หน้าเว็บ

วันศุกร์ที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

การเลี้ยงโคนม

พันธุ์โคนม
.....โคนมแบ่งออกเป็น  2  ประเภทใหญ่  ๆ  คือ
 .  พันธุ์โคนมที่มีถิ่นกำเนิดในแถบร้อน   เช่น   พันธุ์เรดซินดี้, ซาฮิวาลเป็นต้น   จะสังเกตได้ง่ายคือ  โคนมพวกนี้ จะมีโหนกหลังใหญ่และทนร้อนได้ดีแต่ให้นมได้ไม่มากนัก

.ข.  พันธุ์โคนมที่มีถิ่นกำเนิดในเขตหนาว   หรือเรียกโคยุโรป   มีอยู่ด้วยกันหลายพันธุ์ซึ่งโคยุโรปนี้จะสังเกตได้ ง่ายคือไม่มีโหนกที่หลัง   คือจะเห็นแนวสันหลังตรง   มักไม่ค่อยทนต่ออากาศร้อน   พันธุ์ที่สำคัญได้แก่   พันธุ์ขาว ดำหรือโฮลสไตน์ฟรีเชียน

โคนมพันธุ์ เรดซินดี้

โคพันธุ์โฮลสไตน์ฟรีเชียน
   โค พันธุ์นี้มีถิ่นกำเนิดในประเทศฮอลแลนด์เป็นพันธุ์ที่มีชื่อเสียงที่สุดและ ได้รับความนิยมเลี้ยงกันมากที่สุด เพราะให้นมมาก   มีสีดำตัดขาว   รูปร่างใหญ่   ขนาดโตเต็มที่ตัวผู้ หนัก   800 - 1,000 ก.ก. ตัวเมียหนัก  600 - 700 ก.ก. โคพันธุ์นี้ชอบอากาศ หนาวอุณหภูมิต่ำกว่า   26 องศา ซ.  แต่ในประเทศต่าง ๆ ที่มีอากาศร้อนก็ยังนิยมเลี้ยงโคพันธุ์นี้กัน มากกว่าพันธุ์อื่น ๆ โดยเลี้ยงลูกผสมที่มี เลือดโคพันธุ์โฮลสไตน์โดยผสมพันธุ์ให้ได้โคที่มีสายเลือดพอเหมาะ   สำหรับใน ประเทศไทยซึ่งเป็นประเทศร้อน การเลี้ยงโคนมพันธุ์โฮลสไตน์ที่เป็นพันธุ์แท้มักจะมีปัญหามากถ้าหากการ จัดการไม่ดี   ดังนั้นเกษตรกรที่เริ่มเลี้ยงโคนมหรือมีฟาร์มขนาดเล็กควาร เลี้ยงควร เลี้ยงโคพันธุ์ผสมขาว-ดำ หรือโฮลสไตนฟรีเชี่ยนที่มีสายเลือดโคพันธุ์ขาว-ดำ หรือโฮลสไตนฟรีเชี่ยนไม่เกิน 75% ซึ่งโคพันธุ์ผสมระดับสายเลือดนี้จะให้นมเฉลี่ย 2,400 - 2,900 กก. ต่อระยะการให้นม 260 วัน

พันธุ์โคนมที่นิยมเลี้ยงในประเทศไทย
     1.โคนมพันธุ์ทีเอ็มแซด (TMZ)

....เป็นโคนมพันธุ์ผสมที่เกิดขึ้นจากการผสมพันธุ์ระหว่างพ่อพันธุ์โฮลสไตน์ฟรีเชียนพันธุ์แท้กับแม่พันธุ์ซึ่งมี สายเลือดอเมริกันบราห์มันสูง  มีสายเลือดโฮลสไตน์ฟรีเชี่ยน 75%  กรมปศุสัตว์ปรับปรุงพันธุ์นี้ให้เป็นพันธุ์โคนมหลักของประเทศ เหมาะสำหรับเกษตรกรที่มีฟาร์มขนาดเล็กหรือเกษตรกรที่เริ่มเลี้ยงโคนม
       2. โคนมพันธุ์ไทยฟรีเชี่ยน (TF)
      เป็นโคนมพันธุ์ผสมที่มีสายเลือดโคนมพันธุ์โฮลสไตน์ฟรีเชี่ยนหรือขาว-ดำ มากกว่า 75% พันธุ์นี้เหมาะสำหรับเกษตรกรที่มีฟาร์มขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ หรือเกษตรกรที่มีการจัดการ การให้อาหารที่ดี



การเลี้ยงโครุ่น-โคสาว
         เมื่อลูกโคอายุได้  4  เดือน   ระบบ การย่อยได้พัฒนาดีขึ้น   ในช่วงนี้อัตราการตายจะต่ำหรืออาจจะกล่าวได้ ว่า   พ้นช่วงระยะอันตรายแล้ว   จากระยะนี้ถึงระยะโครุ่น   คืออายุ ประมาณ  180 - 205 วัน   (น้ำหนักประมาณ 120 - 150 กิโลกรัม)  ซึ่งระยะนี้ โคจะสามารถกินหญ้าได้ดีแล้ว   จากนั้นก็จะถึงระยะการเป็นโคสาว (น้ำหนัก ประมาณ 200 - 250  กิโลกรัม)   ต่อไปก็จะถึงระยะเกณฑ์ผสมพันธุ์   คืออายุ ได้ประมาณ 18-22  เดือน (น้ำหนักประมาณ  250  กิโลกรัม  หรือ ประมาณ  60 - 70  เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักเมื่อโตเต็มที่)   ในช่วงดังกล่าว นี้โคจะเจริญอย่างรวดเร็ว   ควรเพิ่มอาหารผสมให้บ้างเป็นวัน ละ 1 - 2 กิโลกรัมและให้หญ้ากินเต็มที่ในกรณีที่เลี้ยงแบบปล่อยลงในแปลงหญ้า ก็จะเป็นการดียิ่งขึ้นเพราะโคได้ออกกำลังกายและยังเป็นการช่วยประหยัดค่าใช้ จ่ายและแรงงานได้มากอีกด้วยแต่อย่างไรก็ตามในการให้อาหารผสม(อาหารข้น)แก่โค รุ่น-โคสาวในปริมาณมากน้อยเท่าใดนั้นให้พิจารณาถึงคุณภาพของหญ้าที่มีอยู่ใน ขณะนั้นเป็นสำคัญ

