หน้าเว็บ

วันอังคารที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2554

การเลี้ยงเป็ดไข่


     ผมชอบทานไข่เป็ดมากกว่าไข่ไก่ พอดีเพื่อนร่วมงานพาไปดูชาวบ้านที่เลี้ยงเป็ดไข่เป็นอาชีพเสริม จึงขอแบ่งซื้อ(ทั้งๆที่ยังไม่ด้สร้างโรงเรือน)เขาจะขายประมาณ ๒๕ ตัว ดูแล้วน่าจะเป็นเป็ดไข่พันธุ์กบินทร์บุรีครับ!!
  
    เป็ดไข่พันธุ์กบินทร์บุรีเดิมเป็นเป็ดพันธุ์กากีแคมเบลล์ที่ได้รับการปรับปรุงพันธุ์ให้มีลักษณะ พิเศษเฉพาะพันธุ์

    เพศเมีย
      -สีขนเป็นสีกากีตลอดลำตัว ขา และแข้งสีส้ม ปากสีน้ำเงินปนดำ
      -เริ่มไข่เมื่ออายุ 150-160 วัน น้ำหนักเริ่มไข่ 1,450-1,500 กรัม ไข่ได้ 300-320 ฟอง/ตัว
      -ไข่มีขนาด 65 กรัม
      -กินอาหารวันละ 145-160 กรัม/ตัว อายุการให้ไข่ 1-2 ปี แต่ปีแรกจะให้ไข่มากที่สุด
  
เพศผู้
     -ตัวใหญ่กว่าเพศเมีย น้ำหนักอยู่ระหว่าง 1,700-1,800 กรัม/ตัว
     -หัวมีขนสีเขียวแก่คลุมลงมาจนถึงกลางลำคอ โดยเฉพาะเป็ดหนุ่มอายุ 5-7 เดือน ขนหัวและคอจะมีสีเขียวแก่ชัดเจนและสีนี้จะค่อยๆ จางลงจนเป็นสีน้ำเงินปนดำเมื่อเป็ดมีอายุมากขึ้น
     -ขนหาง 2-3 เส้นจะโค้งงอขึ้นด้านบน ปลายขนหางและปลายขนปีกจะมีสีน้ำตาลดำ
     -ขนลำตัวสีเทา แต่ขนจากกลางคอจนถึงไหล่และหน้าอกด้านหน้าจะสีน้ำตาลเข้ม
     -ขาแข้งสีส้ม ปากสีน้ำเงินปนดำ


สรุปข้อมูลต่างๆ ในการเลี้ยงเป็ด


ระยะเป็ดเล็ก
ระยะเป็ดรุ่น
ระยะเป็ดไข่
อัตราส่วนของพื้น (ตัว/ตร.ม.)
-
-
-
เป็ดพันธุ์
เป็ดไข่
เป็ดเนื้อ


5.5
5.5
7 (ตลอดอายุ)

2
5

2
5
อัตราส่วนของรางอาหาร (นิ้ว/ตัว)
1
2
2
อัตราส่วนของรางน้ำ (นิ้ว/ตัว)
ใช้กระติกน้ำ 1 ใบ ต่อ 50 ตัว
1
1
จำนวนลูกเป็ดต่อกก
400 ตัว
-
-
อุณหภูมิในเครื่องกก
90-95 องศาF
-
-
จำนวนวันที่กก
10-15 วัน
-
-
การควบคุมอาหารและน้ำหนัก
-
เป็ดพันธุ์และเป็ดไข่


ให้อาหารเต็มที่


จำกัดอาหารและชั่งน้ำหนัก
ทุก 2 สัปดาห์


ให้อาหารเต็มที่

พื้นขี้กบ
-
เป็ดพันธุ์และเป็ดไข่


พื้นขี้กบต้องสะอาดปราศจากเชื้อรา ไม่ชื้นแฉะ หรือ แข็งเป็นแผ่น
ต้องมีก๊าสแอมโมเนีย ไม่เกิน 10-15 ppm. ใส่พื้นขี้กบหนา 4 นิ้ว

