หน้าเว็บ

วันจันทร์ที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

การเลี้ยงหมูป่า

การเลี้ยงหมูป่า

ลักษณะของหมูป่า



หมูป่า นั้นว่ากันว่ามีพื้นเพหรือถิ่นกำเนิดอยู่ในทวีปเอเชียนี่เองในทวีปอื่นอาจมี บ้างก็น้อย และโดยเฉพาะในเอเชียนั้นถือได้ว่าเป็นแหล่งหมูป่าแหล่งใหญ่ที่สุด หมูป่าในประเทศไทยมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Sus scrofa ที่พบก็มีอยู่ 2 พันธุ์ คือ พันธุ์หน้ายาว และพันธุ์หน้าสั้น แต่ก็จะรู้จักลักษณะของแต่ละพันธุ์ เราควรมาทำความรู้จักลักษณะโดยทั่วไปกันเสียก่อน

ลักษณะโดยทั่วไปของหมูป่า คือ มีขนหยาบแข็งสีน้ำตาลเข็มหรือดำ รูปร่างไม่อ้วนเทอะทะเหมือนหมูบ้าน กล่าวคือ มีรูปร่างผอมและสูงมาก ในตัวที่โตๆ อาจสูงถึงเอวคนหรือสูงกว่านี้ก็มี หัวยาวและแหลมกว่าสุกรบ้าน ขาเล็กและเรียวยาว กีบเท้าเล็กแต่แข็งแรงมาก หูเล็ก ตาโตสีดำ คอยาวและสั้น ตาลีบบาง ท้ายหักมาก มีขนแปรงสีดำเข็มและสีดอกเลายาวประมาณ 6 นิ้ว ขึ้นตั้งแต่ท้ายทอยตลอดไปตามแนวสันหลังจนถึงสะโพก ขนส่วนนี้จะตั้งขึ้นได้ โดยเฉพาะในเวลาที่หมูตกใจกลัว หรือเตรียมพร้อมที่จะสู้ ส่วนหางไม่มีขน มีความยาวจนถึงข้อขาหลัง หนังหมูป่าจะหนามากโดยเฉพาะอย่างยิ่งหนังที่บริเวณไหล่ อาจจะหนาประมาณ 5 ซม. หรือมากกว่าก็มี จมูกอ่อนแต่แข็งแรงมาก เนื่องจากหมูป่าจะใช้ปลายจมูกขุดคุ้ยดิน หรือจอมปลวกเพื่อหาอาหาร หมูป่าจะมีเขี้ยว 4 เขี้ยว ยาวและแหลมมาก ในตัวผู้ เขี้ยวนี้จะใช้เป็นอาวุธประจำตัวที่สำคัญมากในการป้องกันตัว เขี้ยวทั้ง 4 จะโค้งงอขึ้นด้านบน ความยาวของเขี้ยววัดจากโคนถึงปลายยาวประมาณ 4 - 5 นิ้ว และตัวเมียจะมีเต้านมแถวละ 5 เต้า

ลูกหมูป่าเมื่อยังเล็ก สีขนที่ลำตัวลูกหมูป่าจะมีลายเป็นแถบเล็กๆ สีเหลืองสลับขาวพาดตามความยาวของลำตัวคล้ายกับลายแตงไทย อันจะเป็นการช่วยพรางตัวจากศัตรูได้อย่างดีเยี่ยม เมื่ออายุได้ 5 - 6 เดือน ลายดังกล่าวจึงค่อยๆ เลือนหายไป จนมีสีผิวและขนเหมือนกับพ่อแม่ของมัน

ได้มีผู้ที่ทดลองผสมข้ามพันธุ์ระหว่างหมูป่าหน้ายาวเพศผู้กับหมูป่าพันธุ์ หน้าสั้นเพศเมีย ลูกที่ผสมได้ 6 ตัว พบว่าสีลายแตงไทย 3 ตัว และสีดำมีทางลายสีน้ำตาลออกน้อยมากพอมองเห็นจางๆ 3 ตัว) ฝูงหมูป่าในช่วงฤดูผสมพันธุ์จะพบว่ามีหมูป่าที่มีรูปร่างสูงใหญ่กว่าหมูป่า ตัวอื่นๆ ในฝูงอยู่ 2 - 3 ตัว และมีอยู่ตัวหนึ่งที่มีกิริยาท่าทางองอาจ วางมาดยืนเด่นอยู่กลางฝูงนั่นก็คือ พญาจ่าฝูง