การเลี้ยงและดูแลโครีดนม        
         แม่โค
จะให้นมหรือมีน้ำนมให้ รีดก็ต่อเมื่อหลังจากคลอดลูกในแต่ละครั้ง   ซึ่งจะให้นมเป็นระยะ ยาว,  สั้น  มากน้อยต่างกัน ขึ้นกับความสามารถของแม่โคแต่ละตัวพันธุ์และปัจจัยอื่นอีกแต่โดยทั่วไปจะรีด นมได้ประมาณ  5 - 10  เดือน   นมน้ำเหลืองควรจะรีดให้ลูกโคกินจนหมด   ไม่ ควรนำส่งเข้าโรงงานเป็นอันขาดและควรให้อาหารแก่แม่โคอย่างเพียงพอ   เพื่อ แม่โคจะได้ไปสร้างน้ำนมและเสริมสร้างร่างกายส่วนอื่น ๆ ที่ยังไม่สมบูรณ์ได้ อย่างเพียงพอภายหลังจากคลอดลูก   โดยเฉลี่ยแล้วประมาณ  30 - 70  วัน หลัง จากคลอด   มดลูกจะเริ่มกลับเข้าสู่สภาพปกติแม่โคจะเริ่มเป็นสัดอีก   แต่ อย่างไรก็ตามเมื่อแม่โคแสดงอาการเป็นสัดภายหลังคลอดน้อยกว่า  25  วัน  ยัง ไม่ควรให้ผสม  เพราะมดลูกและอวัยวะต่าง ๆ ในระบบสืบพันธุ์เพิ่งฟื้นตัว ใหม่ ๆ ยังไม่เข้าสู่สภาพปกติ   ในทางปฏิบัติส่วนใหญ่ควรจะรอให้เป็นสัด ครั้งที่  2  เกิดขึ้นจึงค่อยผสม   ซึ่งโดยเฉลี่ยแล้วจะใช้เวลา ประมาณ  45 - 72  วัน หลังจากคลอด

การเป็นสัดคืออะไร

         การเป็นสัด
คือ   การ ที่สัตว์ตัวเมียยอมให้ผสมพร้อม ๆ กันจะมีการตกไข่เกิดขึ้น (โคนมลูกผสมส่วน มากจะมีอายุเข้าสู่วัยหนุ่มสาวประมาณ 1 - 2 ปีโดยเฉลี่ย )   โคเป็นสัดก็หมายถึง   โคที่เริ่มจะเป็นสาวแล้วพร้อมที่จะได้รับการผสม โดยวิธีใดวิธีหนึ่งซึ่งอาจเป็นการผสมเทียมหรือผสมแบบธรรมชาติก็ได้แล้วแต่ ความสะดวกหรือความต้องการของผู้เป็นเจ้าของ   การเป็นสัดของโคแต่ละ รอบจะห่างกันประมาณ  21  วัน   และในแต่ละครั้งของการเป็นสัดแล้ว ประมาณ  14  ชั่วโมง   ช่วงระยะเวลาที่เหมาะที่สุดสำหรับการผสม คือ  ระยะก่อนที่ไข่จะตกเล็กน้อย   โดยทั่วไปเจ้าของสัตว์อาจจะพบหรือสังเกต เห็นสัตว์ของตนเป็นสัดในเวลาเย็นหรือตอนกลางคืน   หรืออาจจะพบเมื่อใกล้ถึง ตอนปลายของการเป็นสัดแล้ว   ดังนั้นเพื่อให้ได้ผลในทางปฏิบัติอาจแนะนำพอ เป็นแนวทางในการปฏิบัติคือ   ถ้าเห็นโคเป็นสัดตอนเช้าก็ควรผสมอย่างช้าตอน บ่ายวันเดียวกัน   และถ้าเห็นโคเป็นสัดตอนบ่ายหรือเย็นก็ควรผสมอย่างช้าเช้า วันรุ่งขึ้น
การสังเกตการเป็นสัดในโคตัวเมีย
         เจ้าของสัตว์ 
 อาจสังเกตหรือพบเห็นอาการของโคที่เป็นสัดจากอาการอย่างใดอย่างหนึ่งหรืออาจแสดงออกมาพร้อม ๆ กันให้เห็นได้ดังนี้
          1.  ส่งเสียงร้องที่ผิดปกติ
          2.  เครื่องเพศบวมแดง
          3.  ปัสสาวะถี่
          4.  มีน้ำเมือกใสและเหนียวไหลออกมาจากช่องคลอดหรือเลอะบริเวณก้นทั้งสองข้าง
          5.  ไม่สนใจอาหารหรือกินอาหารน้อยทั้งอาหารน้อยทั้งอาหารข้นและหญ้า
          6.  ถ้าเป็นแม่โคที่กำลังให้นมจะพบว่าน้ำนมลดลง
          7.  ขึ้นขี่ตัวอื่นหรือยอมให้ตัวอื่นขี่
          8.  สังเกตที่ดวงตาจะเห็นม่านตาเบิกกว้างบ่อยครั้งกว่าปกติส่อให้เห็นการตื่นตัวและตื่นเต้นง่าย
การผสมเทียม   หมาย ถึง   การรีดน้ำเชื้อจากสัตว์พ่อพันธุ์แล้วนำไปฉีดเข้าในอวัยวะของสัตว์ตัว เมีย   เมื่อสัตว์ตัวเมียนั้นแสดงอาการของการเป็นสัดแล้วทำให้เกิดการตั้ง ท้องแล้วคลอดออกมาตามปกติ

ประโยชน์ของการผสมเทียม

          1.  ทำให้ประหยัดพ่อพันธุ์เมื่อรีด เก็บน้ำเชื้อจากสัตว์พ่อพันธุ์ได้แต่ละครั้งสามารถนำมาละลายน้ำเชื้อแล้ว แบ่งใช้ผสมกับสัตว์ตัวเมียได้จำ นวนมาก
          2.  สามารถผสมพันธุ์สัตว์ที่มีขนาดใหญ่หรือเล็กต่างกันได้   โดยไม่มีอันตรายจากการขึ้นทับของพ่อพันธุ์
          3.  ไม่ทำให้สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงพ่อพันธุ์
          4.  ตัดปัญหาในเรื่องขนส่งโคไปผสมเพราะสามารถนำน้ำเชื้อไปผสมได้ไกล ๆ

