หน้าเว็บ

วันจันทร์ที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

การเลี้ยงหมูป่า(3)

อาหารและการให้อาหารเลี้ยงหมูป่า



อาหารนับว่าเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดอย่างหนึ่งในหลายๆ อย่างทั้งนี้ก็เนื่องจากว่าหมูป่าจะเจริญเติบโตให้ผลผลิตเต็มความสามารถ ก็ขึ้นอยู่กับคุณภาพอาหารที่กินเข้าไป

อาหารหลัก คือ ผักและเศษอาหารที่มีอยู่ทั่วไป เช่น ผักบุ้ง ผักตบ หญ้าขน หรืออื่น ๆ ที่พอจะหาได้ แต่ในอาหารที่ให้กินนี้ควรผสมธาตุอาหารอื่นบ้าง เช่น รำ หรือหัวอาหารนิดหน่อยทั้งจะต้องให้ในปริมาณเหมาะสมไม่ใช่กินกันตลอดเวลา หมูป่าจะได้มีเนื้อหนา ไม่มีมัน ถ้าให้หัวอาหารหรืออาหารถุงก็ได้ หมูป่าจะโตไว ตัวใหญ่ แต่ปัญหาจะตามมา คือทำให้มีไขมันมาก หนังไม่กรอบ และไม่หนา ถ้าหมูป่ามีปัญหาแบบนี้ การจำหน่ายจะมีปัญหาทันที

อาหารที่ใช้เลี้ยงหมูป่า แบ่งเป็น 5 ระยะ โดยให้วันละสองมื้อ (เช้า-เย็น)

1.อาหารสำเร็จหมูดูดนม ให้จนกระทั่งถึงลูกหมูหย่านม
2.อาหารหมูรุ่น (ช่วงนี้จะกินอาหารประมาณวันละ 0.5 กิโลกรัม) ให้กับลูกหมูหลังหย่านม นาน 2.5 เดือน
3.อาหารหมูขุน (ช่วงนี้จะกินอาหารประมาณวันละ 0.5 กิโลกรัม)ให้จนหมูมีอายุ 1 ปี แล้วส่งชำแหละจะได้น้ำหนักประมาณ 60 กิโลกรัม
4.อาหารพ่อแม่พันธุ์และระยะหลังตั้งท้อง แม่หมูที่ผสมติดแล้วจะให้กินอาหารวันละ 1 กิโลกรัมเป็นเวลา 2.5 เดือน แล้วจึงให้อาหารเพิ่มขึ้นเป็น 15 กิโลกรัม ต่อวันจนถึงอีก 2 อาทิตย์จะคลอด ให้กินอาหารเพียง 1 กิโลกรม ต่อวัน
5.อาหารแม่หมูเลี้ยงลูก เมื่อคลอดแล้วให้กินอาหาร 3 กิโลกรัมต่อวัน ว่ากันว่าการให้อาหารหมูป่าจะประหยัดมาก เพราะหมูป่ากินอาหารน้อยกว่าหมูบ้านถึง 5 เท่า อาหารเลี้ยงหมูบ้าน 1 ตัว จึงเลี้ยงหมูป่าได้ 5 ตัว ปกติจะให้อาหารหมูป่าวันละ 2 มื้อ มื้อละครึ่งกิโลกรัม
ส่วนเรื่องน้ำก็ให้เพียงวันละ 1 แกลลอนเท่านั้น การให้อาหารหมูทั่วไป อาจให้อาหารลูกหมูในช่วงแรก ถัดไปจึงเปลี่ยนเป็นอาหารหมูใหญ่

การผสมอาหารต้องไม่ให้หัวอาหารมากเกินไป เพราะมักจะทำให้หมูป่าท้องร่วง ทำให้เปลืองโดยใช่เหตุ แต่ถ้ามีพวก พืช ผัก เช่น เผือก มัน ต้นอ้อย ทีเหลือกินเหลือใช้ จะใช้เป็นอาหารเสริมได้อย่างดี

อาหารสามารถให้ได้โดยเวลาเช้าหั่นหยวกกล้วยแล้วนำไปผสมกับรำข้าว ในอัตราหยวกกล้วย 3 ส่วน รำ 1 ส่วน ให้กินวันละ 2 เวลาเช้า-เย็น ปริมาณการให้จะสังเกตุจากการกินของหมูป่า ว่าตักให้กินขนาดไหนจึงจะพอดี ในช่วงกลางวันอาจเสริมด้วยผักตบชวาหัวมันหรือกล้วย เรื่องการให้อาหารจึงทำได้ง่ายและต้นทุนต่ำ สำหรับน้ำที่ให้กินจะใช้วิธีการตั้งถังเก็บน้ำไว้แล้วปล่อยน้ำไปตามสายยาง ซึ่งที่สายยางจะต่อที่ให้น้ำสำหรับหมูไว้ ซึ่งเป็นแบบที่ใช้ในฟาร์มทั่วไป

