นพันธุ์ (ราคาตั้งแต่ 40 บาท 50 บาท 100 บาทขึ้นไป) มีด ถุงมุ้งเชือกฟาง อุปกรณ์ให้น้ำและเครื่องสูบน้ำ ถังพ่นสารกำจัดมด แมลง และอุปกรณ์ทำสวน ปุ๋ย วัสดุคลุมดิน สารกำจัดมด แมลง

แหล่งจำหน่ายวัสดุอุปกรณ์
ไม้ แดงและเสาท่อปูนจากร้านขายวัสดุก่อสร้าง และร้านขายไม้ก่อสร้าง (ถ้าไม่มีขนาดที่ต้องการอาจใช้วิธีสั่งทำ วัสดุอื่นจากร้านขายอุปกรณ์การเกษตร และกิ่งพันธุ์ตลาดนัดสวนจตุจักร งานเกษตรแฟร์ สวนใหญ่ ๆ ที่ทำกิ่งพันธุ์แก้วมังกรขาย




อ้างอิง : http://www.doe.go.th/vgnew/careersinfo/careersfree/major_detial3.asp?qstd_id=1=2=28

การเลี้ยงเป็ดไข่


     ผมชอบทานไข่เป็ดมากกว่าไข่ไก่ พอดีเพื่อนร่วมงานพาไปดูชาวบ้านที่เลี้ยงเป็ดไข่เป็นอาชีพเสริม จึงขอแบ่งซื้อ(ทั้งๆที่ยังไม่ด้สร้างโรงเรือน)เขาจะขายประมาณ ๒๕ ตัว ดูแล้วน่าจะเป็นเป็ดไข่พันธุ์กบินทร์บุรีครับ!!
  
    เป็ดไข่พันธุ์กบินทร์บุรีเดิมเป็นเป็ดพันธุ์กากีแคมเบลล์ที่ได้รับการปรับปรุงพันธุ์ให้มีลักษณะ พิเศษเฉพาะพันธุ์

    เพศเมีย
      -สีขนเป็นสีกากีตลอดลำตัว ขา และแข้งสีส้ม ปากสีน้ำเงินปนดำ
      -เริ่มไข่เมื่ออายุ 150-160 วัน น้ำหนักเริ่มไข่ 1,450-1,500 กรัม ไข่ได้ 300-320 ฟอง/ตัว
      -ไข่มีขนาด 65 กรัม
      -กินอาหารวันละ 145-160 กรัม/ตัว อายุการให้ไข่ 1-2 ปี แต่ปีแรกจะให้ไข่มากที่สุด
  
เพศผู้
     -ตัวใหญ่กว่าเพศเมีย น้ำหนักอยู่ระหว่าง 1,700-1,800 กรัม/ตัว
     -หัวมีขนสีเขียวแก่คลุมลงมาจนถึงกลางลำคอ โดยเฉพาะเป็ดหนุ่มอายุ 5-7 เดือน ขนหัวและคอจะมีสีเขียวแก่ชัดเจนและสีนี้จะค่อยๆ จางลงจนเป็นสีน้ำเงินปนดำเมื่อเป็ดมีอายุมากขึ้น
     -ขนหาง 2-3 เส้นจะโค้งงอขึ้นด้านบน ปลายขนหางและปลายขนปีกจะมีสีน้ำตาลดำ
     -ขนลำตัวสีเทา แต่ขนจากกลางคอจนถึงไหล่และหน้าอกด้านหน้าจะสีน้ำตาลเข้ม
     -ขาแข้งสีส้ม ปากสีน้ำเงินปนดำ


สรุปข้อมูลต่างๆ ในการเลี้ยงเป็ด


ระยะเป็ดเล็ก
ระยะเป็ดรุ่น
ระยะเป็ดไข่
อัตราส่วนของพื้น (ตัว/ตร.ม.)
-
-
-
เป็ดพันธุ์
เป็ดไข่
เป็ดเนื้อ


5.5
5.5
7 (ตลอดอายุ)

2
5

2
5
อัตราส่วนของรางอาหาร (นิ้ว/ตัว)
1
2
2
อัตราส่วนของรางน้ำ (นิ้ว/ตัว)
ใช้กระติกน้ำ 1 ใบ ต่อ 50 ตัว
1
1
จำนวนลูกเป็ดต่อกก
400 ตัว
-
-
อุณหภูมิในเครื่องกก
90-95 องศาF
-
-
จำนวนวันที่กก
10-15 วัน
-
-
การควบคุมอาหารและน้ำหนัก
-
เป็ดพันธุ์และเป็ดไข่


