ความรู้เกี่ยวกับการเลี้ยงปลา | ||||
| การเลือกสถานที่ คุณสมบัติของน้ำที่นำมาใช้เลี้ยงปลา 1.อุณหภูมิ หากอุณหภูมิสูงปริมาณออกซิเจนจะละลายได้น้อย และน้ำที่อุณหภูมิต่ำปริมาณออกซิเจนจะละลายได้สูงปกติปลาชอบอาศัยอุณหภูมิ ระหว่าง25-32 องศาเซลเซียส 2.ความขุ่น ความขุ่นของน้ำตามธรรมชาติเกิดจากสารอินทรียสาร เช่น ตะกอน โคลนตมซึ่งเป็นอุปสรรรคต่อการสังเคราะห์แสงของพืชน้ำความขุ่นของน้ำจะประกอบด้วย แพลงตอนสีเขียว หากมีมากเกินไปก็จะเป็นอันตรายต่อปลาได้ 3.ความเป็นกรดด่าง น้ำที่มีค่าpH อยู่ระหว่าง 6.5-8.5 ก่อนพระอาทิตย์ขึ้นเหมาะแก่การเลี้ยงปลามากที่สุด หากน้ำเป็นกรดมากปลาจะไม่อยากกินอาหาร ความต้านทานโรคต่ำ หากน้ำเป้นด่างมากปลาจะตาย 4.คาร์บอนไดออกไซด์ โดยทั่วไปคาร์บอนไดออกไซด์จะมาจากการหายใจของพืชและสัตว์ และการสลายอินทรียสาร ปลาจะหลีกเลี่ยงไม่อยู่ในน้ำที่มีระดับคาร์บอนไดออกไซด์สูงเกินกว่าระดับ 5 ppm 5.ก๊าซแอมโมเนีย เป็นก๊าซที่มีพิษต่อปลามากเกิดจากเศษอาหารที่หลงเหลืออยู่และมูลต่างๆที่ปลาขับถ่ายออกมา ทำให้ปลาเบื่ออาหาร เคลื่อนไหวช้าลง 6.ก๊าซไข่เน่า เกิดจากการหมักหมมและการย่อยสลายอินทรียสารในก้นบ่อ จะเกิดปัญหานี้ถ้าให้อาหารปริมาณมาก แม้เพียง0.1-0.2 ppmก็อาจทำให้ปลาตายได้ ประเภทของบ่อเลี้ยงปลา 1.บ่ออนุบาล เป็นบ่อสำหรับเลี้ยงปลาอ่อนหลังจากออกจากไข่ใหม่ๆ หรือในระยะที่ยังไม่สามารถป้องกันภัยจากศัตรูได้ บ่อเลี้ยงลูกปลาไม่ควรมีขนาดใหญ่มากนักสามารถใช้บ่อดิน บ่อซีเมนต์ตั้งแต่ขนาดเพียงไม่กี่ตารางเมตรถึง 800 ตารางเมตร 2.บ่อเลี้ยงพ่อแม่ปลา ใช้เป็นบ่อเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ควรจะมีขนาดเนื้อที่ประมาณ400-1600ตารางเมตร ความลึกประมาณ 1.5เมตร 3.บ่อเลี้ยง นิยมบ่อดิน ขนาดบ่อควรขึ้นอยู่กับชนิดของปลาและขนาดปลาที่เลี้ยง วิธีการสร้างบ่อ สร้างได้ 2 แบบคือ 1.บ่อแบบขุดดินออก พื้นก้นบ่ออยู่ต่ำกว่าระดับดินเดิม ไม่ต้องทำคันบ่อให้แข็งแรง เหมาะกับพื้นที่ลุ่ม เช่น ในนาข้าว เพียงแต่ขุดดินลงไปแล้วเสริมคันบ่อ 2.