หมูป่าเป็นสัตว์ที่กินอาหารได้หลายอย่าง ฉะนั้นจึงมีระบบฟันที่พัฒนาไปมากเหมือนสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมโดยทั่วไปกล่าว คือ มีระบบฟันเป็นแบบ : ¾ ½ ¼ ¾ x2 =44 ฟันหน้าด้านล่างจะยาว แคบและยื่นตรงออกไปข้างหน้า จะทำหน้าที่คล้ายพลั่ว โดยเฉพาะในเวลาที่หาอาหาร โดยการขุดคุ้ยตามพื้นดินหรือตามดินโป่งเป็นต้น ส่วนเขี้ยวของหมูป่าไม่มีราก จะพัฒนาไปมากโดยเฉพาะในตัวผู้ ขนาดของฟันกัดต่อมาเขี้ยวจะค่อยๆ เพิ่มขนาดจากเล็กมาใหญ่ ส่วนฟันกรามพบว่าซี่สุดท้ายจะมีขนาดใหญ่มากคือ มีขนาดเท่ากับฟันกรามซี่ที่ 1 และ 2 รวมกัน ส่วนของกะโหลกศีรษะมีความยาว และลาดเอียง (Slope) มาก โดยที่ส่วนที่เป็นปากและฟันมีความยาวมากคือประมาณ 75 - 80 % ของกะโหลกศีรษะ

สภาพความเป็นอยู่ในธรรมชาติของหมูป่า โดยธรรมชาติแล้ว หมูป่าชอบอาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูง ขนาดฝูงก็มีตั้งแต่ 5-6 ตัวจนถึงฝูงใหญ่ขนาด 50 ตัวก็มี แต่ละฝูงประกอบด้วยหลายวัย ทั้งเพศผู้และเพศเมีย ในตัวผู้ขนาดใหญ่จะรวมฝูงเฉพาะช่วงฤดูกาลผสมพันธุ์ แต่ช่วงปกติจะแยกตัวออกจากฝูงและอาศัยอยู่เพียงโดดเดี่ยว ที่เรียกกันว่า หมูโทน ทั้งนี้อาจเป็นเพราะหมูโทนมีรางกายกำยำใหญ่โต มีเขี้ยวที่ยาวและแหลมคมสามารถที่จะรักษาตัวเองได้ หรืออาจเป็นเพราะว่ามันดุร้ายจนหมูป่าที่มีขนาดเล็กกว่าไม่อยากอยู่ด้วยจึง พากันแยกฝูงหนีไปเสีย

หมูป่ามีประสาทรับกลิ่นที่ไวมาก แต่มีประสาทตาไม่ค่อยดี รวมทั้งประสาทหูไม่ดีด้วย (นอกจากบางครั้งที่มันเกิดสงสัยเมื่อได้กลิ่นประสาททั้งตาและหูจะว่องไวผิด ปกติ) จมูกจึงเป็นเสมือนเครื่องรับประกันความปลอดภัยโดยธรรมชาติ หมูป่าเวลาออกหากินจะมีเสียงเอะอะและดังมาก ซึ่งเป็นเสียงไล่กัดกัน กัดกินอาหาร แย่งกันกินอาหาร เกลือกกลิ้งเล่นกันและเสียงนี้สามารถได้ยินในระยะไกลๆ อย่างไรก็ตามถ้าหากมันเกิดความสงสัยหรือระแวงเหตุร้ายขึ้นมา หมูป่าจะกลายเป็นสัตว์ที่เงียบที่สุดได้เหมือนกัน คือทุกตัวจะยืนนิ่งและเงียบกริบ ราวกับว่าเป็นสิ่งไม่มีชีวิต ครั้นแน่ใจว่าจะมีภัยอันตรายเกิดขึ้นกับมันจะพากันออกวิ่งหนีพอเข้าป่าได้ เรียบร้อยแล้วพวกมันจะยืนนิ่งเงียบกริบอีกครั้ง เพื่อพิสูจน์ให้แน่ใจอีกครั้งว่าปลอดภัยแล้วหรือยัง

ว่ากันว่ากันว่าหมูป่าวิ่งได้เร็วพอ ๆ กับเก้งหรือม้า ไม่กลัวน้ำ ว่ายน้ำเก่ง และชอบเล่นโคลนตมมาก ศัตรูที่สำคัญก็คือ เสือ หมาป่าและหมาไน หมูป่าจัดได้ว่าเป็นสัตว์ที่มีความปราดเปรียวว่องไวมาก มีสันดานลุกลี้ลุกลน ชอบย่ำเท้าหรือตะกุยดินเล่น พรานจึงสังเกตจากรอยเท้าที่มันย่ำตะกุยเพื่อตามล่ามัน ปกติหมูป่าจะเป็นสัตว์ที่ไม่ค่อยดุร้ายเมื่อเห็นคนจะวิ่งหนี แต่ถ้าจนตรอกหรือได้รับบาดเจ็บ อาจกับดุร้ายและทำร้ายคนหรือศัตรูของมันได้เหมือนกัน