ให้อาหารเต็มที่


จำกัดอาหารและชั่งน้ำหนัก
ทุก 2 สัปดาห์


ให้อาหารเต็มที่

พื้นขี้กบ
-
เป็ดพันธุ์และเป็ดไข่


พื้นขี้กบต้องสะอาดปราศจากเชื้อรา ไม่ชื้นแฉะ หรือ แข็งเป็นแผ่น
ต้องมีก๊าสแอมโมเนีย ไม่เกิน 10-15 ppm. ใส่พื้นขี้กบหนา 4 นิ้ว

การเตรียมโรงเรือน
ต้องทำความสะอาดฆ่าเชื้อโรคอย่างถูกต้องและทั่วถึง
อัตราส่วนของลังไข่ (คิดเฉพาะแม่เป็ด)
-
-
4 ตัว ต่อ 1 ช่อง
การให้แสงสว่าง
-
เป็ดพันธุ์และเป็ดไข่


อายุ 2 วันแรก ให้ตลอด
24 ช.ม.หลังจากนั้นถึงอายุ
ครบ 7 สัปดาห์
ให้ 23 ช.ม./วัน


ไม่ให้แสงสว่าง
ช่วยในเวลากลางคืน





ให้แสงสว่าง
18 ช.ม./วัน





อายุเป็ดไข่
ระยะเวลาให้แสงสว่าง
ฤดูร้อน
ฤดูฝน
ฤดูหนาว
19 สัปดาห์
20 สัปดาห์
21 สัปดาห์
22 สัปดาห์
23 สัปดาห์
24 สัปดาห์
18.00-19.00
18.00-20.00
18.00-21.00
18.00-21.00
05.00-06.00
18.00-21.00
04.00-06.00
18.00-21.00
03.00-06.00
17.30-18.30
17.30-19.30
17.30-20.30
17.30-20.30
05.00-06.00
17.30-20.30
04.00-06.00
17.30-20.30
03.30-06.30
17.00-18.00
17.00-09.00
17.00-21.00
17.00-21.00
05.30-06.30
17.00-21.00
04.30-06.30
17.00-21.00
03.30-06.30

สูตรอาหารเป็ดพันธุ์ไข่ระยะต่างๆ
ชนิดอาหาร
อายุเป็นสัปดาห์
0-4
4-9
9-20
เป็ดกำลังไข่
1
2
ปลายข้าว
รำหยาบ
กากถั่วเหลือง
ปลาป่น 55%
ใบกระถินป่น
เปลือกหอยป่น
ไดแคลเซี่ยม
เกลือ
กรดอะมิโนไลซีน
กรดอะมิโนเมไธโอนีน
แร่ธาตุและวิตามิน
รวม
(ก.ก.)
(ก.ก.)
(ก.ก.)
(ก.ก.)
(ก.ก.)
(ก.ก.)
(ก.ก.)
(ก.ก.)
(ก.ก.)
(ก.ก.)
(ก.ก.)
68.50
-
15.30
10.00
4.00
-
1.00
0.50
0.10
0.10
0.50
100.00
64.50
10.00
13.30
5.00
4.00
1.00
1.00
0.50
0.10
0.10
0.50
100.00
65.00
15.00
7.90
5.00
4.00
1.00
1.00
0.50
-
0.10
0.50
100.00
58.00
-
23.60
5.00
4.00
5.75
2.50
0.50
-
0.15
0.50
100.00
59.83
-
30.00
-
-
5.00
4.00
0.50
-
0.17
0.50
100.00
โปรตีน
พลังงานใช้ประโยชน์ได้
(%)
(กิโลแคลอรี่/ก.ก.)
18.70
3,077
15.40
2,740
13.20
2,640
18.70
2,750
18.44
2,770