หมูป่าชอบกินหญ้าอ่อนเป็นอาหารเหมือนกันโดยเฉพาะหญ้าขน จึงควรที่จะได้จัดหาไปให้หมูป่าได้กิน หรือควรที่จะได้ปลูกไว้ให้กินเป็นอาหารเสริม
ยกเว้นเพียง 2 อย่างที่ไม่ควรนำมาเป็นอาหาร ก็คือ ใบกระถินกับมันสำปะหลังดิบ และไม่ควรให้หมูกินเป็นอาหารอย่างเด็ดขาด เนื่องจากมีสารพิษที่เป็นอันตรายต่อหมูป่า

การจัดการและการป้องกันโรค

การเลี้ยงหมูป่ามีความคล้ายคลึงกับการเลี้ยงหมูบ้านมาก จะมีข้อปฏิบัติที่แตกต่างกันบ้างก็ตรงที่ว่า แสงแดด หมูป่าต้องการแสงแดดมากกว่าหมูบ้าน จึงควรเปิดโอกาสให้มีแสงแดดส่องถึงคอกหมู ความสงบ นับว่าเป็นสิ่งสำคัญมาก เพราะหมูป่าตกใจง่าย ประสาทสัมผัสรับรู้เร็วที่สุด โดยเฉพาะเรื่องเสียง หากมีเสียงดังแล้วจะวิ่งกันไม่หยุดโดยเฉพาะเล็บของหมูป่าจะตะกุยกับพื้น มาก ๆ เข้ามันแรงขนาดขุดพื้นปูนจนมีกลิ่นเหม็นไหม้เลยทีเดียวฉะนั้นพื้นหินจึงจำ เป็นจะต้องขัดมันใครที่คิดว่าการเลี้ยงหมูป่าจะต้องการให้หมูป่าออกกำลังกาย มากหรือวิ่งมาก ๆ เพื่อไม่ให้มีไขมันนั้นจึงไม่เป็นเรื่องจริง

ความสะอาด ในด้านความสะอาดก็เช่นกันหมูป่าแทนที่จะชอบเลอะเทอะเหมือนว่าอยู่ดง แต่ความจริงชอบความสะอาด ควรจะมีการฉีดน้ำล้างคอกทุกวันและราดน้ำยาฆ่าเชื้อทุกอาทิตย์จะช่วยป้องกัน โรคได้ดีมาก หากโรงเรือนหรือคอกเลี้ยงทำให้สะอาดดีแล้วจะไม่มีปัญหาอะไรเกี่ยวกับโรค เพราะปกติหมูป่ามีความต้านทานโรคสูงอยู่แล้ว ไม่มีโรคประจำตัวอะไรมากนัก

การป้องกันโรค หมูป่าไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องโรคนักเพราะเป็นสัตว์ที่แข็งแรงอยู่แล้ว อาจมีบ้างก็ในลูกหมูก่อนหย่านม เช่นท้องร่วง โรคปอดบวม แต่มีอาการเพียงเล็กน้อยเมื่อให้ยาที่ถูกต้องก็ไม่มีปัญหาอะไร (โรคของหมูป่ามันจะไม่ค่อยแสดงอาการเป็นโรคให้เห็น ถ้าหากว่าโรคยังคุกคามไม่มาก เมื่อหมูไม่แสดงอาการตั้งแต่แรกที่โรคเข้าแทรกก็ทำให้เราไม่รู้ว่าหมูเป็น โรค จะรู้ก็ต่อเมื่อโรคแทรกซ้อนมากขึ้นจนแก้ปัญหาไม่ได้แล้ว จึงแสดงอาการให้เห็น บางตัววันนี้ยังสังเกตเห็นท่าทางยังปกติอยู่แต่เมื่อถึงวันรุ่งขึ้นหมูตัว นั้นก็นอนตายคาคอกก็มี)

โรคอื่นๆ นอกเหนือจากที่กล่าวมาแล้วนี้ก็มีโรคขี้เรื้อน ซึ่งมักจะเกิดในหน้าหนาว แต่โรคนี้เราก็สามารถแก้ปัญหาได้ด้วยการฉีดยา โดยในการฉีดยานั้น ให้ฉีดไปบนสันหลังของหมูป่า ทั้งนี้คนฉีดจะอยู่นอกคอก เมื่อหมูป่าเข้าใกล้ก็เอาเข็มจิ้มลงไปบนหลังแล้วฉีดปล่อยยาเข้า

ถ้าเป็นหมูใหญ่จะมีเรื่องการถ่ายพยาธิทุก 6 เดือน พร้อมทั้งต้องฉีดวัคซีนป้องกันโรคที่สำคัญในหมู เช่น โรคอหิวาต์ โดยติดต่อกับเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์อำเภอ ซึ่งจะเข้ามาช่วยดูแลและให้คำแนะนำในเรื่องของการฉีดวัคซีนป้องกันโรค

อย่างไรก็ตามระหว่างการเลี้ยงหมูป่าในปัจจุบันแทบจะไม่มีปัญหาอะไรทั้งสิ้น เกี่ยวกับโรคภัย จึงเป็นการช่วยสร้างความมั่นใจในการลงทุนเลี้ยงหมูป่าได้เป็นอย่างดี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น