หมูป่าเป็นสัตว์ประเภทกินอาหารได้ทั้งพืชและสัตว์ (Ommivorous) ซึ่งอาหารของหมูป่าก็มีตั้งแต่พวก ผักต่าง ๆ เผือก มัน เห็ด หน่อไม้ ข้าวโพด สับปะรด ถั่วลิสงและหญ้าอ่อนๆ ส่วนสัตว์จำพวกปลวก งู และหนู เวลถูกรบกวนมาก ๆ ก็จะออกหากินในตอนกลางคืนเช่นกัน



หมูป่าเมื่อเป็นสัดและผสมพันธุ์เรียบร้อย ขนาดตั้งท้องอาจอยู่รวมกับฝูงปกติจนกระทั้งใกล้คลอดจึงจะแยกออกจากฝูง เพื่อเตรียมทำรังสำหรับคลอดลูก ส่วนมากจะทำรังด้วยพวกหญ้าและเศษไม้เศษพืช เท่าที่หาได้มากองสุมกันจนมีความสูงประมาณ 1 เมตรกว่าๆ โดยกองบนเนินดิน แม่หมูจะคลานเข้าไปและขุดยกเป็นโพรงแล้วคลอดในโพรงนี้ เลี้ยงลูกประมาณ 4 เดือนจนลูกโต และแข็งแรง จึงเข้ารวมฝูงใหญ่ และหากินกันตามปกติในลักษณะเช่นเดิมหาเจอก็กินเหมือนกัน หมูป่าจะมีนิสัยการกินอาหารแบบตะกละและแย่งกันกิน การหากินก็จะออกหากินในตอนเช้าตรู่เป็นส่วนใหญ่ หาก

พันธุ์หมูป่าที่ใช้เลี้ยง



ในเมืองไทยมีหมูป่าอยู่ 2 พันธุ์ คือ พันธุ์หน้ายาวและพันธุ์หน้าสั้น บางคนได้ยินดังนี้มักประมาณเอาเองว่าคงดูไม่ยากว่าตัวไหนเป็นพันธุ์หน้ายาว ตัวไหนเป็นพันธุ์หน้าสั้น แต่เรื่องจริงๆ แล้วจะประมาณเอาจากความสั้นยาวของหน้าไม่ได้ เพราะบางตัวที่เป็นพันธุ์หน้าสั้นอาจมีหน้ายาวกว่าพันธุ์หน้ายาวก็ได้หากมี อายุที่แตกต่างกันมาก ดังนั้นจึงต้องอาศัยส่วนประกอบอื่นๆ เข้าช่วยกล่าวคือ

พันธุ์หน้ายาว ลักษณะพ่อพันธุ์ แม่พันธุ์ หน้ายาวกะโหลกเล็กลำตัวยาวหุ่นเพียวสูง อายุ 2 ปี ขึ้นไปมีความสูงขนาดเอวผม (80 - 90 เซนติเมตร) ขาเล็กและยาวเป็นกลีบเท้าเล็กแต่แข็งแรงมากคล้าย ๆ เก้งจะออกในลักษณะหน้าสูงท้ายต่ำ หูเล็ก แนบชิดลำตัว มีขนสีขาวขึ้นด้านใต้แก้มทั้งสองข้าง และมีขนเป็นแผงขึ้นจากท้ายทอยไปถึงสันหลังขนจะยาวประมาณ 6 นิ้ว เวลาตกใจขนจะชูสูงขึ้นลักษณะขนโดยทั่วไปจะขึ้นเป็นกลุ่ม ๆ ละ 3 รูๆ ละ 1 เส้น ตัวผู้จะมีเขี้ยว ตัวเมียไม่มีเขี้ยว และตัวผู้จะมีผาน หรือผื่นไขมัน ซึ่งหนามาก ปืนยิงไม่เข้า ตรงไหล่ขาหน้า ทั้ง 2 ข้าง และมีตุ่มนม 5 คู่ พันธุ์หน้ายาวจะหากินในป่าตื้น
พันธุ์หน้าสั้น ลักษณะใกล้เคียงกับพันธุ์หน้ายาว แต่หัวกะโหลกจะใหญ่กว่า ดูแล้วเหมือนพันธุ์หน้ายาว แต่พันธุ์หน้าสั้นมีลักษณะลำตัวจะกลม เตี้ย หูเล็ก ขาสั้น และหนังจะหนากว่าพันธุ์หน้ายาวนมไม่เกิน 10 เต้า จะหากินป่าลึก จะมีจ่าฝูงฝูงหนึ่งประมาณ 30 ตัว ตัวเมียใกล้คลอดจะแยกจากฝูงไปเลี้ยงลูกประมาณ 4 เดือน และจะเข้าฝูงใหม่
อย่างไรก็ตามปัจจุบันได้มีผู้ผสมเป็นหมูป่า 2 สาย และ 3 สายกันมากขึ้นรายละเอียดจะนำเสนอในโอกาสหน้า