ระยะเวลาที่เหมาะสมในการผสมเทียม

       โคตัวเมีย
ที่ แสดงอาการเป็นสัดดังกล่าว   ควรจะได้รับการผสมเทียมในระยะเวลาช่วงกลางของ การเป็นสัด   หรือใกล้ระยะที่จะหมดการเป็นสัด (อาจจะหมดการเป็นสัดไปแล้ว ประมาณ  6  ชั่วโมงก็ได้   หรือเมื่อโคเพศเมียตัวนั้นยืนนิ่งให้ตัวอื่นขึ้น ขี่   ซึ่งใช้เป็นหลักในการผสมพันธุ์)  โดยทั่ว ๆ ไปโคเพศเมียจะมีระยะเป็น สัดประมาณ  18 ช.ม.  แล้วต่อมาอีก  14  ช.ม.  จึงจะมีไข่ตกเพื่อรอรับการผสม พันธุ์กับน้ำเชื้อพ่อโค   จึงเห็นสมควรที่ต้องเลือกเวลาที่เหมาะสม   ในการ ดำเนินการเรื่องของรับบริการผสมเทียมดังมีหลักการที่จะใช้ในการปฏิบัติงาน ผสมเทียมคือ
          1.  เมื่อโคเพศเมียตัวใดแสดงอาการเป็นสัดในตอนรุ่งเช้าของวันใด วันหนึ่ง   ควรที่จะได้รับการผสมเทียมในวันเวลาเดียวกัน (ก่อน  16.30  น.)  ฉะนั้นพอรุ่งเช้าของแต่ละวันเจ้าของสัตว์ควรที่จะได้ไปแจ้งและบอก เวลา  (ประมาณ)  ที่ท่านได้เห็นสัตว์ของท่านแสดงอาการเป็นสัด
          2.  ถ้าโคเพศเมียตัวใดแสดงอาการเป็นสัดในตอนบ่ายของวันใดวัน หนึ่ง   ควรที่จะได้รับการผสมเทียมตอนเช้าหรือก่อนเที่ยงของวันรุ่งขึ้น  ฉะนั้นเจ้าของสัตว์เมื่อพบว่าสัตว์แสดงอาการเป็นสัดในตอนบ่ายหรือตอน เย็น   ท่านควรจะไปแจ้งและบอกเวลาของการเป็นสัด  (ประมาณ)   ในรุ่งเช้าของวันต่อไปก็ได้

          ถ้าท่านได้ศึกษา
และ รู้จักสังเกตการแสดงอาการเป็นสัด   ว่าอาการเป็นอย่างไรและหาระยะเวลาที่จะ ผสมเทียมให้พอเหมาะแล้ว   จะเป็นการช่วยแก้ปัญหาเรื่องการผสมเทียมติดยาก หรือผสมไม่ค่อยติดในโคเพศเมียของท่านได้ทางหนึ่ง   และจะทำให้เป็นประโยชน์ ในด้านการเพิ่มจำนวนและปริมาณน้ำนมในกิจการโคนมของท่านยิ่งขึ้น   จึงเห็น สมควรที่จะเรียกช่วงเวลาอันสำคัญนี้ว่า   "นาทีทองในโคนมตัวเมีย" จะรู้ได้อย่างไรว่าโคตั้งท้องหรือไม่
        เมื่อโคนาง
ได้รับการผสมไปแล้วประมาณ 21 วันหากโคไม่กลับมาแสดงอาการเป็นสัดอีกก็อาจคาดได้ว่าผสมติดหรือโคตัวนั้น เริ่มตั้งท้องแล้ว   เพื่อให้รู้แน่ชัดยิ่งขึ้นภายหลังจากการผสมโคนางแล้ว  50  วันขึ้นไปอาจติดต่อสัตวแพทย์หรือบุคคลผู้มีความ ชำนาญในการตรวจท้องแม่โค (โดยวิธีล้วงเข้าไปคลำลูกโคทางทวารของแม่โค) มาทำการตรวจท้องแม่โคก็จะทราบได้แน่ชัดยิ่งขึ้น
........
ข้อสังเกต ในกรณีโคสาว   จะสังเกตได้จากการเจริญเติบโตที่เร็วขึ้น   กินจุขึ้น   ความจุของลำตัวโดยเฉพาะส่วนท้องซี่โครงจะกางออกกว้าง ขึ้น   ขนเป็นมัน   และไม่เป็นสัดอีก

การคลอดลูก

          โดยทั่วไปแม่โคจะตั้งท้องประมาณ  283  วัน  หรือ ประมาณ  9  เดือนเศษ   ในช่วงนี้แม่โคจะได้การเอาใจใส่ดูแลเรื่องความเป็น อยู่และอาหารเป็นพิเศษ   เพราะลูกในท้องเจริญขึ้นเรื่อย ๆ และเป็นไปอย่างรวดเร็ว   ในระยะก่อนคลอด ประมาณ  45 - 80  วัน ควรเพิ่มอาหารผสมให้แก่แม่โคท้อง  เพื่อแม่โคจะได้นำ ไปเสริมสร้างร่างกายส่วนที่สึกหรอ   และนำไปเลี้ยงลูก   หรือนำไปสร้างความ เจริญเติบโตสำหรับอวัยวะบางอย่างที่ยังเจริญเติบโตไม่เต็มที่   เพื่อให้ เกิดความสมบูรณ์มากที่สุดและเพื่อไม่ให้แม่โคซูบผอม   สำหรับแม่โคที่กำลัง ให้นม   เมื่อตั้งท้องลูกตัวต่อไปควรจะหยุดรีดนมก่อนคลอด ประมาณ  45 - 60  วัน  สำหรับแม่โคท้องแรกหรือท้องสาวหรือแม่โคที่ยังเจริญ เติบโตไม่เต็มที่ (อายุไม่ถึง 5 ปี)  แม้จะให้ลูกมาแล้ว 1 หรือ 2 ตัวก็ ตาม   ก่อนคลอดลูกตัวต่อไปควรจะหยุดพักการรีดนมเร็วกว่าแม่โคที่โตเต็มที่ แล้ว   อย่างน้อยก่อนคลอดประมาณ  45 - 60  วัน  เพื่อให้แม่โคได้มีเวลา เตรียมตัวได้พักผ่อนร่างกายและอวัยวะต่าง ๆ บ้าง   มิฉะนั้นแม่โคอาจจะได้ รับผลกระทบกระเทือน   นั่นหมายถึงผลเสียหายที่จะตามมาภายหลัง ได้   เช่น   ร่างกายจะชะงักการเติบโตเพราะอาหารไม่พอ   ร่างกายไม่ สมบูรณ์  เมื่อคลอดลูกออกมาลูกโคอ่อนแอ  มีช่วงระยะการให้นมในปีต่อไปสั้น ลง    ผสมติดยาก   ทิ้งช่วงการเป็นสัดนาน   และอื่น ๆ เป็นต้น



อาการที่แม่โคแสดงออกเมื่อใกล้คลอด
          เราอาจจะสังเกตอาการต่างๆได้ดังนี้
    1.  เต้านมขยายใหญ่ขึ้น
    2.  อวัยวะเพศขยายตัวขึ้น   ยิ่งใกล้วันคลอดเข้ามาสังเกตเห็นมีน้ำเมือกไหลออกมาจากช่องคลอด
    3.  กระดูกเชิงกรานขยายตัวออกกว้างขึ้น   โคนหางตรงกระดูกก้นกบจะบุ๋มลึกลงทั้งสองข้าง
    4.  ช่องท้องตรงสวาปจะลึกหย่อนลง
    5.  ยกหางขึ้น-ลงเล็กน้อยเป็นครั้งคราว
    6.  ถ้าเป็นโคที่ปล่อยรวมฝูงจะพยายามแยกตัวออกจากฝูง
    7.  แม่โคที่ถูกขังจะไม่สนใจในการกินหญ้า   อาหาร   ยืนกระสับ กระส่าย   ขกขาหลังแตะอยู่เรื่อย ๆ มีการเบ่งคลอดตลอดเวลา