อาหารเป็ด
         ในปัจจุบัน มีหลายบริษัที่ผลิตอาหารสำหรับเป็ดหลายแบบ เกษตรกรสามารถเลือกใช้ตามความเหมาะสม เช่น อาหารผสมสำเร็จรูป ซึ่งนำไปใช้ได้ทันที หัวอาหารซึ่งจะต้องผสมกับรำละเอียดและปลายข้าวก่อนนำไปใช้ หรืออาจซื้อวัตถุดิบแต่ละชนิดมาผสมเอง เกษตรกรจะต้องหลีกเลี่ยงการใช้ข้าวโพดเป็นอาหารเป็ด ถ้าหากจะใช้ข้าวโพดผสมเป็นอหาาร ควรใช้ในปริมาณน้อย และต้องแน่ใจว่าเป็นข้าวโพดคุณภาพดี ปราศจากเชื้อรา เนื่องจากเชื้อรา A,flavus สร้างสารพิษชื่อ alfatoxin ซึ่งมีผลต่อลูกเป็ดเป็นอย่างมาก เกษตรกรจะพบว่าในหัวอาหารหรืออาหารสำเร็จรูปจะใช้ข้าวโพดในปริมาณน้อย หรือไม่ใช้เลยจะดีที่สุด
อาหารเป็ดในบ้านเราสามารถแบ่งออกได้
          1. อาหารสำเร็จรูป เป็นอาหารเม็ด ซึ่งมีใช้เลี้ยงตั้งแต่แรกเกิดจนถึงระยะไข่ ซึ่งมีผลดีก็คือการจัดการให้อาหารสะดวกรวดเร็ว มีประสิทธิภาพการใช้อาหารสูงกว่า เป็ดใช้พลังงานในการกินอาหารน้อยกว่าแบบอื่น รางน้ำสะอาดไม่ค่อยสกปรก ประหยัดอาหารได้ 15-20% เพราะหกหล่นน้อยถึงแม้มีการหกหล่นก็สามารถเก็บกินได้อาหารที่ให้จะไม่ติดตาม รางอาหารทำให้รางอาหารสะอาดอยู่เสมอ ไม่หมักหมมเชื้อโรค แต่มีข้อเสียคือ อาหารมีราคาแพง ซึ่งทำให้ผู้เลี้ยงต้องพิจารณาถึงความคุ้มทุนด้วย
          2. เกษตรกรส่วนใหญ่นิยมใช้หัวอาหารเป็ดเป็นหลักในการประกอบสูตรอาหาร หัวอาหารเป็นอาหารเข้มข้นที่ผสมจากวัตถุดิบอาหารสัตว์พวกโปรตีนจาก พืช สัตว์ ไวตามิน แร่ธาตุและยาบางชนิด ยกเว้น พวกธัญพืช หรือวัตถุดิบบางอย่าง ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความเหมาะสมและลดต้นทุนค่าอาหารของผุ้ซื้อแต่ละท้องถิ่น ที่มีวัตถุดิบบางอย่างราคาถูก เช่น ปลายข้าว รำละเอียด และรำหยาบ เมื่อผสมกันแล้วจะจได้อาหารสมดุลย์ที่มีโภชนะต่างๆ ครบถ้วนตามความต้องการของร่างกายสัตว์ ก่อนนำอาหารผสมนี้ไปเลี้ยงเป็ดต้องคลุกน้ำให้พอหมาดๆ ร่วนไม่เกาะเป็นก้อน จะช่วยให้เป็ดกินอาหารได้ดี ลดการฟุ้งกระจายและการหกหล่นได้มาก วิธีนี้จะมีความยุ่งยากกว่าวิธีแรก แต่ก็เป็นที่นิยมใช้อยู่ เพราะอาหารผสมจะมีราคาถูก
          อาหารเป็ดในระยะไข่นั้นมักเติมสารเพิ่มสีในไข่ด้วยเป็นวัตถุ สังเคราะห์ทางเคมีพวกคาโรทีนอยส์ชื่อทางการค้าต่างๆ เช่น Carophyll Red ใส่ลงไปในอาหารทำให้ไข่แดงมีสีเหลืองเข้มเป็นที่นิยมของผู้บริโภค กรณีไข่เป็ด ถ้าไข่แดงสีเข้มจัด นิมยใช้ทำไข่เค็ม และราคาไข่เป็ดจะมีราคาแพงกว่าธรรมดาประมาณ 10 สตางค์/ฟอง ทั้งนี้เนื่องจากสารเพิ่มสีมีราคาแพงประมาณ 4,000 บาท/ก.ก.
   
ขอขอบคุณข้อมูลจาก:www.dld.go.th/service/webeggs/mainduck.html