บ่อ แบบยกคัน สร้างในที่ราบไม่ต้องขุดดินบริเวณกลางบ่อ นำดินที่ขุดมาทำเป็นคันดินโดยรอบอย่างแข็งแรง แบบนี้เหมาะสำหรับการเลี้ยงปลาอย่างยิ่งเพราะสามารถเก็บกักน้ำได้และระบาย น้ำได้ดี พื้นก้นบ่อ จะต้องเรียบไม่มีหลุมแอ่ง ควรจะมีการลาดเทไปทางระบายน้ำออกเพื่อสะดวกแก่การระบาบน้ำ คันบ่อ เป้นส่วนสำคัญในการเก็บกักน้ำ ต้องมีความแข็งแรง และต้องไม่รั่วซึม ดินที่ขุดขึ้นจากบ่อเพื่อเสริมให้เป้นคันบ่อ ควรสุงพอป้องกันน้ำท่วมในฤดูฝนหรือฤดูที่น้ำมากต้องขุดระยะไม่น้อยกว่า 1.5-2 เมตร จากเชิงลาดของบ่อด้านในเพื่อป้องกันการทรุดตัวของบ่อ คันบ่อควรมีเชิงลาด1:2 ด้านนอก1:1 ด้านที่ต้องปะทะกับลมควรทำเชิงลาดให้มากเพื่อป้องกันการพังทลายของดิน ทางระบายน้ำเข้าออก อาจจะใช้การสูบ หรือทำทางระบายน้ำออก หากทำเป็นท่อระบาย ควรมีขนาดและอยู่ในจุดที่เหมาะสม โดยท่อน้ำเข้าจะต้องอยู่สูงจากระดับน้ำในบ่อด้านส่วนกว้างและตื้นของบ่อ เพื่อป้องกันไม่ให้ปลาว่ายทวนน้ำ หรือหนีออกจากบ่อ ขณะเดียวกันเมื่อน้ำไหลเข้าบ่อ มวลของน้ำจะไหลจากที่ตื้นไปสู่ที่ลึกทำให้เกิดการเคลื่อนไหวในทางหมุนเวียน สำหรับท่อน้ำออก ควรตั้งอยู่ในตำแหน่งฝั่งตรงข้ามของทางน้ำเข้าในส่วนที่ลึกที่สุด เพื่อระบายน้ำส่วนที่ต่ำสุดออกไปก่อน ในกรณีที่ต้องการทำทางน้ำล้น ก็สามารถทำได้โดยเอียงท่อเป็นมุมที่เปิดจากระดับต่ำสุดในบ่อ ถึงระดับน้ำที่ต้องการ ข้อแนะนำ ทางน้ำเข้าและน้ำออกนี้จำเป็นจะต้องมีตะแกรงป้องกันปลาในบ่อว่ายออกมา และศัตรูนอกอ่างปลาว่ายเข้ามาด้วย การเตรียมบ่อ ควรให้พื้นที่บ่อมีโอกาสได้รับแสงแดดและออกซิเจน ซึ่งเป็นการกำจัดปริมาณเชื้อโรคต่างๆในบ่อปลาให้น้อยลงและปล่อยให้อินทรียสารที่หมักหมม อยู่ในบ่อมีการย่อยสลายตัว บ่อดินขุดใหม่ ต้องมีการวัดค่าความเป็นกรดเป็นด่างของดิน(ค่าpH) บ่อดินเก่า ควรมีการระบายน้ำออกก่อน โดยเฉพาะบริเวณก้นบ่อ ปรับปรุงบ่อส่วนที่ชำรุด
1.เครื่องสูบน้ำ มีหลายชนิดทั้งเครื่องสูบเครื่องยนต์ดีเซล และชนิดใช้กระแสไฟฟ้า ซึ่งจำเป็นแก่การถ่ายน้ำเสีย นำน้ำเข้าน้ำออก 2.อุปกรณ์ลำเลียงปลา ถุงพลาสติก กล่องกระดาษถังออกซิเจน 3.เครื่องมือจับปลา ได้แก่ อวน แห กระชอน เปลย้ายปลา เครื่องชั่ง ถังลำเลียงปลา หลักการเลี้ยงปลา 1.การเลี้ยงปลาแบบชนิดเดียว หรือแบบเดียว หมายถึง การเลี้ยงปลาชนิดเดียวภายในบ่อเลี้ยง โดยมุ่งหวังผลผลิตสูง ซึ่งควรเลือกปลาที่มีราคาดี หรือมีตลาดรองรับ เช่น การเลี้ยงปลาดุกอุย ปลาดุกด้าน การเลี้ยงปลาแบบนี้สะดวกต่อการดูแลรักษาคัดปลาจับส่งตลาด เพราะเป็นปลาชนิดเดียวกัน 2.