การจัดสร้างโรงเรือนเลี้ยงหมูป่า



อันดับแรกของการเลี้ยงหมูป่าก็คือ จะต้องมีการสร้างโรงเรือนเลี้ยงหรือคอก ซึ่งโรงเรือนเลี้ยงหมูป่าจะสร้างคล้ายโรงเรือนการเลี้ยงหมู เป็ด ไก่ธรรมดา เพียงแต่ว่าโรงเรือนสัตว์พวกเป็ด ไก่ เหล่านั้นมักจะสร้างให้โรงเรือนโปร่งอากาศถ่ายเทสะดวก และรักษาความสะอาดง่าย แต่โรงเรือนหมูป่าจะสร้างให้ทึบกว่าโรงเรือนของสัตว์พวกนี้ เพราะหมูป่าเป็นสัตว์ที่ตื่นตกใจง่าย ถ้าปล่อยให้ตื่นมักจะวิ่งไม่ค่อยหยุด อีกอย่างหนึ่งถ้าตกใจจะมีผลต่อระบบขับถ่ายคือ ทำให้ท้องร่วง

ดังนั้นนอกเหนือจากโรงเรือนซึ่งต้องทำให้ทึบแล้ว รอบๆ โรงเรือนสูงจากพื้นประมาณ 1 เมตรเศษยังต้องสร้างแผงปิดกั้นรอบๆ โรงเรือนเพื่อไม่ให้หมูป่าเห็นสิ่งรบกวนภายนอกมากนัก แผงกั้นอาจทำด้วยแผงไม้ไผ่หรือทำด้วยกระสอบป่านผ่าซีกและขึงด้วยกรอบไม้ก็ ได้

สำหรับพื้นโรงเรือนถ้าเลี้ยงบนพื้นดินธรรมดาแล้วจะทำให้เนื้อตัวสกปรก และง่ายต่อการเป็นโรค แต่ถ้าเลี้ยงบนพื้นซีเมนต์หยาบแบบหมูบ้านทั่วไปก็ได้ผลไม่ดีทำให้เท้าเกิด บาดแผลได้

สรุปแล้ววิธีที่ดีที่สุดสำหรับพื้นโรงเรือนก็คือ ควรทำเป็นพื้นคอนกรีตแบบขัดมัน เพราะนอกจากจะง่ายต่อการทำความสะอาดแล้วยังเป็นการป้องกันการกระโดดออกจาก คอกเลี้ยงได้ ซึ่งบางตัวกระโดดได้สูงมาก สามารถกระโดดได้สูงกว่า 2 เมตรทีเดียว



ส่วนคอกเลี้ยงหมูป่านั้น ภายในโรงเรือนแต่ละหลังจะแบ่งคอกย่อยออกเป็น 2 ด้าน โดยจะมีทางเดินอยู่ตรงกลาง คอกเลี้ยงควรสร้างด้วยตาข่ายเหล็ก (ลวด) แบบที่ใช้ทำรั้วทั่วๆ ไป ที่มีขนาดตา 6 นิ้ว ขนาดของคอกเลี้ยงแต่ละคอกกว้างประมาณ 2 - 2 .50 เมตร ยาวประมาณ 3 เมตร ในแต่ละคอกเลี้ยงหมูป่าได้ 1 ตัว หรืออาจหลายตัวก็ได้ตามขนาดของหมูที่เลี้ยง คอกแต่ละคอกมีความสูงประมาณ 1.50 เมตร ซึ่งสามารถป้องกันการกระโดดหนีของหมูป่าได้ หรือสูงถึง 1.80 เมตรก็ได้ และมีประตูปิด - เปิดด้านหน้า (ช่องทางเดิน) แต่สำหรับคอกแม่หมูป่าที่มีลูกนั้น จะต้องทำคอกพิเศษโดยเปิดช่อง (จะมีแผ่นเหล็กบางๆ ที่ปิดเปิดได้) ไว้สำหรับให้ลูกหมูออกมาจากคอกใหญ่ได้ เพื่อให้ลูกหมูป่าลอดออกมากินอาหารเสริม แต่จะต้องใช้ไม้ตีกั้นเป็นกรงต่างหากไว้ภายนอกด้วย

ทั้งนี้เพื่อกันไม่ให้ลูกหมูป่าออกมาเดินเพ่นพ่าน และสะดวกในการจับลูกหมูฉีดยา หรือดูแลเวลาเป็นอะไรขึ้นมา เพราะแม่หวงลูกมากหากกระทำในคอกเลี้ยงแม่พันธุ์แล้วอาจได้รับอันตรายได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น