ท่าคลอดปกติของลูกโค


จะรู้ได้อย่างไรลูกโคคลอดปกติหรือไม่
          ลักษณะการคลอดลูกในท่าปกติของแม่โค
คือ   ลูกโคจะเหยียดขาหน้าตรง ออกมาพร้อมกันทั้งสอง (ส่วนหัวแนบชิดกับเข่า) จะเห็น เป็น 3 จุด  คือ  2 กีบข้างหน้า  และจมูก   ถ้าหากมีลักษณะอื่น ๆ ผิดไปจาก นี้ให้ถือเป็นการคลอดที่ผิดปกติ   อาทิเช่น   หัวพับหรือเอาด้าน หลังออกมาก่อนส่วนอื่น   หรือกรณีที่ลูกโคมีขนาดใหญ่จนไม่สามารถผ่านช่อง คลอดออกมาได้   หรือกรณีอื่น ๆ เช่นนี้ควรรีบติดต่อสัตวแพทย์มาช่วยทำการ คลอด   และหากลูกโคคลอดออกมาแล้วรกยังไม่ออกตามมาถ้า เกิน  12  ชั่วโมง   ควรรีบตามสัตวแพทย์มาช่วยแก้ไข   เพราะถือว่ามีความผิด ปกติบางอย่างเกิดขึ้นกับแม่โค   ซึ่งต้องรีบทำการรักษา   หลังจากลูกโคคลอด ออกมาแล้วควรรีบเช็ดทำความสะอาดตัวลูกโคให้แห้งโดยเร็ว   โดยเฉพาะ เมือกบริเวณจมูกปากและลำตัวพร้อมกับทำการตัดสายสะดือให้ห่างจากตัวโค ประมาณ 1 นิ้วแล้วทาด้วยทิงเจอร์ไอโอดีน


การรีดนม
          หมาย ถึง   การกระทำอย่างใดอยางหนึ่งเพื่อที่จะเอานมออกจากเต้านมของแม่โค   น้ำ นมส่วนมากจะถูกขับออกมาโดยการกระตุ้นทางระบบประสาทและฮอร์โมนพร้อม ๆ กับการ รีด  นั่นคือ  การทำให้ภายในหัวนมเกิดมีแรงอัดดันจนทำให้รูหูนมเปิด ออก   น้ำนมซึ่งอยู่ภายในจึงไหลออกได้

การรีดนมมีอยู่ 2 วิธีคือ
          1.  การรีดนมด้วยมือ
          2.  การรีดนมด้วยเครื่อง

หลักที่ควรคำนึงถึงและถือปฏิบัติในการรีดนม
          1.  ควรรีดให้สะอาด
          2.  ควรรีดให้เสร็จโดยเร็ว
          3.  ควรรีดให้น้ำนมหมดเต้า

อุปกรณ์การรีดนมด้วยมือ
ขั้นตอนในการรีดนมเพื่อให้ได้น้ำนมที่สะอาด
          1.  การเตรียมน้ำยาฆ่าเชื้อโดยใช้น้ำยาคลอรีนอย่างเจือจาง
          2.  การเตรียมอุปกรณ์การรีดซึ่งรวมถึงผู้ที่ทำการรีดและแม่ โค   ให้เรียบร้อยการเตรียมการต่าง ๆ ควรจัดการให้สะอาดหรือฆ่าเชื้อด้วย น้ำยาคลอรีน
          3.  ทำความสะอาดตัวโคและบริเวณคอกที่สกปรก
          4.  ล้างเต้านมด้วยน้ำอุ่นหรือน้ำยาคลอรีนพร้อมกับนวดเช็ดเบา ๆ
          5.  ก่อนลงมือรีดควรตรวจสอบความผิดปกติของน้ำนมหรือทำการรีดน้ำนมที่ค้างอยู่ในหัวนมทิ้งเสียก่อน
          6.  ขณะลงมือรีดนมควรรีบรีดให้เร็วที่สุดไม่หยุดพัก   กะให้เสร็จภายใน  5 - 8 นาที  และต้องรีดให้หมดทุกเต้า


การรีดนมด้วยมือ
          กระทำได้โดยการ
 ใช้ นิ้วหัวแม่มือ   นิ้วชี้บีบหรือรีดหัวนมตอนบน   เพื่อเป็นการปิดทางนมเป็น การกันไม่ให้น้ำนมในหัวนมหนีขึ้นไปอยู่ตอนบน   ต่อมาก็ใช้นิ้วที่ เหลือ (กลาง, นาง, ก้อย)  ทำการบีบไล่น้ำนมตั้งแต่ตอนบนเรื่อยลงมาข้างล่าง จะทำให้ภายในหัวนมมีแรงอัดและน้ำนมจะถูกดันผ่านรูนมออกมาและเมื่อขณะที่ ปล่อยช่องนิ้ว (หัวแม่มือ, นิ้วชี้)  ที่รีดนัวนมตอนบนออก   น้ำนมซึ่งมี อยู่ในถุงพับนมข้างบนจะไหลลงมาส่วนล่าง   เป็นการเติมให้แก่หัวนมอีกเป็น เช่นนี้ตลอดระยะเวลาที่รีดจนกระทั่งน้ำนมหมด

การรีดนมด้วยมือ
วิธีการหยุดรีดนมแม่โค
          ในการหยุดรีดนมแม่โค
  โดย เฉพาะแม่โคที่เคยให้นมมาก ๆ ควรจะต้องระมัดระวังในการหยุดรีด   เพราะอาจจะ ทำให้เกิดโรคเต้านมอักเสบได้โดยง่าย   วิธีการหยุดรีดควรทำแบบค่อยเป็นค่อย ไป  กล่าวคือ  ในขั้นต้นอย่ารีดให้น้ำนมหมดเต้าเลยทีเดียว  ในช่วงแรก ๆ ควร ค่อย ๆ ลดอาหารข้นลงบ้างตามส่วน   แล้วต่อไปจึงเริ่มลดจำนวนครั้งที่รีดนมใน วันหนึ่ง ๆ ลงมาเป็นวันละครั้ง   ต่อมาก็รีดเว้นวันและต่อมาก็เว้นช่วงให้ นานขึ้น   จนกระทั่งหยุดรีดนม   ในที่สุดซึ่งปกติโดยทั่ว ๆ ไปจะใช้เวลา ประมาณ 15 - 30 วัน  และในขณะที่หยุดพักรีดนมนี้จะต้องหมั่นสังเกตเต้านม อยู่เสมอ   ถ้าปรากฏว่าบวมแดงหรืออักเสบ   ต้องรีบตามสัตวแพทย์มาช่วยรักษา และต้องหวนกลับมารีดนมตามเดิมไปก่อน   ถ้าไม่มีโรคแทรกแล้วเต้านมของแม่โค ที่พักการให้นมใหม่ ๆ โดยทั่วไปก็จะคัดเต้าอยู่สักระยะหนึ่ง   แล้วจึง ค่อย ๆ ลีบเล็กลงไปในที่สุด