การเลี้ยงปลาหลายชนิดหรือแบบรวม คือ การเลี้ยงปลาหลายชนิดรวมในบ่อเดียวกัน หรือชนิดเดียวแต่มีขนาดต่างกัน และไม่มีอันตรายต่อกัน ข้อดีของการเลี้ยงปลาแบบรวม สามารถใช้ประโยชน์ได้จากอาหารที่มีในบ่อปลาอย่างเต็มที่ สามารถทยอยจับปลาใหญ่ออกจำหน่ายได้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด ทำให้ขายได้ราคาดี เกิดรายได้อย่างต่อเนื่อง 3.การเลี้ยงปลาแบบผสมผสาน ได้แก่ การเลี้ยงปลาผสมกับการปลูกพืช เช่น ปลูกข้าวพร้อมกับการเลี้ยงปลา เลี้ยงปลาในร่องสวนปลูกผลไม้ การเลี้ยงปลาผสมผสานกับการเลี้ยงเป็ดหรือสุกร การเลี้ยงปลาชนิดนี้เป็นการเกื้อหนุนซึ่งกันและกัน เช่น เศษอาหารที่ตกหล่นจากการเลี้ยงสัตว์ สามารถนำกลับมาใช้เป็นอาหารปลา น้ำในบ่อปลาก็ถ่ายลงนาที่ปลุกข้าวแทนที่จะเทลงสู่แหล่งน้ำต่างๆ ซึ่งเป็นการใส่ปุ๋ยโดยไม่ต้องลงทุน การคัดเลือกปลาที่จะเลี้ยง ควรมีลักษณะดังต่อไปนี้ คือ 1.เลี้ยงง่าย สามารถกินอาหารธรรมชาติได้อย่างเต็มที่ 2.โตเร็ว มีประสิทธิภาพในการเปลี่ยนจากอาหารที่กินมาเป้นเนื้อสูง 3.มีลูกดกและขยายพันธุ์ได้ หาพันธุ์มาเลี้ยงได้ง่าย การวางไข่หลายครั้ง เพาะพันธุ์ได้ง่าย 4.อดทน มีความทนทานสามารถปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมได้ดี 5.สามารถเลี้ยงร่วมกับปลาอื่นได้ ไม่รบกวนซึ่งกันและกัน ควรเป็นปลาที่กินพืชหรือกินแพลงตอน 6.เนื้อมีรสดี ปลามีเนื้อรสชาติดี ปรุงอาหารได้ง่าย 7.มีตลาดจำหน่าย เพราะปลาบางชนิดมีตลาดแคบไม่เป็นที่นิยม 8.ได้ราคาดี ควรจะคุ้มค่าทุนที่เลี้ยงมา ชนิดของปลา ซึ่งถ้าจำแนกตามตามนิสัยของการกินอาหารปลาสามารถจำแนกได้ ดังนี้ 1.ปลาประเภทกินพืช ได้แก่ ปลาจีน ปลาหมอตาล ปลาตะเพียนขาว ปลาแรด ปลาไน ปลานิล ปลาจำพวกนี้ชอบกินอาหารที่เป็นพืช เช่น รำ ปลายข้าว แหนเป้ด เศษผัก หญ้าขน ปลาประเภทนี้สามารถแบ่งได้เป็น 2 พวก คือ พวกที่กินพืชขนาดใหญ่ ได้แก่ ปลาแรด ปลาสลิด ปลาเฉา ปลาตะเพียน และพวกปลากินพืชขนาดเล็ก ได้แก่ ปลาเล่ง ปลาซ่ง ปลาหมอตาล ปลานวลจันทร์น้ำจืด ปลายี่สกเทศ 2.