การเตรียมโรงเรือน
ต้องทำความสะอาดฆ่าเชื้อโรคอย่างถูกต้องและทั่วถึง
อัตราส่วนของลังไข่ (คิดเฉพาะแม่เป็ด)
-
-
4 ตัว ต่อ 1 ช่อง
การให้แสงสว่าง
-
เป็ดพันธุ์และเป็ดไข่


อายุ 2 วันแรก ให้ตลอด
24 ช.ม.หลังจากนั้นถึงอายุ
ครบ 7 สัปดาห์
ให้ 23 ช.ม./วัน


ไม่ให้แสงสว่าง
ช่วยในเวลากลางคืน





ให้แสงสว่าง
18 ช.ม./วัน





อายุเป็ดไข่
ระยะเวลาให้แสงสว่าง
ฤดูร้อน
ฤดูฝน
ฤดูหนาว
19 สัปดาห์
20 สัปดาห์
21 สัปดาห์
22 สัปดาห์
23 สัปดาห์
24 สัปดาห์
18.00-19.00
18.00-20.00
18.00-21.00
18.00-21.00
05.00-06.00
18.00-21.00
04.00-06.00
18.00-21.00
03.00-06.00
17.30-18.30
17.30-19.30
17.30-20.30
17.30-20.30
05.00-06.00
17.30-20.30
04.00-06.00
17.30-20.30
03.30-06.30
17.00-18.00
17.00-09.00
17.00-21.00
17.00-21.00
05.30-06.30
17.00-21.00
04.30-06.30
17.00-21.00
03.30-06.30

สูตรอาหารเป็ดพันธุ์ไข่ระยะต่างๆ
ชนิดอาหาร
อายุเป็นสัปดาห์
0-4
4-9
9-20
เป็ดกำลังไข่
1
2
ปลายข้าว
รำหยาบ
กากถั่วเหลือง
ปลาป่น 55%
ใบกระถินป่น
เปลือกหอยป่น
ไดแคลเซี่ยม
เกลือ
กรดอะมิโนไลซีน
กรดอะมิโนเมไธโอนีน
แร่ธาตุและวิตามิน
รวม
(ก.ก.)
(ก.ก.)
(ก.ก.)
(ก.ก.)
(ก.ก.)
(ก.ก.)
(ก.ก.)
(ก.ก.)
(ก.ก.)
(ก.ก.)
(ก.ก.)
68.50
-
15.30
10.00
4.00
-
1.00
0.50
0.10
0.10
0.50
100.00
64.50
10.00
13.30
5.00
4.00
1.00
1.00
0.50
0.10
0.10
0.50
100.00
65.00
15.00
7.90
5.00
4.00
1.00
1.00
0.50
-
0.10
0.50
100.00
58.00
-
23.60
5.00
4.00
5.75
2.50
0.50
-
0.15
0.50
100.00
59.83
-
30.00
-
-
5.00
4.00
0.50
-
0.17
0.50
100.00
โปรตีน
พลังงานใช้ประโยชน์ได้
(%)
(กิโลแคลอรี่/ก.ก.)
18.70
3,077
15.40
2,740
13.20
2,640
18.70
2,750
18.44
2,770