ปัญหาที่พบบ่อยในการรีดนม
          1.  ถ้ารู้ว่าโคตัวใดเป็นโรคเต้านมอักเสบ ให้ทำการรีดหลังโคตัวอื่น ๆ เพื่อป้องกันการกระจายของโรค  และควรรีดเต้าที่ อักเสบทีหลังสุด  และให้ระวังการเช็ดล้างเต้านม
          2.  ถ้าโคตัวใดเป็นแผลหรือเป็นฝีที่หัวนม  ขณะที่ทำการรีดนมแม่โค อาจแสดงอาการเจ็บปวด  อาจทำร้ายคนรีดได้ในกรณีเวลารีดควรแตะต้องแผลให้น้อย ที่สุดและควรรีบจัดการรักษาใส่ยาหรือใช้ขี้ผึ้งทา   หลังรีดนมเสร็จแล้วควร ล้างมือให้สะอาดด้วย
          3.  ถ้ามีโคตัวใดนมรั่ว  ซึ่งเกิดจากเต้านมคัดซึ่งเป็นเพราะกล้าม เนื้อวงแหวนที่รัดรูหัวนมไม่แข็งแรงพอหรือค่อนข้างเสื่อมสมรรถภาพ  กรณีที่ ไม่มีแนวทางแก้ไขอาจใช้จุกปิดหรืออุดรูหัวนม  หรือใช้วิธีรีดนมให้ถี่ขึ้นก็ ได้
          4.  ถ้าพบว่าแม่โคบางตัวให้น้ำนมที่มีสีผิดปกติเกิดขึ้น   กล่าว คือ   น้ำนมอาจเป็นสีแดงหรือมีสีเลือดปนออกมา  ซึ่งอาจเป็นเพราะเส้นเลือด ฝอยในเต้านมแตกซึ่งไม่เป็นอันตรายใด ๆ จะค่อย ๆ หายไปเองในไม่ช้า   น้ำนม ที่ได้ควรนำไปให้ลูกโคกินไม่ควรบริโภค
          5.  ถ้าพบว่าแม่โคตัวใดเตะเก่ง   ขณะทำการรีดจะต้องใช้เชือกมัด ขา   ซึ่งควรค่อย ๆ ทำการฝึกหัดให้เคยชิน  โดยไมต้องใช้เชือกมัด   เพราะ วิธีการมัดขารีดนมไม่ใช่เป็นวิธีการที่ดีจะทำให้วัวเคยตัว



อาหารและการให้อาหาร
    โคนมเป็นสัตว์สี่กระเพาะ   หรือ ที่เรียกว่า   สัตว์เคี้ยวเอื้อง   ซึ่งอาหารที่ใช้เลี้ยงสัตว์ประเภทนี้จะ มี 2 ชนิด  คือ  อาหารหยาบ  เช่น หญ้า  ถั่วอาหารสัตว์   ฟางข้าว   และ อาหารข้น   เช่น  อาหารผสม   ในการให้อาหารแก่โคนม   อาหารทั้ง 2 ชนิดจะมี ความสำคัญเท่า ๆ กันและต้องมีความสัมพันธ์กันเพื่อที่จะทำให้โคนมสามารถให้ น้ำนมได้สูงสุดตามความสามารถของโคแต่ละตัวที่จะแสดงออก

   โคนมในปัจจุบัน  ได้ รับการปรับปรุงพันธุ์จนมีความสามารถในการให้น้ำนมได้สูงกว่าแต่ก่อน   ลำพัง การให้อาหารหยาบเพียงอย่างเดียวโดยเฉพาะอย่างยิ่งอาหารหยาบในเขตร้อนอย่าง ประเทศไทยซึ่งมีคุณค่าทางอาหารต่ำ   มีโภชนะไม่เพียงพอแก่ความต้องการของแม่ โคนม   จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องการให้อาหารข้นเสริม   จะเห็นได้ว่าอาหาร ข้นจะเข้ามามีบทบาทต่อการผลิตน้ำนมมากขึ้น   นอกจากนั้นบทบาทที่สำคัญอีก อย่างก็คือ   จะเป็นตัวกำหนดผลตอบแทนที่จะได้รับจากการเลี้ยงโคนมทั้งนี้ เพราะ   ค่าใช้จ่ายในด้านอาหารจะเป็นค่าใช้จ่ายที่สูงที่สุด   คือประมาณ ร้อยละ 70 ของต้นทุนทั้งหมด   ซึ่งเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมของประเทศกำลังประสบ อยู่   นั่นคือ   ต้นทุนการผลิตน้ำนมดิบที่สูงขึ้น   ฉะนั้นการให้อาหารแก่ โคนมอย่างเหมาะสมนอกจากจะสามารถช่วยให้แม่โคนมสามารถให้น้ำนมได้สูงขึ้น แล้ว   ยังสามารถลดต้นทุนการผลิตได้อีกด้วย
    อย่างไรก็ตาม  การ ให้อาหารข้นแก่โคนมก็มีข้อที่จะต้องพิจารณาอยู่มาก   ซึ่งจากการสำรวจพบ ว่า   เกษตรกรรายย่อยส่วนใหญ่ยังขาดความรู้ความเข้าใจในการใช้อาหาร ข้น   ทั้งเรื่องเกี่ยวกับว่า   อาหารข้นควรจะมีคุณภาพอย่างไร   ประกอบด้วย อะไรบ้าง   และจะให้โคนมกินปริมาณเท่าไร   ซึ่งคำถามต่าง ๆ เหล่านี้มักจะ เกิดขึ้นอยู่เสมอ   ก่อนที่จะกล่าวถึงในเรื่องของการให้อาหารเกษตรกรควรที่ จะทำความเข้าใจในเรื่องต่าง ๆ ที่จะไปมีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรง   อาทิเช่น

ความต้องการสารอาหารของแม่โคนม

          แม่โคนมแต่ละตัวมีความต้องการสารอาหาร ได้แก่   โปรตีน   พลังงาน   วิตามิน   แร่ธาตุ   ฯลฯ   โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อที่จะ (1) บำรุงร่างกาย (2) เจริญเติบโต (3) ผลิตน้ำนม (4) เพื่อการ เจริญเติบโตของลูกในท้อง   แม่โคจะนำสารอาหารที่ให้กินไปใช้เพื่อวัตถุ ประสงค์ต่าง ๆ ตามลำดับ  ทำให้แม่โคแต่ละตัวซึ่งมีน้ำหนักตัวต่างกัน   และ ให้นมจำนวนไม่เท่ากัน   มีความต้องการสารอาหารแตกต่างกันไป   นอกจากนั้นใน แม่โคตัวเดียวกันก็ยังมีความต้องการสารอาหารในแต่ละช่วงแตกต่างกันไปอีกซึ่ง จะขึ้นอยู่กับ