ปลาประเภทกินเนื้อ ได้แก่ ปลาดุก ปลาบู่ ปลาช่อน สามารถแบ่งได้เป็น 3 พวก คือ พวกที่กินสัตว์ที่ตายแล้ว แต่ยังไม่เน่าเปื่อย เช่น ปลาดุกด้าน ปลาดุกอุย ปลาสวาย พวกที่กินแมลงเป็นอาหาร ได้แก่ ปลาเสือพ่นน้ำ ปลาไน ปลาหมอไทย ปลาเสือตอ พวกที่กินเนื้อหรือลูกปลาที่ยังมีชีวิตอยู่ ได้แก่ ปลาช่อน ปลาสะกุป ปลาไหลนา ปลาชะโด 3.ปลาประเภทกินตะไคร่น้ำ ปลาชนิดนี้จะกินตะไคร่น้ำ สาหร่าย และพืชสีเขียวเล็กๆ ได้แก่ ปลาลิ่น ปลาซ่ง ปลาสลิด ปลายี่สก 4.ปลาประเภทกินเนื้อและพืช ได้แก่ ปลาสวาย ปลายี่สก ปลาเทโพ การจัดหาพันธุ์ปลามาเลี้ยง หลักเกณฑ์ในการพิจารณาการจัดหาพันธุ์ปลามีดังนี้ 1.ควรเป็นลูกพันธุ์ปลาที่มีขนาดความยาวตั้งแต่ 3-5 ซม. ควรจะให้มีขนาดตัวไล่เลี่ยกัน 2.ควรจัดหาจากแหล่งที่มีความเชื่อถือในคุณภาพของพัธุ์ปลา เช่น สถานีประมง 3.ลูกปลาที่นำมาควรมีลักษณะแข็งแรง ลำตัวมีรูปร่างปกติ สีสันสดใส ไม่มีบาดแผล ไม่เป็นโรค การลำเลียงปลาและลูกพันธุ์ปลา การลำเลียงพันธุ์ปลาสามารถลำเลียงด้วยถุงพลาสติกซึ่งเป็นวิธีที่สะดวกและง่ายสำหรับการลำเลียงปลาขนาดไม่มาก น้ำที่ใช้บรรจุนั้น ควรเป็นน้ำที่สะอาดปราศจากคลอรีนหรือเป็นน้ำกรอง ควรเป็นน้ำที่มาจากแหล่งเดียวกันกับที่ไว้ขังปลาให้อดอาหารก่อนการลำเลียง เพราะปลายังไม่เคยชินกับน้ำใหม่ เวลาบรรจุหรือลำเลียงจะมีอาการชอคหรือตื่นเต้นผิดปกติ และอาจถึงตายได้ ปริมาณน้ำที่ใช้บรรจุนั้นควรมีขนาด 1/3-1/4 ของปริมาตรของถุง ขั้นตอนในการลำเลียงลูกปลา ปฏิบัติดังนี้ 1.ควรให้ลูกปลาอดอาหารอย่างน้อย 24 ชม. เพื่อให้อาหารที่มีอยู่ในกระเพาะได้ถูกใช้หมดก่อนที่จะถูกลำเลียง ในระยะที่ถูกขังให้อดอาหารนี้จะสังเกตได้ว่าปลาจะถ่ายออกมาเป็นจำนวนมาก 2.ควรคัดเลือกปลาขนาดเดียวกัน เพราะปลาที่อดอาหารมานั้นอาจแสดงอาการดุร้าย ทำร้ายตัวที่เล็กกว่า อาจถึงขั้นรุมกัดกินปลาที่ตัวเล็กกว่าเป็นอาหารไปเลย 3.นำลูกปลาลงถุงลำเลียง โดยมีหลักเกณฑ์ดังนี้ ในระยะห่างเท่าๆกันจะสามารถบรรจุปลาตัวเล็กมาก อุณหภูมิของอากาศ หรือน้ำที่ต่ำกว่า บรรจุปริมาณลูกปลาขนาดเดียวกันได้มากกว่า 4.การอัดออกซิเจน ควรปล่อยก๊าซจากถังมาตามยางซึ่งจุ่มลงน้ำภายในถุง โดยปล่อยให้ฟองอากาศแทนที่อากาศภายในถุง 2 ใน 3 ส่วน ถึง 3 ใน 4 หรือ 4 ใน 5 ส่วน ของความจุของถุง 5.