อาหารเป็ด
         ในปัจจุบัน มีหลายบริษัที่ผลิตอาหารสำหรับเป็ดหลายแบบ เกษตรกรสามารถเลือกใช้ตามความเหมาะสม เช่น อาหารผสมสำเร็จรูป ซึ่งนำไปใช้ได้ทันที หัวอาหารซึ่งจะต้องผสมกับรำละเอียดและปลายข้าวก่อนนำไปใช้ หรืออาจซื้อวัตถุดิบแต่ละชนิดมาผสมเอง เกษตรกรจะต้องหลีกเลี่ยงการใช้ข้าวโพดเป็นอาหารเป็ด ถ้าหากจะใช้ข้าวโพดผสมเป็นอหาาร ควรใช้ในปริมาณน้อย และต้องแน่ใจว่าเป็นข้าวโพดคุณภาพดี ปราศจากเชื้อรา เนื่องจากเชื้อรา A,flavus สร้างสารพิษชื่อ alfatoxin ซึ่งมีผลต่อลูกเป็ดเป็นอย่างมาก เกษตรกรจะพบว่าในหัวอาหารหรืออาหารสำเร็จรูปจะใช้ข้าวโพดในปริมาณน้อย หรือไม่ใช้เลยจะดีที่สุด
อาหารเป็ดในบ้านเราสามารถแบ่งออกได้
          1. อาหารสำเร็จรูป เป็นอาหารเม็ด ซึ่งมีใช้เลี้ยงตั้งแต่แรกเกิดจนถึงระยะไข่ ซึ่งมีผลดีก็คือการจัดการให้อาหารสะดวกรวดเร็ว มีประสิทธิภาพการใช้อาหารสูงกว่า เป็ดใช้พลังงานในการกินอาหารน้อยกว่าแบบอื่น รางน้ำสะอาดไม่ค่อยสกปรก ประหยัดอาหารได้ 15-20% เพราะหกหล่นน้อยถึงแม้มีการหกหล่นก็สามารถเก็บกินได้อาหารที่ให้จะไม่ติดตาม รางอาหารทำให้รางอาหารสะอาดอยู่เสมอ ไม่หมักหมมเชื้อโรค แต่มีข้อเสียคือ อาหารมีราคาแพง ซึ่งทำให้ผู้เลี้ยงต้องพิจารณาถึงความคุ้มทุนด้วย
          2. เกษตรกรส่วนใหญ่นิยมใช้หัวอาหารเป็ดเป็นหลักในการประกอบสูตรอาหาร หัวอาหารเป็นอาหารเข้มข้นที่ผสมจากวัตถุดิบอาหารสัตว์พวกโปรตีนจาก พืช สัตว์ ไวตามิน แร่ธาตุและยาบางชนิด ยกเว้น พวกธัญพืช หรือวัตถุดิบบางอย่าง ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความเหมาะสมและลดต้นทุนค่าอาหารของผุ้ซื้อแต่ละท้องถิ่น ที่มีวัตถุดิบบางอย่างราคาถูก เช่น ปลายข้าว รำละเอียด และรำหยาบ เมื่อผสมกันแล้วจะจได้อาหารสมดุลย์ที่มีโภชนะต่างๆ ครบถ้วนตามความต้องการของร่างกายสัตว์ ก่อนนำอาหารผสมนี้ไปเลี้ยงเป็ดต้องคลุกน้ำให้พอหมาดๆ ร่วนไม่เกาะเป็นก้อน จะช่วยให้เป็ดกินอาหารได้ดี ลดการฟุ้งกระจายและการหกหล่นได้มาก วิธีนี้จะมีความยุ่งยากกว่าวิธีแรก แต่ก็เป็นที่นิยมใช้อยู่ เพราะอาหารผสมจะมีราคาถูก
          อาหารเป็ดในระยะไข่นั้นมักเติมสารเพิ่มสีในไข่ด้วยเป็นวัตถุ สังเคราะห์ทางเคมีพวกคาโรทีนอยส์ชื่อทางการค้าต่างๆ เช่น Carophyll Red ใส่ลงไปในอาหารทำให้ไข่แดงมีสีเหลืองเข้มเป็นที่นิยมของผู้บริโภค กรณีไข่เป็ด ถ้าไข่แดงสีเข้มจัด นิมยใช้ทำไข่เค็ม และราคาไข่เป็ดจะมีราคาแพงกว่าธรรมดาประมาณ 10 สตางค์/ฟอง ทั้งนี้เนื่องจากสารเพิ่มสีมีราคาแพงประมาณ 4,000 บาท/ก.ก.
   
ขอขอบคุณข้อมูลจาก:www.dld.go.th/service/webeggs/mainduck.html
   

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น