          1.  ช่วงระยะการให้น้ำนม   แม่โคนมที่อยู่ในระยะใกล้คลอดหรือหลัง คลอดใหม่ ๆ แม่โคนมที่อยู่ระหว่างการให้น้ำนมสูงสุด (2เดือนแรกของการให้ นม)   การให้นมช่วงกลาง   การให้นมในช่วงปลาย   และช่วงหยุดการให้นม   จะมี ความต้องการสารอาหารในแต่ละระยะการให้นมที่แตกต่างกัน   ทั้งนี้เพราะปริมาณ น้ำนมที่แม่โคผลิตได้ในแต่ละช่วงจะแตกต่างกัน

          2.  สภาพของร่างกายโคนมที่สามารถให้น้ำนมได้เต็มที่   สุขภาพของ แม่โคจะต้องพร้อม  คือไม่ควรจะอ้วนหรือผอมจนเกินไป   จึงมีความจำเป็นที่จะ ต้องได้รับสารอาหารที่มากขึ้น   ทั้งนี้เพราะโคจะต้องใช้สารอาหารในการบำรุง ร่างกายและเจริญเติบโตก่อน   จึงจะนำไปใช้ในการสร้างน้ำนม

          เมื่อเกษตรกรได้รู้ถึงความต้องการสารอาหารของโคแล้ว   ซึ่งในที่ นี้จะไม่ขอกล่าวถึงความต้องการสารอาหารแต่ละชนิดเพราะอาจจะทำให้สับสน   แต่ อยากจะให้เกษตรกรได้ทราบถึงเหตุผลว่า   ทำไมจึงมีความจำเป็นที่จะต้องให้ อาหารต่างกันในโคแต่ละตัวหรือในโคตัวเดียวกันแต่ต่างระยะเวลา

ปริมาณการกินอาหารของแม่โค

          แม่โคนมแม้จะต้องการสารอาหารมากเพียงไร   แต่ปริมาณอาหารที่แม่โค กินได้นั้นมีอย่างจำกัด   ซึ่งอาจจะเนื่องมาจากความจุของกระเพาะโคเองหรือ อาจจะเนื่องมาจากลักษณะและคุณภาพของอาหารที่ให้แก่โค   ฉะนั้นเกษตรกรผู้ เลี้ยงโคนมควรจะทราบด้วยว่า   โคนมของท่านแต่ละตัวจะสามารถกินอาหารได้วันละ เท่าใด   เพื่อที่จะทำให้ทราบว่า   สารอาหารที่แม่โคได้รับนั้นจะเพียงพอ หรือไม่กับการให้น้ำนมของแม่โค   การผลิตน้ำนมให้ได้มาก ๆ นั้นไม่ได้ขึ้น อยู่กับปริมาณอาหารที่ได้รับเพียงอย่างเดียวแต่คุณภาพของอาหารมีความสำคัญ ยิ่งกว่าคาดคะเนปริมาณการกินอาหารของโค   ซึ่งจะมีความสัมพันธ์กับปัจจัย หลัก 2 ปัจจัยคือ   น้ำหนักตัวของแม่โคและปริมาณน้ำนมที่แม่โคนั้นผลิต ได้   ซึ่งในเรื่องของน้ำหนักตัวของแม่โคเกษตรกรมักจะไม่ทราบเพราะไม่มี เครื่องชั่งสัตว์ในฟาร์ม   แต่ก็พอจะประมาณได้   เพราะโคลูกผสมขาว-ดำใน เมืองไทยจะมีน้ำหนักโดยประมาณนี้เป็นตัวคำนวณปริมาณอาหารต่อไปได้   และ เมื่อพิจารณาร่วมกับปริมาณน้ำนมที่ผลิตได้ก็พอจะประมาณการกินอาหารของแม่โค ได้ดังนี้

ตาราง ปริมาณอาหารที่คาดว่าแม่โคจะกินได้ต่อวัน คิดเป็นร้อยละของน้ำหนักตัว
ปริมาณน้ำนมที่ให้
(ก.ก./วัน)
น้ำหนักตัวแม่โค (ก.ก.)
400
450
500
10
2.5
2.4
2.3
14
2.7
2.6
2.5
18
2.9
2.8
2.7
18
2.9
2.8
2.7
26
3.4
3.3
3.2
30
3.7
3.6
5.5
ที่มา :  ดัดแปลงจากตารางมาตรฐานความต้องการโภชนะของแม่โคนม (NRC,  1988)
         เมื่อดูจาก ตารางแล้ว   เกษตรกรอาจสงสัยว่า   ทำไมแม่โคนมที่มีน้ำหนักมากจึงกินอาหาร ได้น้อยกว่าแม่โคที่มีน้ำหนักน้อยกว่าถ้าให้นมเท่ากันทั้งนี้เพราะ ว่า   ตารางที่แสดงนั้น   แสดงเป็นค่าของร้อยละของน้ำหนักตัวแม่โค   ซึ่ง จริงแล้วแม่โคที่มีน้ำหนักมากกว่าจะกินอาหารมากกว่าแม่โคที่มีน้ำหนักน้อย กว่า   ถ้าคิดเป็นจำนวนกิโลกรัมของอาหาร   ตัวอย่างเช่น   จะคาดคะเนปริมาณ การกินอาหารของแม่โคที่มีน้ำหนักประมาณ 400 ก.ก.  และสามารถให้นมวัน ละ 18 กิโลกรัมว่าแม่โคจะกินอาหารได้วันละเท่าใด   เมื่อดูจากตารางจะเห็น ว่าแม่โคกินอาหารได้ประมาณ  2.9  เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักตัว  เท่า กับ   (2.9x400)/100 = 11.6 กิโลกรัม   คำตอบคือ   แม่โคจะกินอาหารที่มี น้ำหนักแห้งได้ประมาณวันละ  11.6   กิโลกรัม   แต่แม่โคที่มีน้ำหนักตัว  500 ก.ก.  และให้นม 18 ก .ก / วัน  เหมือนกันจะกินอาหารคิดเป็นน.น.แห้งได้  (2.8x500) /100 = 13.5  กิโลกรัมเป็นต้น
ปริมาณการกินอาหารหยาบ
          ดังที่ได้กล่าวมาแล้วว่า   โคนมเป็นสัตว์เคี้ยวเอื้องจึงจำเป็น ต้องได้รับอาหารหยาบอย่างเพียงพอ   ซึ่งในจุดนี้เกษตรกรบางส่วนไม่ค่อยได้ คำนึงถึงมากนัก   อย่าคิดแต่เพียงว่าถ้าให้อาหารข้นมาก ๆ โคจะได้รับสาร อาหารมาก   และจะทำให้ผลผลิตน้ำนมได้มาก   ตรงกันข้ามในความเป็นจริงแล้วโค ที่ได้รับอาหารข้นมากเกินไป   กลับทำให้ผลผลิตน้ำนมลดลงด้วยซ้ำ   เนื่องจาก การที่โคได้รับอาหารหยาบน้อยเกินไป   อาจจะทำให้เกิดอาการผิดปกติในระบบการ ย่อยอาหารคือ   เกิดความเป็นกรดในกระเพาะผ้าขี้ริ้วมากจนโคไม่ยอมกิน อาหาร   ทั้งนี้เพราะอาหารหยาบมีเยื่อใยสูง   จะช่วยในการเคี้ยวเอื้องทำให้ ต่อมน้ำลายของโคหลั่งน้ำลายได้มากขึ้น   และน้ำลายนี้เองมีฤทธิ์เป็นด่างจะ ช่วยปรับสภาพภายในกระเพาะผ้าขี้ริ้วให้เหมาะสมแก่การทำงานของ จุลินทรีย์   เพื่อสังเคราะห์โปรตีนและพลังงานแก่โคต่อไป
          เกษตรกรจึงจำเป็นที่จะต้องมีอาหารหยาบเพียงพอให้แก่โค   ซึ่งระดับของอาหาร หยาบเมื่อคิดเป็นน้ำหนักแห้งที่แม่โคควรจะได้รับต่อวันไม่ควรต่ำ กว่า  1.4  เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักตัว   ตัวอย่างเช่น   แม่โคนมมีน้ำหนัก ประมาณ  400  กิโลกรัม   ควรจะได้รับอาหารหยาบแห้งตามที่ได้กำหนดไว้ดังต่อ ไปนี้คือ   แม่โคนมที่มีน้ำหนักตัว  100  กิโลกรัม   ต้องการอาหาร หยาบ = 1.4 กิโลกรัม   แม่โคที่มีน้ำหนักตัว  400  กิโลกรัม  ต้องการอาหาร หยาบ = (1.4 x 400) / 100  กิโลกรัม
          แม่โคควรจะได้รับอาหารหยาบแห้ง/วัน =  5.6 กิโลกรัม  เมื่อนำมา คิดเทียบกลับไปเป็นหญ้าสดซึ่งทั่ว ๆ ไปมีวัตถุแห้ง ประมาณ  25  เปอร์เซ็นต์  ดังนั้นโคควรจะได้รับหญ้าสดในปริมาณวัน ละ = (5.6 x 100) / 100 =  22.4  กิโลกรัม