การวางถุงอัดออกซิเจน ควรวางตามแนวนอน เพื่อเพิ่มเนื้อที่ของปลามากขึ้น ในการขนส่งทางไกลนานควรหาทางลดอุณหภูมิหรือรักษาอุณหภูมิเพื่อให้ลูกปลาได้เคลื่อนไหวได้น้อยที่สุด เช่นใช้กล่องโฟมบรรจุถุงพลาสติก การปล่อยปลาลงเลี้ยง เวลา ที่เหมาะสำหรับการปล่อยปลาคือเวลาเช้าหรือเวลาเย็น ถ้าเป็นเวลาที่อากาศร้อนจัด ควรเอามือตีกวนน้ำในบ่อที่ปลาจะอยู่ใหม่เพื่อให้ความร้อนของผิวหน้าน้ำไม่ ต่างจากระดับลึก การดูแลน้ำในบ่อเลื้ยงปลา บ่อที่เลี้ยงปลาที่กินอาหารไม่เลือก กินพืชและกินแพลงตอน ควรเติมน้ำให้ได้ระดับ 1-2.50 เมตรอยู่เสมอ หากมีปลาตัวใดที่กินอาหารได้น้อยลงหรือลอยหัวควรจะถ่ายน้ำ เปลี่ยนน้ำอย่างน้อยเดือนละ 1-2 ครั้ง อาจสามารถสังเกตได้จากสีของน้ำและการลอยหัวของปลา การระบายน้ำของบ่อควรระบายส่วนล่างของก้นบ่อซึ่งจะเป็นส่วนที่เน่าเสียมากกว่าบนผิวน้ำ ในกรณีที่บ่อปลาไม่สามารถระบายน้ำได้เลยจะต้องระมัดระวังในการให้อาหารในปริมาณที่พอเหมาะ น้ำจะได้ไม่เน่าเสียเร็ว บางครั้งเราอาจสามารถใส่เกลือแกงลงไปเพื่อช่วยปรับสภาพของน้ำ ในอัตราส่วนประมาณ200-300 กก./ไร่
การใส่ปุ๋ยในบ่อปลามีผลต่อพืชน้ำ เพื่อเพิ่มธาตุอาหารให้แก้พืชน้ำในการเจริญเติบโต เพิ่มธาตุอาหารประเภทแพลงตอนพืช ช่วยปรับสภาพน้ำ เช่นความขุ่นใสและความเป็นกรดด่าง อีกทั้งปุ๋ยบางชนิดยังใช้เป็นอาหารปลาโดยตรงอีกด้วย ปุ๋ยที่ใช้กับบ่อปลามี 4 ประเภท คือ 1.ปุ๋ยคอก ได้แก่ มูลสัตว์ 2.ปุ๋ยพืชสด ได้แก่ ส่วนของพืชผัก และวัชพืชที่มีใยพืชน้อย 3.ปุ๋ยหมัก ได้แก่ ปุ๋ยที่เกิดจากการหมักของเศษพืชผสมกับมูลสัตว์ และแบคทีเรีย 4.ปุ๋ยเคมี ได้แก่ ปุ๋ยวิทยาศาสตร์สูตรต่างๆซึ่งประกอบด้วยธาตุอาหารหลัก คือ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัสและโปแตสเซียม อัตราการใช้ปุ๋ย ปุ๋ย สดจะทำให้มีก๊าซพวกแอมโมเนียละลายอยู่ในน้ำมากเกินไปซึ่งเป็นอันตรายต่อปลา การใส่ปุ๋ยคอกในบ่อใช้วิธีโยนให้กระจายไปทั่วๆบ่อ หากเป็นปุ๋ยพืชสดหรือปุ๋ยหมัก ควรกองสุมไว้ตามมุมบ่อภายในคอกไม้ไผ่ที่ล้อมเป็นกรอบไว้เพื่อไม่ให้ปุ๋ย กระจายไป ปุ๋ยคอกใช้ในอัตราไม่เกิน 200-250 กก.ต่อไร่ต่อเดือน ปุ๋ยพืชสดไม่เกิน 1200-1500 กก.ต่อไร่และปุ๋ยหมัก 600-700 กก.