คุณภาพของอาหารหยาบ
          เมื่อทราบถึงปริมาณของอาหารหยาบที่จำเป็นที่แม่โคจะต้องได้รับต่อ วัน   เพื่อที่จะทำให้ระบบการย่อยอาหารเป็นไปอย่างปกติแล้ว   สิ่งที่ต้อง คำนึงถึงต่อมาก็คือ   อาหารหยาบที่ให้แก่แม่โคมีคุณภาพเป็นอย่างไร   โคจะ ใช้ประโยชน์ได้มากน้อยแค่ใหน   ทั้งนี้เพราะคุณภาพของอาหารsยาบจะเป็นตัว กำหนดคุณภาพของอาหารข้นด้วย   คือ   ถ้าอาหารหยาบที่ให้แก่โคมีคุณภาพต่ำ อาหารข้นที่จะใช้เสริมจำเป็นต้องมีคุณค่าทางอาหารสูง   ซึ่งผลการวิเคราะห์ คุณค่าทางอาหาร   ทางกลุ่มงานวิเคราะห์อาหารสัตว์   กองอาหารสัตว์ได้จัดทำ สรุปไว้แล้ว   แต่ในเอกสารฉบับนี้จะขอนำเอาผลการวิเคราะห์ของอาหารหยาบที่มี ใช้ทั่ว ๆ ไปมาเสนอเท่านั้น  (ดังแสดงในตารางที่2)


ตารางผลการวิเคราะห์คุณค่าทางอาหารของอาหารหยาบที่มีใช้โดยทั่วไป
ชื่ออาหาร
%ความชื้น
%วัตถุแห้ง
%โปรตีน
%เยื่อใย
คุณภาพ
ถั่วฮามาต้าแห้ง
10.40
89.60
14.67
26.60
///
ใบกระถินแห้ง
10.40
89.60
18.59
9.30
///
หญ้าสด(รูซี่,กินนี)
75.90
24.10
2.55
6.92
//
เปลือกข้าวโพดฝักอ่อน
82.00
18.00
2.26
3.78
//
ต้นข้าวโพดฝักอ่อน
73.60
26.40
1.16
6.94
/
เปลือกสับปะรด
81.67
18.33
0.66
2.09
/
ยอดอ้อย
62.33
37.67
3.26
13.41
/
หญ้าธรรมชาติในฤดูฝน
72.90
27.10
10.62
7.56
//
ฟางข้าว
8.60
91.40
3.43
27.66
/
/// = คุณภาพดี
// = คุณภาพปานกลาง
/ = คุณภาพต่ำ

หมายเหตุ   การ จำแนกคุณภาพของอาหารหยาบในที่นี้จะใช้เปอร์เซ็นต์โปรตีนหยาบเป็นหลักในการ จำแนก   เพื่อให้สอดคล้องกับเปอร์เซ็นต์โปรตีนในสูตรอาหารข้นที่จะกล่าวถึง ต่อไป

    คุณภาพของอาหาร หยาบ   นอกจากจะเป็นตัวกำหนดคุณภาพของอาหารข้นแล้ว   ยังเป็นตัวควบคุมใน เรื่องการกินอาหารของแม่โคด้วย   เพระาถ้าใช้อาหารหยาบคุณภาพต่ำอาทิ เช่น   ฟางข้าว   หรือหญ้าธรรมชาติในช่วงที่ออกดอกแล้ว   โคจะย่อยได้ น้อย   ทำให้การกินอาหารลดลงตามไปด้วย   เกษตรกรควรจะหาวิธีการที่จะแก้ ปัญหานี้   ซึ่งอาจจะทำได้โดยการเพิ่มคุณภาพ   และการใช้ประโยชน์ของอาหาร หยาบ   เช่นการสับฟางเป็นชิ้นเล็ก ๆ การทำฟางปรุงแต่ง   หรือการใช้ใบพืช ตระกูลถั่วที่มีคุณภาพสูงให้กินร่วมกับฟาง   เพื่อให้อาหารหยาบนั้นมีความ น่ากินและมีการย่อยได้สูงขึ้น   นอกจากนั้นในเรื่องฤดูกาลเช่น   ในช่วงที่ มีอากาศร้อน   ก็จะทำให้แม่โคกินอาหารหยาบได้ลดลงเช่นกัน
....
... ทั้งนี้เพราะความร้อนที่เกิดจากขบวนการหมักของอาหารหยาบในกระเพาะผ้าขี้ริ้ว ของโค   ไม่สามารถจะระบายออกนอกร่างกายได้ทัน   เนื่องจากอุณหภูมิภายใน ตัว   โคมีอาการหอบชอบยืนแช่น้ำและกินอาหารลดลง   เกษตรกรอาจจะแก้ไขปัญหา นี้โดยพยายามให้อาหารหยาบแก่โคทีละน้อย ๆ แต่บ่อยครั้งขึ้น   และพยายามให้ อาหารหยาบในช่วงเวลาที่อากาศเย็นลง   เช่น  กลางคืน   หรือจะใช้วิธีอาบน้ำ และใช้พัดลมช่วย   หรืออาจจะใช้หลายวิธีร่วมกัน   อย่างไรก็ตามเกษตรกรต้อง คำนึงอยู่เสมอว่าจะต้องให้แม่โคได้กินอาหารหยาบแห้งไม่ต่ำ กว่า  1.4  เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักตัวแม่โคเสมอ 



การป้องกันโรคในโคนม
          โรค เป็นสาเหตุหนึ่ง ที่ ทำความเสียหายให้แก่ผู้เลี้ยงโคนมไม่น้อย   โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคติดต่อร้าย แรง   ซึ่งถ้าเกิดขึ้นกับฟาร์มใดอาจทำให้ถึงกับต้องเลิกล้มกิจการได้   การ ป้องกันโรคโคนมควรปฏิบัติดังต่อไปนี้
 ก. เลี้ยงแต่โคที่แข็งแรงสมบูรณ์และปลอดจากโรค   ไม่ ควรเลี้ยงโคที่อ่อนแอ   โคที่เป็นโรคเรื้อรังรักษาไม่หายขาด   โรคทางพันธุ กรรม   เช่นโรคไส้เลื่อน,   โรคติดต่อร้ายแรง   เช่น   โรคแท้งติดต่อหรือ วัณโรค   เป็นต้น

 ข. ให้อาหารที่มีคุณภาพดีและมีจำนวนเพียงพอ   ถ้า ให้อาหารไม่ถูกต้องเพียงพอ   หรือให้อาหารเสื่อมคุณภาพ   หรือมีสิ่งปลอมปน อาจทำให้โคเป็นโรคไข้นม,   โรคขาดอาหาร   รวมทั้งทำให้อ่อนแอเกิดโรค อื่น ๆ ได้ง่ายขึ้น   ดังนั้นเกษตรกรควรซื้ออาหารจากแหล่งที่เชื่อถือ ได้   และระวังอาหารที่เป็นพิษ เช่น มีเชื้อรา   พืชที่พ่นยาฆ่าแมลง   เป็น ต้น
        
          ค. จัดการเลี้ยงดูและป้องกันโรคติดต่อร้ายแรงให้เหมาะสม   สำหรับข้อนี้   เป็นวิธีการลงมือปฏิบัติที่ค่อนข้างสับสนเพื่อให้เข้าใจง่ายสะดวกแก่การปฏิบัติ   จึงขอแยกแยะออกเป็นข้อ ๆ ดังนี้

           คอกคลอดควรได้รับการทำความสะอาด   และใช้ยาฆ่าเชื้อพ่นหรือราดทิ้งไว้ 2 - 3 อาทิตย์   ก่อนนำแม่โคเข้าคลอด

           ลูกโคที่เกิดใหม่   ต้องล้วงเอาเยื่อเมือกที่อยู่ในจมูก, ปากออกให้หมด   เช็ดตัวลูกโคให้แห้ง

           สายสะดือลูกโคที่เกิดใหม่ต้องใส่ทิงเจอร์ไอโอดีนให้โชก   และใส่ยากันแมลงวันวางไข่ทุกวันจนกว่าสายสะดือจะแห้ง

           ให้ลูกกินนมน้ำเหลืองโดยเร็ว   ถ้าเป็นไปได้ควรให้กินภายใน 15 นาทีหลังคลอด

           ทำความสะอาดคอกลูกโค   และคอกคลอดก่อนนำลูกโคเข้าไปเลี้ยง

           ควรเลี้ยงลูกโคในคอกเดี่ยวเฉพาะตัว

           เครื่องมือเครื่องใช ้เช่น ถังนมที่ใช้เลี้ยงลูกโคไม่ควรปะปนกัน

           ให้ลูกโคกินนมไม่เกิน 10 %  ของน้ำหนักตัว   แบ่งออกเป็น 2 ครั้งต่อวัน

           หัด ให้ลูกโคกินอาหารและหญ้าโดยเร็ว (เมื่อลูกโคอายุได้ประมาณ 1 อาทิตย์) อาหาร ที่เหลือต้องกวาดทิ้งทุกวัน   น้ำสะอาดควรมีให้กินตลอดเวลา

           ลูกโคต้องตัวแห้งเสมอ   วัสดุที่ใช้รองนอนต้องเปลี่ยนทุกวัน

           แยกลูกโคที่อายุต่างกันให้อยู่ห่างกัน

           ถ่ายพยาธิเมื่อลูกโคอายุ 3 เดือน   และถ่ายซ้ำอีกปีละ 1 - 2 ครั้ง  หรือตามความเหมาะสม

           ฉีดวัคซีนป้องกันโรคแท้งติดต่อ สเตรน 19 ให้แก่ลูกโคเพศเมียเมื่อลูกโคอายุ 3 - 8 เดือน

           เมื่อลูกโคหย่านม   ต้องฉีดวัคซีนป้องกันโรคติดต่อร้ายแรง   ดังนี้

                    - ฉีดวัคซีนป้องกันโรคปากและเท้าเปื่อย   ต้องฉีดให้ครบ 3 ชนิด (เอ, เอเชียวันและโอ) และฉีดซ้ำทุก 6 เดือน

                    - ฉีดวัคซีนโรคเฮโมรายิกเซพติซิเมีย (โรคคอบวม) และฉีดซ้ำทุก 6 เดือน

                    - ฉีดวัคซีนโรคแอนแทรกซ์ (โรคกาลี) และฉีดซ้ำทุกปี

           พ่นหรืออาบยาฆ่าเห็บทุก 15 วัน  หรือตามความเหมาะสมเช่น   อาจจะอาบหรือพ่นทุก 1 เดือนหรือนานกว่านั้นก็ได้

           แม่ โคที่แสดงอาการเบ่งนานเกิน 3 ชั่วโมง   แล้วไม่สามารถคลอดลูกได้   หรือแม่ โคที่คลอดลูกแล้วมีรกค้างเกิน 12 ชั่วโมงควรตามสัตวแพทย์

           จัดการป้องกันโรคเต้านมอักเสบโดยเคร่งครัดดังนี้

                    - บริเวณคอกต้องแห้ง   ไม่มีที่ชื้นเฉอะแฉะเป็นโคลนตม   ไม่มีวัตถุแหลมคมเช่น   รั้วลวดหนาม   ตะปู

                    - รีดนมตามลำดับ   โดยรีดโคสาวก่อน   แล้วรีดโคที่มีอายุมากขึ้น   ส่วนโคที่เป็นโรคให้รีดหลังสุด

                    - ก่อนรีดต้องเช็ดเต้านมด้วยยาฆ่าเชื้อ  เช่น  น้ำคลอรีน   ผ้าที่ใช้เช็ดเต้านมควรใช้เฉพาะตัวไม่ปะปนกัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น