ต่อไร่ ปริมาณ ปุ๋ยที่ใส่ได้พอดี สามารถสังเกตได้จากสีน้ำของบ่อ จะต้องเป็นสีเขียว หากน้ำเป็นสีเขียวเข้มหรือออกสีน้ำตาลเข้มแสดงว่าใส่ปุ๋ยคอกมากเกินไปควร เพิ่มน้ำเข้าบ่อ ข้อควรระวัง การใส่ปุ๋ยเคมีจะมีปฏิกิริยาค่อนข้างเร็วดังนั้นต้องทำด้วยความระมัดระวังและใช้ปริมาณน้อย การใส่ปูนขาว ปูนขาวจะช่วยปรับสภาพความเป็นกรดด่างให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมต่อการเลี้ยงปลาระหว่าง 6.5-8.5 ช่วยกำจัดเชื้อโรคและศัตรูปลาและช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของปุ๋ยที่ใส่ในบ่อปลา การใช้ปูนขาวในขณะที่มีปลาอยู่ในบ่อ ควรใช้วิธีละลายปูนในถังน้ำทีละเล็กน้อย แล้วสาดให้ทั่ว ไม่ควรเทเป็นผงๆลงในน้ำ การแก้ไขน้ำขุ่นและน้ำเค็ม บ่อปลาที่ขุดใหม่มักจะประสบปัญหาน้ำขุ่นเนื่องจากตะกอนดินที่ถูกพัดพามาหรือภายในบ่อปลาเอง ความขุ่นนี้อาจทำให้ปลาเจริญเติบโตช้า ตะกอนดินอาจไปอุดตันเหงือก การแก้ไขปัญหาน้ำขุ่นอาจทำได้โดย 1.ใช้สารเคมี เช่น สารส้มหรือสารอื่นๆวิธีนี้จะเป็นการแก้ไขแบบชั่วคราวเท่านั้น และจะทำให้มีปัญหาอื่นๆตามมาอีก เช่น น้ำมีสภาพเป็นกรดมากขึ้น 2.การใช้ปุ๋ยเคมี เช่น ปุ๋ยซุเปอร์ฟอสเฟต ในอัตราประมาณ 2-5 กก.ต่อไร่ต่อเดือน จะช่วยให้เกิดแพลงตอนพืช ทำให้าสารแขวนลอยจับตัวและตกตะกอนขึ้น 3.ใช้ปุ๋ยพืชสด ในอัตราประมาณ1200-1500 กกต่อไร่ การสลายตัวของปุ๋ยพืชสดทำให้เกิดตะกอนขึ้น การแก้ไขปัญหาน้ำเค็มสามารถทำได้โดย การใช้แกลบหรือขี้เลื่อยปกคลุมผิวหน้าดินให้ทั่วเพื่อไม่ให้อนุภาคของเลือลอยตัวขึ้นมา โดยโรยให้มีความหนาแน่นประมาณ 5-10 ซม. อาหารปลา อาหารปลามีหลายชนิดได้แก่ อาหารธรรมชาติ 1.แพลงก์ตอนพืช กระจายอยู่ทั่วไปใยบ่อ สามารถขยายพันธ์และเจริญได้ดีในบ่อที่มีแสงอาทิตย์ผ่าน 2.แพลงก์ตอนสัตว์ สามารถว่ายและเลื่อนลอยอยู่ในน้ำ เช่น สัตว์เซลล์เดียว ตัวอ่อนของปู กุ้ง 3.ชีวอินทรีย์ที่เป็นสัตว์ เช่น ลูกน้ำ ลูกแมลงปอ ลูกหอย และแมลงน้ำชนิดอื่นๆ 4.สัตว์น้ำก้นบ่อ สัตว์ที่ฝังตัวอนยู่ก้นบ่อ เช่น หนอนแดง ไส้เดือน ลูกหอยขม 5.พืชน้ำ พืชที่เกิดขึ้นในบ่อ อาหารสมทบ มีทั้งมาจากพืชและสัตว์เช่น 1.ใบและต้นพืช 2.หัวและเมล็ดพืช 3.เศษอาหาร เช่น กากถั่วเหลือง กากมะพร้าว 4.กุ้งหอย 5.ปลาทะเลสด 6.ปลาป่น 7.เศษเนื้อ เลือดสัตว์ เช่น เนื้อปู ปลา หมู อาจใช้เลี้ยงปลาได้โดยตรงหรือผสมกับอาหารอื่น อาหารสำเร็จรูป เป็นอาหารที่สะดวกต่อการให้ และเป็นที่นิยมมากในปัจจุบัน 1.แบบผง คล้ายกับนมผงแต่มีสารเคลือบพิเศษที่สามารถทำให้อาหารสามารถลอยน้ำได้ 2.เม็ดจม ลักษณะเป็นผงและแห้ง มาผสมกับน้ำและไอน้ำแล้วผ่านเครื่องอัดเม็ดให้เป็นรูปร่างต่างๆ 3.แบบเม็ดลอย อาหารชนิดนี้มีอากาศอยู่ข้างในจึงทำให้มัคุณสมบัติสามารถละลายน้ำได้ นิสัยการกินอาหารของปลา ปลาจะกินอาหารแตกต่างกันไปตามระดับความลึกของน้ำแบ่งออกเป็น 1.ปลาที่กินอาหารตามผิวน้ำ ได้แก่ ปลานิล ปลาตะเพียนขาว ปลาสลิด ปลาเฉา ปลาสวาย ปลาแรด ปลาเสือพ่นน้ำ ปลาช่อน 2.ปลาที่กินอาหารกลางๆน้ำ ได้แก่ ปลาสวาย ปลาแล่ง ปลาหมอตาล 3.ปลาที่กินอาหารตามพื้นท้องน้ำ เป็นปลาที่กินอาหารจำพวกสัตว์หน้าดิน ได้แก่ ปลาหลด ปลาไน ปลาซ่ง ปลาดุก
1.ให้ปลากินเป็นเวลา ให้ในเวลากลางวัน 2.ตำแหน่งที่ให้ควรเป็นที่เดิม 3.มีภาชนะรองรับอาหารเป็นที่ๆในบ่อนั้น 4.ก่อนให้อาหารควรให้สัญญาณ เช่นการทำให้น้ำกระเพื่อม 5.ปรับปริมาณอาหารมี่จะให้ทุก 1-2 สัปดาห์ การทำอาหารเลี้ยงปลา 1.เครื่องบด มีอยู่ 2 แบบ คือ แบบอาหารแห้ง เช่นบดถั่ว บดข้าว และแบบอาหารสด บดหรือหั่นผักตบชวาผลที่ได้มาจะดูคล้ายกะปิ 2.เครื่องผสม แบ่งเป็น 2 แบบ คือ แบบตั้ง รูปแบบคล้ายกรวยกรองน้ำ ภายในมีเกลียวหมุนด้วยแรงฉุด ทำให้วัสดุต่างๆผสมเป็นเนื้อเดียวกัน แบบนอน คล้ายรูปทรงกระบอกผ่าซีกปิดหัวท้าย วางในแสวนอน ภายในทรงกระบอกนี้จะมีแกนซึ่งล้อมรอบด้วยใบพัดว้อนกันหลายใบ แกนจะหมุนด้วยแรงฉุด ใช้ได้ทั้งวัสดุที่เปียกหรือแห้ง 3.เครื่อง อัดเม็ด ลักษณะเป็นกระบอกยาวปลายกระบอกข้างหนึ่งปิดตันและเจาะเป็นช่อง ข้างต่อกับที่สำหรับใส่อาหารไหลลงมาภายในกระบอก มีแกนเป็นเกลียวเพื่อหมุนส่งอาหารให้ออกไปที่ปลายกระบอกมีแกนเป็นเกลียว เพื่อหมุนส่งอาหารออกไปที่ปลายกระบอก ปลากยกระบอกสวมด้วยจานเจาะเป้นรู ส่วนที่ยื่นออกมาจะติดใบมีดเพื่อให้อาหารออกเป็นแท่งๆ ยาวสั้นตามต้องการ อาหารที่ได้ค่อนข้างจะมีความชื้นสูงหรืออาจนำไปผึ่งแดดให้แห้งเก็บเป้ นอาหารแห้งไว้ใช้เลี้ยงในวันต่อไป 4.เครื่องชั่ง ใช้ชั่งวัสดุต่างๆตามจำนวนที่คำนวณไว้ |
วันพฤหัสบดีที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554
การเลี้ยงปลา
Labels:
การเลี้ยงปลา
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น